HomeBrand Move !!โตเองได้ ไม่ต้องซื้อ! ไทยเบฟตอบชัดๆ ไม่ปิดดีล RD เจ้าของแฟรนไชส์ KFC อีกรายในไทย

โตเองได้ ไม่ต้องซื้อ! ไทยเบฟตอบชัดๆ ไม่ปิดดีล RD เจ้าของแฟรนไชส์ KFC อีกรายในไทย

แชร์ :

สยบข่าวลือ! ไทยเบฟ ย้ำชัดไม่เข้าซื้อสิทธิ์บริหารแฟรนไชส์ KFC ต่อจาก RD ขอลุยต่อกางแผนใช้เงินลงทุนซินเนอร์ยี่แพลตฟอร์มในเครือสร้างการเติบโตที่แข็งแกร่ง และมั่นคงในระยะยาวเอง

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ช่วงเดือนกรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา ข่าวการพิจารณาขายธุรกิจแฟรนไชส์ KFC ในประเทศไทยของ บริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด หรือ RD ที่มีการประเมินว่าดีลดังกล่าวมีมูลค่าสูงถึง 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 11,000 ล้านบาท สร้างความสนใจให้แก่ผู้ประกอบการในแวดวงธุรกิจอาหารอยู่ไม่น้อย ว่าใครจะเป็นผู้เข้ามาปิดบิ๊กดีลนี้ โดยเฉพาะ 2 กลุ่มทุนใหญ่ ที่ถือสิทธิ์ KFC ในไทยอยู่ก่อนหน้าอย่าง บริษัท เซ็นทรัล เรสเตอรองส์ กรุ๊ป (CRG) และ บริษัท เดอะ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย จำกัด (QSR) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือไทยเบฟเวอเรจ  ด้วยเหตุผลของความพร้อมด้านการเงิน และเป็นผู้ดำเนินกิจการแฟรนไชส์ KFC ในประเทศไทยอยู่แล้ว

หากจับตาดูความสำเร็จโดยตลอด 4 ปีที่ผ่านมาหลัง บริษัท เดอะ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย จำกัด หรือ QSA ในเครือไทยเบฟเข้าถือสิทธิ์การบริหารแฟรนไชส์ KFC ในไทย สามารถเดินหน้าขยายได้กว่า 410 สาขา จากวันแรกที่มี 250 สาขา หากคิดเป็นตัวเลขกลมๆ ไทยเบฟสามารถขยายสาขาได้เฉลี่ย 40 แห่งต่อปี ถือเป็น Speed ที่ดีท่ามกลางสถานการณ์การระบาดของโควิดที่ร้านอาหารหลายแห่งต้องปิดตัว หรือลดสาขาลง จนบริษัทแม่อย่าง “Yum! Brands” ต้องบินมาดูงานการเติบโตถึงที่ ทำให้ชื่อของไทยเบฟกลายเป็นโผแรกที่น่าจะคว้าดีลนี้ไปครองได้มากที่สุด

ล่าสุดไทยเบฟ ภายใต้การนำของ “คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี” กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ออกมาย้ำชัดว่าจะไม่ปิดดีลดังกล่าว เพราะมองว่าด้วยราคาที่ยังไม่เหมาะสมแล้ว ยังเป็นตัวเลขการลงทุนที่ค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับการใช้ Asset ในเครือไทยเบฟที่มีอยู่ ทำให้ขยายสาขาเอง น่าจะคุ้มค่าต่อการลงทุนและใช้เม็ดเงินน้อยกว่า

ดังนั้นจากนี้ไป “ไทยเบฟ” จะเดินหน้าลงทุน ขยายสาขา และสร้างการเติบโตของ KFC ที่อยู่ในมือไทยเบฟเองให้เติบโต ด้วยการใช้จุดแข็งการมีธุรกิจที่หลากหลาย ร้านอาหารในเครือ เทคโนโลยี เข้ามาเป็นหัวใจสำคัญในการขยายสาขา และสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ภายในร้าน

 

ย้ำไม่ปิดดีล RD เข้าเทกโอเวอร์ KFC เพิ่ม ขอลุยซินเนอร์ยี่ในเครือเติบโตเอง

 

คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ที่ผ่านมาทางพี่ทิพย์ (คุณนงนุช บูรณะเศรษฐกุล ที่ดูแลกลุ่มธุรกิจอาหาร)  ก็อยากซื้อ แต่ว่าผมยังไม่ให้ซื้อ ราคายังไม่ดีพอ ซึ่งหากพูดถึง M&A กับทางด้าน RD จริงๆเราเปิดกว้าง อันนี้เกี่ยวโยงกับ Principle อยู่ที่ทางด้านบริษัทใหญ่ ซึ่งเกี่ยวโยงกับยัมฯ  ที่แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า “ยัมมี่” ความหมายของเขา เขาไม่อยากได้ “แฟรนไชส์ซี” (Franchisee) หรือคู่ค้าของเขาเพียงรายใดรายหนึ่ง แต่เขาอยากให้เรากระจายตัวและแข่งขันกัน เพื่อให้เขาไม่ติดกับอยู่ในเกมที่เขารู้สึกว่าเราไม่เติบโต จริงๆ แล้ว นี่คือเขา “ยำ” เรา เพราะว่าเขาอยากให้แข่งขันกันเพื่อเติบโต”

