HomeBrand Move !!เติม Function เพิ่ม Benefit “ทิปโก้” ส่ง 2 น้องใหม่ “น้ำโซดากลิ่นผลไม้ – น้ำผลไม้อัดก๊าซ” ชิงแชร์หมื่นล้าน

เติม Function เพิ่ม Benefit “ทิปโก้” ส่ง 2 น้องใหม่ “น้ำโซดากลิ่นผลไม้ – น้ำผลไม้อัดก๊าซ” ชิงแชร์หมื่นล้าน

แชร์ :


ช่วง 5 ปีที่ผ่านมาอัตราการบริโภคน้ำอัดลมของคนไทยสูงเป็นอันดับ 1 ในภูมิภาคอาเซียน หรือคิดเป็น 41.13 ลิตร/คน/ปี  แต่การเข้ามาของเทรนด์สุขภาพก็ส่งผลต่อความต้องการบริโภคน้ำอัดลมในไทยมีทิศทางลดลง เพราะผู้บริโภคเริ่มให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพมากขึ้น และการเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดของเครื่องดื่มฟังก์ชันนัลคาร์บอเนต และเครื่องดื่มสปาร์คกลิ้ง ที่เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในกลุ่มคนรักสุขภาพ

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

โดยในช่วง 1-2 ปีที่ ผ่านมา จะได้เห็นยักษ์ใหญ่ในเครื่องดื่มหลายรายเริ่มมองหาโอกาสทางการตลาดใหม่ๆ ในการตอบโจทย์เทรนด์เครื่องดื่มสุขภาพ แต่ยังคงความสด ซ่า เช่นเดียวกับน้ำอัดลม โดยมี สิงห์ฯ ขยายตลาดเป็นเจ้าแรกๆ กับ 2 โปรดักท์ไลน์ สิงห์ เลมอน โซดา และยูซุ เลมอน โซดา ขณะที่แบรนด์ “ชเวปส์” หลังเป็นผู้ครองตลาดมาอย่างยาวนาน ก็ออกมาเคลื่อนไหวรับเทรนด์ดังกล่าวด้วยการเปิดตัวรสชาติใหม่ พร้อมเดินหน้ากิจกรรมการตลาดครบวงจร  จนมูลค่าตลาดเครื่องดื่มอัดก๊าซแบบกระป๋องในประเทศไทยทะยานมูลค่า 13,172 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา

ล่าสุด “ทิปโก้” (Tipco) ยักษ์ใหญ่ในตลาดน้ำผลไม้เมืองไทย ก็ตอกย้ำปรากฏการณ์ความแรงของตลาดเครื่องดื่มฟังก์ชันนัลคาร์บอเนต และเครื่องดื่มสปาร์คกลิ้งเมืองไทย ด้วยการขยายพอร์ตสินค้า 2 โปรดักท์ไลน์ใหม่ “ทิปโก้ อิซซี่” (Tipco Izzi) รุกตลาด “เครื่องดื่มโซดา” Carbonated Drink  และ “ทิปโก้ โซซ่า” (Tipco Soza) รุกตลาดกลุ่มน้ำผลไม้อัดก๊าซ Sparkling Juice นับเป็นครั้งแรกในรอบ 46 ปีที่ “ทิปโก้” ขยายพอร์ตโฟลิโอไปยังกลุ่มที่ไม่เคยทำมาก่อน

 

Tipco

ต่อยอดจุดแข็งเจ้าตลาดน้ำผลไม้ที่มีทั้ง  “น้ำโซดากลิ่นผลไม้ และ นำ้ผลไม้อัดก๊าซ” 

การขยายพอร์ตสินค้าใหม่ของ “ทิปโก้” ในครั้งนี้ มีประเด็นที่น่าใจคือการเข้ามาในตลาดเครื่องดื่มอัดก๊าซ ของเจ้าตลาดน้ำผลไม้อย่างเบอร์ 1 จะทำอย่างไรจึงจะสามารถสร้างความเอกลักษณ์และความแตกต่างในการปั้นจุดแข็งของแบรนด์ไปยังลูกค้าได้ในระยะยาว ที่นอกจากจะรองรับเทรนด์สุขภาพแล้ว ยังต้องมีศักยภาพเพียงพอในการสร้างยอดขายเข้ามาทดแทนกลุ่มสินค้าหลักเดิมอย่างน้ำผลไม้ที่หดตัวลงอย่างต่อเนื่องตลอดช่วง 3 ปีที่ผ่านมา จากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 และการเข้ามาของเครื่องดื่มใหม่ๆ ทดแทนตลาดเครื่องดื่มสุขภาพเดิมอย่าง “น้ำผลไม้”

