HomePR News“PTTEP Teenergy ปีที่ 8” ปลุกพลังคนรุ่นใหม่ สร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ด้วยหัวใจนักอนุรักษ์ [PR]

“PTTEP Teenergy ปีที่ 8” ปลุกพลังคนรุ่นใหม่ สร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ด้วยหัวใจนักอนุรักษ์ [PR]

แชร์ :

เพราะวันนี้ประเทศไทยยังคงเผชิญกับปัญหาด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ทำให้ทุกภาคส่วนจึงต้องมารวมพลังกัน เพื่อร่วมกันอนุรักษ์ให้ทรัพยากรทางทะเลให้ยังคงความอุดมสมบูรณ์ โดยหนึ่งในพลังที่เป็นกำลังสำคัญ คือ “คนรุ่นใหม่” ที่จะมาร่วมการขับเคลื่อนการอนุรักษ์ให้เกิดผลสำเร็จ ทำให้บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ได้จัดทำและต่อยอดโครงการ “PTTEP Teenergy ปีที่ 8” ขึ้นเพื่อส่งเสริมเยาวชนให้มีโอกาสได้เรียนรู้และมีส่วนร่วมกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

คุณชยงค์ บริสุทธิ์สวัสดิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานทรัพยากรบุคคล กิจการองค์กร และกำกับดูแล บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เผยว่า จากพันธกิจที่มีต่อความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ทำให้ ปตท.สผ. ได้มุ่งพัฒนาศักยภาพเยาวชนให้มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสร้างนักอนุรักษ์ จึงเป็นที่มาของการริเริ่มโครงการ PTTEP Teenergy มาตั้งแต่ปี 2557 และต่อเนื่องมากว่า 7 ปี เพื่อปลูกฝังให้เยาวชนมีจิตสำนึก และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยกรธรรมชาติ ซึ่งในปีที่ผ่านมา ปตท.สผ. ได้ต่อยอดการดำเนินโครงการ PTTEP Teenergy ปีที่ 7 ภายใต้กลยุทธ์ “ทะเลเพื่อชีวิต” (Ocean for Life) ซึ่งเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การดำเนินโครงการเพื่อสังคมในแผนระยะยาว 10 ปี (ปี 2563 – 2573) เพื่อให้เยาวชนไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล และเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ ส่งเสริมให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรท้องทะเลไทย

“ในปี 2565 นี้ ปตท.สผ. ได้เดินหน้าสานต่อโครงการ PTTEP Teenergy ปีที่ 8 อย่างต่อเนื่องด้วยกิจกรรมการประกวดนวัตกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ครั้งที่ 2 (The 2nd Young Ocean for Life Innovation Challenge) ภายใต้แนวคิด “ทะเลเพื่อชีวิต” (Ocean for Life) เพื่อให้นิสิต นักศึกษาระดับ ปวส. และปริญญาตรี ทั่วประเทศ ร่วมส่งผลงานสร้างสรรค์ คิดค้นนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรทางทะเลใน 3 หัวข้อ ได้แก่ Protect, Preserve และ Provide และในปีนี้จะมีความพิเศษทั้งกติกาการรับสมัครที่ขยายขอบเขตกว้างขึ้น ทั้งยังได้รับเกียรติจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุติเข้าร่วมตัดสิน

เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับความรู้ พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะ เพื่อนำมาต่อยอดผลงานจากนักวิชาการและวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ รวมถึง ยังเป็นการปลูกฝังการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นประสบการณ์ที่ดีที่ไม่สามารถหาได้จากในห้องเรียน และยังเป็นเวทีที่ช่วยส่งเสริมให้เยาวชนได้แสดงศักยภาพ ด้วยการสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมที่จะช่วยอนุรักษ์ทรัพย์กรทางทะเล เพื่อเป็นนักอนุรักษ์และนักประดิษฐ์ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต” นายชยงค์ กล่าว

ด้านตัวแทนคนรุ่นใหม่ที่ได้เข้าร่วมโครงการ PTTEP Teenergy ปีที่ผ่านมา น.ส.อพินญา คงคาเพชร จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ตัวแทนทีม Scraber ผู้ชนะเลิศการประกวด PTTEP Teenergy ปีที่ 7 หัวข้อ Provide ได้เล่าประสบการณ์ที่ได้รับหลังจากเข้าร่วมโครงการว่าได้เห็นถึงปัญหาในการประกอบธุรกิจปูนิ่ม ซึ่งเป็นธุรกิจของเพื่อน ทำให้เกิดไอเดียที่อยากจะช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ชุมชน และเพิ่มมูลค่าให้กับสัตว์น้ำในเชิงเศรษฐกิจ ประกอบกับทางโครงการ PTTEP Teenergy ปีที่ 7 เปิดรับสมัคร จึงได้รวมทีมกับเพื่อน ๆ ส่งผลงานนวัตกรรม Application ระบบการแจ้งเตือนการตรวจจับการลอกคราบปู โดยอาศัยการปรับเปลี่ยนภาพ interface เข้าร่วมประกวดในโครงการ

