HomeBrand Move !!เปิดศักยภาพ “Mobility Data” สู่การเข้าใจ 55 เมืองรอง พร้อม Howto การปรับโฉมให้มีเสน่ห์กว่าเดิม

เปิดศักยภาพ “Mobility Data” สู่การเข้าใจ 55 เมืองรอง พร้อม Howto การปรับโฉมให้มีเสน่ห์กว่าเดิม

แชร์ :

mobility data dtac

ปฏิเสธไม่ได้ว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยมาช้านาน (และทุกวันนี้ก็ยังคงเป็นเช่นนั้น) อย่างไรก็ดี การแพร่ระบาดของ Covid-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ได้ทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวหดหายไปอย่างมาก การกลับมาเปิดเมืองอีกครั้งของประเทศไทยในปีนี้ จึงเป็นทั้งความหวังและโอกาสครั้งใหม่ของบรรดาผู้ประกอบการที่ยังคงเหลือรอด

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

แต่การจะผลักดันให้นักท่องเที่ยวหลักล้านคนเดินทางไปแต่หัวเมืองใหญ่อย่างเชียงใหม่ – ภูเก็ตก็คงไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของการเติบโตที่ยั่งยืน เพราะในอีกด้านหนึ่ง ประเทศไทยยังมี “เมืองรอง” ที่ต้องการรายได้จากการท่องเที่ยวเข้าไปสนับสนุนให้เศรษฐกิจเติบโตอยู่เช่นกัน

ล่าสุดจึงมีการจับมือกันของดีแทค, คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ, บุญมีแล็บ และคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) ทำการศึกษาวิจัยแนวทางในการสร้างโอกาสให้เมืองรองของไทยทั้ง 55 จังหวัดมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวมากขึ้นผ่าน Mobility Data ออกมา (สำหรับการใช้งาน Mobility Data ของดีแทคนั้น เป็นการใช้งานแบบไม่ระบุตัวตน หรือก็คือเป็นการแสดงผลข้อมูลแบบ Anonymous ไม่สามารถระบุลงไปได้ว่าคนที่เดินทางนั้นเป็น นาย ก. นาย ข. หรือนาย ค. เพื่อความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูล)

สิ่งที่ได้จากการวิจัยนี้คือสิ่งที่เมืองรองต้องรู้ เพื่อนำไปใช้ในการปรับตัว – ปรับวิธีคิด รวมถึงสามารถนำไปกำหนดยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดให้ตอบโจทย์นักเดินทางได้มากขึ้นนั่นเอง

เปิดแผนผัง “คนเดินทาง”

mobility data dtac 08

สำหรับการวิจัยดังกล่าวเป็นการใช้ Mobility data แบบไม่ระบุตัวตนของดีแทคระหว่างเดือนมิถุนายน 2563 ถึงตุลาคม 2564 โดยพบว่า ผู้เดินทางในภาพรวม เป็นเพศชายราว 40% เพศหญิงราว 35% และไม่ได้ระบุเพศ 25% โดยส่วนใหญ่มีถิ่นพำนักในกรุงเทพฯ ถึง 54%

ทั้งนี้ นักเดินท่องเที่ยว 47% มีอายุระหว่าง 21-40 ปีหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ตามด้วยวัยกลางคน (41-60 ปี) มีสัดส่วนที่ 35% วัยสูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) 14% และวัยเด็กและเยาวชน (ต่ำกว่า 20 ปี) ที่ 4%

นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาถึงลักษณะนักท่องเที่ยวในช่วงการระบาดโควิด-19 พบว่ามีลักษณะเป็นการเดินทางแบบพักค้างถึง 67% และการเดินทางแบบเช้าไปเย็นกลับ 33%

ผลจากการใช้ Mobility Data

สิ่งที่ Mobility Data สามารถให้ได้นั้นมีหลายด้าน เช่น

  1. ภาพของการกระจุกตัวของนักท่องเที่ยว ในสถานที่ – ช่วงเวลาหนึ่ง ๆ โดยสามารถเจาะลึกได้ถึงระดับตำบล ยกตัวอย่างการแสดงผลในภาพ ที่สามารถชี้ให้เห็นว่า ในวันที่ 13 เมษายน 2564 ระหว่างเวลา 06.01 – 10.00 น. การกระจุกตัวของนักท่องเที่ยวในเชียงใหม่ – ลำพูน และลำปางเป็นอย่างไรmobility data dtac
  2. ใช้ในกรณีของการวัดผลความสำเร็จของการจัดอีเวนท์ เช่น อีเวนท์เขาใหญ่ Big Mountainmobility data dtac 14
  3. ใช้ในกรณีต้องการทำความเข้าใจพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมาย เช่น การท่องเที่ยวของผู้สูงอายุ เป็นต้น

mobility data dtac

ลอยกระทง vs บั้งไฟพญานาค นักท่องเที่ยวค้างคืนในอีเวนท์ไหนมากกว่ากัน

หากไม่มี Mobility Data คำตอบของคำถามด้านบนอาจไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนมายืนยัน แต่ผลจากการใช้ Mobility Data ของดีแทค ทำให้เราพบความจริงว่านักท่องเที่ยวมีการพักแบบค้างคืนที่จังหวัดสุโขทัย เพิ่มขึ้นถึง 331% ในเทศกาลเผาเทียน เล่นไฟ ซึ่งในอนาคต ทางจังหวัดสามารถนำไปวิเคราะห์ และวางแผนเพื่อสร้างรายได้เข้าจังหวัดในอีกหลาย ๆ ด้านได้เช่นกัน

mobility data dtac

รู้จักจุดเด่น 55 เมืองรอง

สำหรับการวิจัย ทางทีมคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บุญมีแล็ป และดีแทค ได้ทำการศึกษาศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของเมืองรองใน 3 ด้าน นั่นคือ