 

คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี

คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)

 

ด้วยนโยบายของ บริษัทแม่อย่าง ยัมฯ ที่ต้องการแบ่งการบริหารสิทธิ์ของผู้ถือแฟรนไชส์รายใหญ่ออกเป็น 3 ราย ประกอบด้วย บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือ CRG, บริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด หรือ RD และบริษัท เดอะ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย จำกัด หรือ QSA เพื่อบาลานซ์การทำตลาดในไทย และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน

แน่นนอนว่าหากไทยเบฟ ไปซื้อสิทธิ์ต่อจาก RD มามองว่าจะทำให้บริษัทแม่รู้สึกว่าสเกลจะใหญ่เกินไป และเมื่อใหญ่เกินไปก็คุยกันไม่รู้เรื่อง นั่นคือสิ่งที่ทางยัมฯ อาจจะไม่ต้องการให้ไทยเบฟไปลงทุน แต่ในมุมความสำเร็จของการเป็น Co-Partnership ระหว่างไทยเบฟ และ ยัมฯ  ถือว่าเป็นพาร์ทเนอร์ที่เข้าขากันได้ดี หลังสามารถสร้างการเติบโตให้แก่ KFC ได้ในระยะเวลาอันสั้นหลังคว้าสิทธิ์มา

นอกเหนือจากฝั่ง Yum ที่พยายามบาลานซ์พลังของแฟรนไชส์ซีทั้ง 3 รายแล้ว ฝั่ง QSR เอเชีย โดยคุณฐาปน เอง ก็พยามยามกระตุ้น Organic Growth ภายใต้องค์กรเอง โดยเสริมศัพยภาพด้านทรัยกรบุคคล เพื่อความคุ้มค่าทางการบริหาร นั่นทำให้ดีล RD กับ QSR ไม่เกิดขึ้น

“Looking for Growth” ชูจุดแข็ง “ไทยเบฟ” ลงทุนเองใช้เงินน้อยกว่า

คุณนงนุช บูรณะเศรษฐกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มธุรกิจอาหาร บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) กล่าวเสริมถึงนโยบายสร้างการเติบโตของ KFC ภายใต้เงาไทยเบฟนับจากนี้ว่า จะมีการต่อยอดธุรกิจเชิงรุก ที่มองหา Looking for Growth มากขึ้น ซึ่งเมื่อทางบริษัทแม่มีนโยบายในการบาลานซ์ผู้ถือสิทธิ์ ทางไทยเบฟเองก็ต้องกลับมาประเมินแนวทางในการทำตลาดเอง ของแบรนด์ KFC นับจากนี้ให้ได้  ด้วยการทำงานที่ต้องวิน-วิน ทั้งบริษัทและเจ้าของแฟรนไชส์

ตลอดในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา หลังไทยเบฟเข้าซื้อกิจการแฟรนไชส์ของ KFC มีการเติบโตสูงมากขยายสาขาเพิ่มไปแล้ว กว่า 160 สาขา จากเดย์วัน  ซึ่งจากศักยภาพที่มีความได้เปรียบของแพลตฟอร์มที่มีจากส่วนกลางในบริษัทแม่ของไทยเบฟ ทำให้ศักยภาพในการขยายสาขาของ KFC ภายใต้การบริหารงานของไทยเบฟยังสามารถขยายสาขาได้อีกจำนวนมาก โดยไม่ต้องใช้เงินจำนวนมหาศาลอย่างการเข้าซื้อกิจการต่อจาก RD

“สมมุติเขาเอามาให้เรา อีกขาหนึ่งที่เหลืออาจจะไม่แฮปปี้ หรือเราให้เขา ทางเราก็อาจจะมีใครไม่แฮปปี้ ดังนั้นความสัมพันธ์ที่มี 3 ปาร์ตี้ในการทำตลาดในประเทศไทยถือว่าเป็นบาลานซ์ที่กำลังพอดี  ที่ผ่านมา KFC ภายใต้การบริหารงานของไทยเบฟสามารถเติบโตได้ดีอยู่แล้ว แม้แต่ในช่วงโควิดที่ผ่านมา ทางเครือก็มีการขยายสาขาอย่างต่อเนื่องตามเป้าหมาย  แต่รูปแบบการเปิดร้านเปลี่ยนไป ซึ่งทุกอย่างคือการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจที่นำบทเรียนจากโควิดมาปรับปรุง เปลี่ยนแปลงตามความต้องการของลูกค้า”