“การเข้าร่วมโครงการนี้เป็นเหมือนการเปิดประตูไปสู่โลกความรู้ใบใหม่ของพวกเรา และเป็นโอกาสที่ดีมากในชีวิต ซึ่งหนึ่งในนั้นคือโอกาสในการต่อยอดผลงานของเด็กเล็ก ๆ กลุ่มหนึ่ง ให้สามารถนำไปช่วยเหลือ และต่อยอดรายได้ให้กับชาวบ้านในท้องถิ่นได้จริง ๆ อีกทั้ง ยังได้รับความรู้จากวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญในหลากหลายด้าน ทั้งความรู้พื้นฐานวิชาชีพ การอนุรักษ์ทรัพยากรและเทคโนโลยี ที่เราสามารถนำมาเป็นไอเดีย หรือมาต่อยอดแนวคิดผลงานเพิ่มเติม เพื่อให้พัฒนาผลงานออกมาได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งนับเป็นความภูมิใจที่เราจะไม่ลืมแน่นอนค่ะ”

นายอัครพันธ์ ทวีศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ตัวแทนทีม Green Grove รองชนะเลิศอันดับ 1 การประกวด PTTEP Teenergy ปีที่ 7 หัวข้อ Preserve กล่าวว่า ปกติเป็นคนที่สนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมและนวัตกรรมอยู่แล้ว โดยเฉพาะป่าชายเลน ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำหลายชนิด และทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ แต่ปัญหาหนึ่งของการปลูกป่าชายเลนคือ ถุงเพาะชำที่เพาะกล้าไม้ ที่หลังจากปลูกแล้วจะถูกทิ้งไว้ จึงทำให้เกิดความคิดที่อยากจะขับเคลื่อนให้คนปลูกได้เล็งเห็นความสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลจากสิ่งประดิษฐ์ของพวกเรา เลยตัดสินใจส่งผลงาน IMPOT ชุดปลูกโกงกางอัจฉริยะเพื่อฟื้นฟูป่าชายเลนอย่างมีระบบโดยใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมประกวดโครงการ PTTEP Teenergy ปีที่ 7 เพราะเราต้องการที่จะนำนวัตกรรมต่าง ๆ มาช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน

“พอได้เข้าร่วมโครงการแล้ว ผมได้รับความรู้จากวิทยากรมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เรื่องระบบนิเวศ มุมมองของนักนิเวศ หรือนักอนุรักษ์ รวมถึงการเขียน Proposal ที่ดี ทำให้เราได้เห็นภาพจากคนที่ทำงานในด้านนี้จริง ๆ และเข้าใจในบริบท จนนำมาสู่กระบวนการการวิเคราะห์นวัตกรรม เพื่อทำให้นวัตกรรมของเราดีที่สุด และนำไปประยุกต์ต่อยอดได้ รวมถึงเรายังสามารถพัฒนาองค์ความรู้จากสิ่งที่เป็นแรงบันดาลใจ และนำมาลงมือทำให้จับต้องได้ สู่การเป็นวิถีนวัตกรรมต่อไปครับ” นายอัครพันธ์ กล่าว

PTTEP Teenergy นับเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้น้องๆ นิสิต นักศึกษา ระดับ ปวส. และปริญญาตรี ได้มาร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรม และต่อยอดให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมไปใช้จริงเพื่อช่วยอนุรักษ์ทรัพย์กรทางทะเลอย่างสร้างสรรค์และอย่างยั่งยืน
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ผ่านการสมัครกิจกรรมการประกวดนวัตกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ครั้งที่ 2 (The 2nd Young Ocean for Life Innovation Challenge) ภายใต้โครงการ “PTTEP Teenergy ปีที่ 8” พร้อมส่งผลงานเข้าร่วมประกวดได้ตั้งแต่วันนี้ – 15 กันยายน 2565 ที่ https://www.eventsonlinecenter.com/pttep_teenergy สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมและติดตามข่าวสารได้ที่ www.facebook.com/pttepcsr


แชร์ :

You may also like