HomePR News‘HUAWEI CONNECT 2022’ เปิดตัวหัวเว่ย คลาวด์ ระดับภูมิภาค เล็งสร้าง APAC เป็นผู้นำดิจิทัล

‘HUAWEI CONNECT 2022’ เปิดตัวหัวเว่ย คลาวด์ ระดับภูมิภาค เล็งสร้าง APAC เป็นผู้นำดิจิทัล

แชร์ :

HW Connect 2022

หัวเว่ยเปิดฉาก ‘HUAWEI CONNECT 2022’ งานมหกรรมประจำปีระดับโลกด้านเทคโนโลยีไอซีที ซึ่งจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 โดยในปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด ‘ปลดปล่อยพลังแห่งดิจิทัล’ (Unleash Digital) ภายใต้ความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญและพันธมิตรทั่วโลกกว่า 10,000 คน พร้อมเปิดตัวนวัตกรรมคลาวด์ขั้นสูงกว่า 15 รายการด้วย

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ในช่วงสองปีที่ผ่านมา การเติบโตของจีดีพีทั่วโลกไม่คงที่ มีเพียงเศรษฐกิจดิจิทัลเท่านั้นที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในระดับโลก หรือมากกว่า 15% ในปี พ.ศ. 2564 หลายองค์กรจึงพลิกโฉมการดำเนินงานและการให้บริการด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งจากสถานการณ์นี้ คุณ เคน หู ประธานกรรมการบริหารหมุนเวียนตามวาระของหัวเว่ย กล่าวว่า “การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลเป็นตัวเลือกที่ถูกต้อง เพราะมีความต้องการในด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และเทคโนโลยีต่าง ๆ ก็พร้อมแล้ว”

Ken Hu_HUAWEI CONNECT

คุณ เคน หู ประธานกรรมการบริหารหมุนเวียนตามวาระของหัวเว่ย

สำหรับหัวเว่ยมีกลยุทธ์หลัก 3 ประการเพื่อผลักดันภาคอุตสาหกรรมให้ก้าวสู่ยุคดิจิทัล นั่นคือ

  • สนับสนุนและผลักดันโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลรวมถึงเทคโนโลยีการเชื่อมต่อที่มีเสถียรภาพและทรัพยากรด้านการประมวลผลที่เสถียรและมีความหลากหลาย
  • ส่งเสริมองค์กรรุดหน้าไปกว่าการใช้ระบบคลาวด์พื้นฐาน โดยดึงประโยชน์สูงสุดจากคลาวด์มาใช้ และมุ่งเน้นการบริการด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาแบบก้าวกระโดด
  • สร้างอีโคซิสเต็มด้านดิจิทัลในท้องถิ่น รวมถึงการพัฒนาพันธมิตร การเสริมความแข็งแกร่งของกลุ่มบุคลากรด้านดิจิทัล และให้การสนับสนุนเพิ่มเติมสำหรับเอสเอ็มอี

เปิดตัว Huawei Cloud Region

huawei cloud

ด้านคุณ จาง ผิงอัน ประธานกรรมการบริหาร ธุรกิจ หัวเว่ย คลาวด์ ประกาศเปิดตัวหัวเว่ย คลาวด์ ระดับภูมิภาค (Huawei Cloud Regions) ในอินโดนีเซียและไอร์แลนด์ และภายในสิ้นปี พ.ศ. 2565 หัวเว่ย คลาวด์จะเปิดใช้งาน ศูนย์ข้อมูล (Availability Zone – AZ) 75 แห่งใน 29 ภูมิภาคทั่วโลก พร้อมให้บริการในประเทศและภูมิภาคต่าง ๆ กว่า 170 แห่ง

ภายในหัวเว่ย คลาวด์ จะมีนวัตกรรมบริการขั้นสูงกว่า 15 รายการเป็นครั้งแรกในโลก รวมถึงคลัสเตอร์คลาวด์ความเร็วสูง (CCE Turbo), บริการคลาวด์เนทีฟแบบทุกหนทุกแห่ง (Ubiquitous Cloud Native Service – UCS), ตลอดจนโมเดล AI Pangu เพื่อประยุกต์ใช้กับการพยากรณ์คลื่นลมทะเล (Pangu wave model), รวมถึงบริการขั้นสูงอื่น ๆ อาทิ DataArts LakeFormation, Virtual Live, CodeCheck, CloudTest, KooMessage, KooSearch, และ KooGallery

SImon Lin_HUAWEI CONNECT

คุณไซมอน หลิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหัวเว่ย ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ปิดท้ายที่คุณไซมอน หลิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหัวเว่ย ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวปาฐกถาหัวข้อ ‘ระบบเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นดิจิทัลเป็นหลัก’ (Digital First Economy) โดยให้ข้อมูลเชิงลึกในข้อเสนอแนะด้านนโยบายการผลักดันโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกว่า “ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกคือผู้นำของภูมิทัศน์ดิจิทัลทั่วโลก หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้สนับสนุนหลักด้านเศรษฐกิจดิจิทัลในเอเชียแปซิฟิก และพร้อมผลักดันการเข้าเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลตลอดจนส่งเสริมนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืนและร่วมสร้างอีโคซิสเต็มอุตสาหกรรมในภูมิภาคนี้”

นอกจากนั้น ภายในงานยังมีการเชิญผู้แทนรัฐบาลจากประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกร่วมปราศรัยเพื่อแบ่งปันความคืบหน้าในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลในแต่ละประเทศให้รุดหน้า อาทิ นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน, นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจเเละสังคม,  นายอัยลางกา ฮาตาโต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงประสานงานด้านเศรษฐกิจสาธารณรัฐอินโดนีเซีย, นายมูฮัมหมัด อับดุล มานนาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวางแผนแห่งบังกลาเทศ, นาย เดวิด อัลมิรอล ผู้ช่วยรัฐมนตรีด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์, กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประเทศฟิลิปปินส์ และ ดร. หยาง มี เอง กรรมการบริหารมูลนิธิอาเซียนด้วย


แชร์ :

You may also like