 

KFC

 

บุกทำเลนอกห้างฯ เพิ่มเมนูหลากหลาย สร้างโอกาสการเข้าถึงให้แก่แบรนด์

ปัจจุบันร้านอาหารของในบริษัท เดอะ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย จำกัด หรือ QSA เครือของไทยเบฟ ทั้งสิ้น 725 สาขา (สิ้นปีงบประมาณ ก.ย.65) โดยมี KFC เป็นแบรนด์หลักในการรุกธุรกิจร้านอาหารแบบบริการด่วน มีจำนวนสาขาทั้งสิ้น 410 สาขา ขณะที่สิ้นเดือนนี้จะเป็น 412 สาขา เป็นสาขานอกห้าง 40%

โดยปี 2566 จะมีการขยายสาขาเพิ่มอีก 70 สาขา ภายใต้งบประมาณกว่า 1,000  ล้านบาท โดย KFC จะเป็นแบรนด์หลักที่ทางค่ายโฟกัสมีการขยายสาขาทั้งสิ้น  35 สาขา ในรูปแบบมัลติ สโตร์ ฟอร์แมต (Multi Store Format)  โดยปีหน้าจะเดินหน้าบาลานซ์การเติบโตขยายสาขานอกห้างให้ได้มากกว่า 40%  ไปยังทำเลรอง เทียร์ 2 และ 3 มากขึ้น นอกจากนี้ยังนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ร่วมในการขยายธุรกิจ เพิ่มโอกาสทางการเข้าแบรนด์ถึงมากขึ้น

ภายใต้ยุทธศาสตร์การ “ทรานฟอร์มธุรกิจร้านอาหาร” ไปยัง Business Channal ใหม่ๆ ที่ไม่เพียงแค่ Dine in แต่ยังหมายถึงการมองเรื่องของ Take Away การบริการแบบดีลิเวอรี่ Grab and Go เป็นเทรนด์ธุรกิจที่มาแรงในร้านอาหาร เป็น Big Opputunity สำคัญ ในการทรานฟอร์มตัวเองโดยการต่อยอดจาก Asset และนั่นคือโอกาสสำคัญของ KFC ในซินเนอร์ยี่ธุรกิจของเครือเข้ามาเป็นจุดแข็งสำคัญ

 

KFC Store

 

ที่ผ่านมาไทยเบฟและยัมฯ มีการ Synchronous และ Collaborat อาหารและเครื่องดื่มในเครือ มีการส่งเครื่องดื่มโออิชิเข้าไปใน KFC แล้วกว่า 50 สาขา การเติมเบียร์เข้าไปในร้าน  และการเปิดตัว KFC Café by SO COFFEE ไปเมื่อเดือนมิถุนายน 2565 ทั้งหมดเพื่อตอบโจทย์และ Occasion ในการบริโภคใหม่ๆใน KFC ซึ่งการเติมเมนูกาแฟเข้าไปในร้านก็เป็นการเติมการบริโภคช่วงเช้าเข้ามา จากเดิมคนเข้า KFC จะมีแค่ช่วงเที่ยง บ่าย เย็น ไม่ใช่เพียงแค่ตอบโจทย์ธุรกิจด้วยเรื่องเดิมๆ แต่ยังหมายถึงการเพิ่ม Penetration เพื่อเข้าถึงลูกค้า ที่ต้อง Deeper และ Smarter

นอกจากนี้  KFC ภายใต้ร่มของไทยเบฟ ยังมีการเติมอีกหนึ่งจุดแข็ง คือ สถานีชาร์จอีวี ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนงานของไทยเบฟ โดยจะนำร่องเปิดให้บริการ Pilot Test ราว 1-2 จุดในส้ินปีนี้และต้นปีหน้า ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะติดตั้งที่จังหวัดนครปฐม  เพื่อเป็นพลังงงานทางเลือกเข้ามาเป็นอีกหนึ่งจุดขายแก่คนรุ่นใหม่

จากเหตุผลทั้งหมด และด้วยศักยภาพที่ไทยเบฟมีจึงไม่จำเป็นต้องเข้าไปเทกโอเวอร์ ซึ่งการสร้างการเติบโตและขยายสาขาจากภายในของไทยเบฟเอง ที่แข็งแรงและมั่นคงมากกว่า แถมยังใช้เงินน้อยกว่าการซื้อกิจการที่มีมูลค่าหลักหมื่นล้าน

 

อ่านเพิ่มเติม

KFC Café by SO COFFEE เมื่อ ไทยเบฟฯ ผนึกกำลังธุรกิจในเครือ เปิดคาเฟ่ขาย ‘กาแฟ’ ในร้านไก่ทอด


แชร์ :

You may also like