“เลย์” LAY’S ประสบความสำเร็จในการทำตลาดมายาวนาน ด้วยการเจาะกลุ่มลูกค้าชัดเจนอย่างวัยรุ่นซึ่งมีการบริโภคขนมเป็นจำนวนมาก ด้วยการพัฒนารสชาติใหม่ๆ ที่หลากหลายกว่า 200 รสชาติ ทั้งรสชาติยอดนิยม และ Seasoning Flavor ไปพร้อมกับการผนึกพันธมิตรในการปล่อย Marketing Concept ชัดเจน รวมถึงต้องมีกลยุทธ์การตลาดแปลกใหม่มากพอที่จะกระตุ้นให้ผู้บริโภคได้ลอง
Collaboration คือกลยุทธ์สำคัญที่เลย์เลือกเข้ามาใช้ ตามสมการแนวคิดของเลย์ที่ 1+1 = 3 นั่นคือเหตุผลที่ทำให้เลย์เลือกใช้กลยุทธ์ดังกล่าวเพื่อสร้างโอกาสทางการขายมากขึ้น ไม่จำกัดแค่ในธุรกิจขนมขบเคี้ยว หากแต่เป็นการเปิดโอกาสให้ทุกอุตสาหกรรม ทั้งดิจิทัลคอนเทนต์สตรีมมิ่งอย่าง netflix ,shopee ผลิตภัณฑ์ซอส หรือแม้กระทั่้งแบรนด์อาหาร ซึ่งเป็นความตั้งใจที่จะสร้างปรากฏการณ์ใหม่ๆ เจาะกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ เพื่อให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์มีความหลากหลาย ไม่หยุดนิ่ง และต้องช่วยสร้างความตื่นเต้นในตลาด พร้อมมองหา Dimension ใหม่ๆร่วมกับพาร์ทเนอร์
ล่าสุดกับความร่วมมือครั้งสำคัญที่ “เลย์” ประกาศ Collab กับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปพรีเมียม “มาม่า OK” นับเป็นครั้งแรกที่ของทั้ง 2 บิ๊กเนมในธุรกิจ ที่เข้าไปทำงานร่วมกันเพื่อหา Inspiration ร่วมกันในการพัฒนสินค้า ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายที่มีร่วมกันอย่างคนรุ่นใหม่ เกิดเป็น 2 รสชาติได้ใหม่ที่ได้ Inspiration จนเกิดเป็น “ชิลลี่แครบ – มิโซะบัตเตอร์” ที่ทั้งสองฝ่าย Win-Win ร่วมกัน
คุณพรรณทิพา พงศ์ชัยฤกษ์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ผลิตภัณฑ์เลย์ บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด กล่าวว่า มาม่า OK กับเลย์ จะมีกลุ่มเป้าหมายที่ใกล้เคียงกันคือกลุ่มคนยุคใหม่ ด้วยภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่คล้ายคลึงกัน จึงเป็นการทำโปรดักส์ที่สอดคล้องกันออกมา เนื่องจากกลุ่มลูกค้าของทั้งคู่ค่อนข้างแมส ทำให้ขยายฐานได้ง่ายขึ้น
ไม่ใช่แค่เรื่องของผู้บริโภคเพียงอย่างเดียว แต่การจับมือกันครั้งนี้ยังเป็นการเพิ่มช่องทางการขายที่สำคัญให้กับเลย์ และมาม่า ซึ่งบางร้านอาจจะยังไม่มีการขายมาม่า ขณะที่บางร้านอาจจะยังไม่มีการขายเลย์ ซึ่งจากการมีรสชาติเดียวกันจึงสามารถขยายช่องทางใหม่ๆได้พร้อมกัน นับเป็นการแชร์ฐานลูกค้าร่วมกันกับพาร์ทเนอร์ที่ไม่ใช่ดาต้าแบบเดี่ยวๆ
“การร่วมมือดังกล่าว ทำให้เกิดสิ่งที่เห็นได้ชัดแบบ Win-Win ทั้งสองผ่ายคือ เลย์ สามารถ สร้าง penetration กับกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ เด็กลง และกว้างขึ้นในการสื่อสารแบรนด์ ขณะที่ฟากของ “มาม่า OK” เป็นครั้งแรกที่ทำงานใกล้ชิดกันจริงๆ และทำงานร่วมกันมาก และนั่นคือกลยุทธ์หลักของเย์ โดยที่อนาคตนั้นเรายังมีแผนในการขยายความร่วมมือรูปแบบดังกล่าวกับพาร์ทเนอร์อื่นๆอีกด้วย”
ไม่ใช่แค่ Collab แต่คือร่วมพัฒนาโปรดักส์ตั้งแต่ต้นจนถึงมือลูกค้า