  • ศักยภาพด้านการท่องเที่ยวแบบไปกลับ
  • ศักยภาพด้านการท่องเที่ยวแบบค้างคืน
  • ศักยภาพด้านการท่องเที่ยวแบบกลุ่มจังหวัด

mobility data dtac 20

และผลที่ได้เป็นดังนี้

mobility data dtac 21

จะเห็นได้ว่า แต่ละจังหวัดมีความแข็งแกร่งที่แตกต่างกัน โดยบางจังหวัดอาจเหมาะสำหรับการพักค้างคืน บางจังหวัดอาจเหมาะสำหรับการเดินทางไปกลับ จึงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า Mobility Data เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อ “55 เมืองรอง” ในวันที่ประเทศไทยยังคงต้องพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวเป็นหลักนั่นเอง

3 แนวทาง สร้างการท่องเที่ยวเมืองรอง “เติบโต”

ทีมวิจัยยังได้ได้นำเสนอแนวทางในการสร้างการเติบโตด้านการท่องเที่ยวให้กับเมืองรองทั้ง 55 จังหวัด โดยแบ่งออกเป็น 3 แนวทาง ได้แก่

1. การท่องเที่ยวแบบ micro Tourism

มีรูปแบบการเดินทางเป็นแบบไป-กลับ ในระยะการเดินทาง 1 – 2 ชม. หรือ 150 กิโลเมตร โดยคนที่ให้ความสนใจกับการท่องเที่ยวแบบนี้คือคนกลุ่มเพื่อน – คู่รักที่มีอายุระหว่าง 18 – 24 ปี และกลุ่มครอบครัวที่มีอายุระหว่าง 45 – 64 ปี

mobility data dtac 28

สำหรับจังหวัดที่มีศักยภาพในการเติบโตแบบ Micro Tourism จากผลการศึกษาชิ้นนี้ ได้แก่

mobility data dtac

 

2. การท่องเที่ยวแบบค้างคืนที่สร้างประสบการณ์ใหม่

สำหรับการท่องเที่ยวแบบค้างคืนที่สร้างประสบการณ์ใหม่ ถือเป็นการท่องเที่ยวที่มีข้อดีมากมาย เนื่องจาก การพักค้างสามารถทำได้รายได้ได้สูงกว่าแบบไปกลับ อีกทั้งยังทำให้นักท่องเที่ยวได้สานสัมพันธ์กับชุมชน และสามารถสร้างฐาน Fanbase ให้กับเมืองได้ด้วย โดยปัจจุบันพบว่ามีผู้ประกอบการนำแนวทางต่าง ๆ มาใช้มากขึ้น เช่น การปรับรถให้เป็นบ้านพัก หรือการจัดกิจกรรมกับชุมชนในรูปแบบต่าง ๆ โดย 21 เมืองรองที่มีโอกาสประสบความสำเร็จในการท่องเที่ยวรูปแบบนี้ได้แก่

mobility data dtac

3. การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบคลัสเตอร์

สุดท้ายกับการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบคลัสเตอร์ การท่องเที่ยวแบบคลัสเตอร์คือการท่องเที่ยวแบบกลุ่มจังหวัด หรือก็คือเดินทางไปหลายจังหวัดในทริปเดียว โดยนักท่องเที่ยวจะใช้เวลา 2.5 – 3 วันต่อทริป ซึ่งหากมีการรวมตัวกันของเมืองรอง จะสามารถพัฒนาเส้นทาง และกิจกรรมที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้าพักในแต่ละจังหวัดได้นานขึ้น และสามารถกระจายรายได้ให้กับจังหวัดต่าง ๆ ได้มากขึ้นนั่นเอง

mobility data dtac

จะเห็นได้ว่า ในความเป็นจริงแล้ว ผู้ให้บริการโทรคมนาคมอาจไม่ใช่ Dump Pipe อย่างที่หลายคนเคยพูดกัน ตรงกันข้าม พวกเขาคือผู้ที่ถือครองข้อมูลที่มีศักยภาพอย่าง Mobility Data มาช้านาน เพียงแต่ที่ผ่านมา เราอาจยังไม่เห็นภาพการนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากนัก ซึ่งก็หวังว่า การริเริ่มครั้งนี้ของดีแทค, คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ, บุญมีแล็บ และคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) จะนำไปสู่การต่อยอด Mobility Data ในอีกหลาย ๆ ด้าน ที่สามารถสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยได้อย่างแท้จริง 

Source


แชร์ :

You may also like