จุดเริ่มต้นของบิ๊กโปรเจ็คการ Collab ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อเดือน พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา เมื่อ “เลย์” และ “มาม่าOK” ต้องการจับมือสร้างปรากฏการณ์ความแปลกใหม่ ผ่านกลุ่มเป้าหมายที่เหมือนกันคือกลุ่มวัยรุ่น เพื่อค้นหาสิ่งใหม่ๆร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อแชร์ประสบการณ์ร่วมกัน พร้อมมองหาจุดร่วมทางการตลาด ว่าสามารถทำอะไรร่วมกันได้บ้าง
ด้วยการทำงานร่วมกันตั้งแต่ 1.การพัฒนาและวิจัย R&D ร่วมกัน ในการพัฒนาสินค้ารสชาติใหม่ 2.การใช้เอเจนซี่ร่วมกัน (นับเป็นครั้งแรกที่มาม่ายอมใช้เอเจนซี่จากพันธมิตรตั้งแต่มีการทำตลาดมา) 3. การทำกิจกรรมทางการตลาดต่างๆมี่จะเกิดขึ้นในอนาคตร่วมกัน
ผลที่ได้คือไม่ใช่แค่การใช้โลโก้สินค้า เข้ามาพร้อมรสชาติที่เหมือนๆกัน หากแต่การคือการสร้างสินค้ารสชาติใหม่ ผ่านผลิตภัณฑ์ 2 รูปแบบ เกิดเป็นสินค้า 2 รสชาติใหม่ ใน 4 รายการ คือ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปภายใต้แบรนด์ “มาม่า Ok” 2 รายการ และ “เลย์” อีก 2 รายการ ได้แก่ ชิลลี่แครบ ที่ได้แรงบันดาลใจจาก ได้แรงบันดาลใจจากร้านจัมโบ้ เป็นร้านอาหารซีฟู้ดชื่อดังของสิงคโปร์ และมิโซะบัตเตอร์ ที่ได้แรงบันดาลใจจากเมนูอาหารญี่ปุ่นยอดนิยมอย่างราเมง
2 บิ๊กผนึกกำลัง สร้างปรากฏการณ์ปลุก 2 เซกเมนต์
พร้อมกันนี้ยังได้สร้างความแตกต่างด้วยแคมเปญทางการตลาดและกิจกรรมต่างๆ วางงบประมาณสำหรับการทำการตลาดไว้ที่ 30-40 ล้านบาท โดยเน้นไปที่ช่องทางออนไลน์ เจาะไปในทุกๆ platform IG, Twitter, Tiktok, youtube เป็นต้น เพื่อส่งต่อความสนุกให้แก่ผู้บริโภคได้เข้าร่วมไปกับแคมเปญในครั้งนี้ด้วย
นอกจากนี้ยังมีการจัด Festival หรือเทศกาล Fun Fest ในคอนเซ็ปต์ “อร่อยข้ามจักรวาล” ด้วยการปิดถนนบริเวณสยามสแควร์ Walking Street ทั้งเส้น รวบรวมเอา Food Truck กิจกรรมต่างๆ เนอกจากนี้ยังมีการทำ NFT Collection สำหรับ 2 รสชาติใหม่โดยเฉพาะ เพื่อเปิดพื้นที่ให้กลุ่มเป้าหมายหลักที่เป็นวัยรุ่นได้ร่วมสนุก นับเป็นการมุ่งสู่กลุ่มเป้าหมายที่ใหญ่ขึ้นร่วมกัน
คุณเพชร พะเนียงเวทย์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ครั้งแรกของมาม่าที่ คอลแลบ กับคนอื่น หลังที่ผ่านมามี FMCG หลายเจ้าติดต่อเข้ามา เพื่อจับมือทางธุรกิจเพราะด้วยชื่อแบรนด์ “มาม่า” ในการทำตลาด แต่ท้ายสุดแบรนด์ก็ไม่ได้เข้าไปทำงานร่วมกันแต่อย่างใด และนับเป็นครั้งแรกของ “มาม่า” ในการทำ Collaboration นับตั้งแต่ก่อตั้งแบรนด์มา 50 ปี”
อย่างไรก็ตามหากมองไปที่ตลาดรวมขนมขบเคี้ยวมูลค่า 37,000 ล้านบาท มีการเติบโตเพิ่มขึ้นจากที่ผ่านมา 4.1% (มิถุนายน 2565) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดมันฝรั่งมีมูลค่า 14,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 40% ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ใหญ่สุดในตลาด
ขณะที่ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมีมูลค่ากว่ากว่า 18,000 ล้านบาท เติบโต 5% และเป็นเซ็กเมนต์พรีเมียม 20% โดย มาม่า OK ครองส่วนแบ่งตลาดในเซ็กเมนต์พรีเมียม 30% ซึ่งทั้งเลย์ และมาม่า ครองความเป็นผู้นำในตลาดดังกล่าวทั้งคู่