ขณะที่เทรนด์ตลาดเครื่องดื่มอัดก๊าซในเมืองไทยหากเทียบกับช่วง 5 ปี ผู้บริโภคหรือตลาดอาจจะยังไม่รู้จักการใส่ฟังก์ชันในเครื่องดื่ม และการเปิดตัวสินค้าในกลุ่มเครื่องดื่มอัดก๊าซส่วนใหญ่จะมีรสชาติเพียงไม่กี่ชนิด อย่าง ส้ม สตรอเบอรี่ เป็นต้น แต่ในตลาดปัจจุบันไม่ได้แข่งที่การออกรสชาติใหม่ ๆ เพียงอย่างเดียว แต่เป็นการแข่งด้วยฟังก์ชันซึ่งใครมีเบเนฟิตมีมากกว่าก็เลือกอันนั้น

ดังนั้น “ทิปโก้” จึงนำจึงสร้างโอกาสให้กับผลิตภัณฑ์ด้วยการเพิ่มความเป็น Functional Benefit  หลากหลาย ตั้งแต่ วิตามิน  คอลลาเจน ไปจนถึง ไฟเบอร์ เข้ามาเป็นส่วนผสมสำคัญในการทำตลาด ภายใต้คอนเซ็ปต์เครื่องดื่มสุขภาพดีตอบรับดีมานด์คนรุ่นใหม่ใช้ชีวิตสนุก แบบดูแลตัวเอง เป็นการเพิ่มโอกาสพร้อมสร้างทางเลือกใหม่ให้ผู้บริโภค จากเดิมที่อาจจะมีแบรนด์ให้เลือกอยู่ 2-3 แบรนด์

 

“ทิปโก้ อิซซี่” (Tipco Izzi)

“ทิปโก้ อิซซี่” (Tipco Izzi) ใช้เจาะตลาด Carbonated drink

 

จึงตกผลึกมาที่การนำจุดแข็งของแบรนด์ที่มีความเชี่ยวชาญในตลาดนำ้ผลไม้ ต่อยอดสู่พอร์ตสินค้าเครื่องดื่มอัดก๊าซใหม่ที่ไม่เคยทำมาก่อน ที่ต้องมีทั้งความหลากหลายของรสชาติและตัวสินค้า โดย “ทิปโก้ อิซซี่” (Tipco Izzi) จะใช้เจาะตลาด Carbonated Drink  โดยมี 4 รสชาติ ได้แก่ พีช, ส้มยูสุ, มิกซ์เบอร์รี่ และ มะม่วง ปริมาณ 330 มล. ในราคา 16 บาท

 

Tipco Soza

“ทิปโก้ โซซ่า” Tipco Soza เจาะกลุ่มน้ำผลไม้อัดก๊าซ Sparkling Juice

ต่อมากับ “ทิปโก้ โซซ่า” (Tipco Soza) เป็นการตอกย้ำแบรนด์น้ำผลไม้อันดับ 1 ในการรุกตลาดนำ้ผลไม้แท้สปาร์คกลิ้ง Sparkling Juice  โดยผลิตจากน้ำผลไม้แท้ ๆ ที่ผ่านกระบวนการอัดก๊าซเข้าไป มีจุดเด่นคือความหวานจากธรรมชาติแบบไม่เติมน้ำตาล ใหม่ มี 2 รสชาติ ได้แก่ สับปะรดหอมสุวรรณ และ องุ่นแดง ราคา 35 บาท ต่อยอดจากน้ำผลไม้ที่ทิปโก้ถนัด และเลือกรสชาติที่ทิปโก้ขายดี 

ทั้งหมดเน้นเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ และคนที่ชื่นชอบกลิ่นและความซ่าของนำ้ผลไม้ ชื่นชอบปาร์ตี้สนุกสาน แม้จะอยู่ในวัย 40-50 ปีก็ตาม

เติม Function เพิ่ม Benefit สร้างการรับรู้แบรนด์ แบบ Right Timing  

คุณจักรภพ ฉิมอำพันธ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ทิปโก้ เอฟแอนด์บี จำกัด ในกลุ่ม บริษัท ทิปโก้ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า  เนื่องจากเล็งศักยภาพในตลาดเครื่องดื่มอัดก๊าซ ประกอบกับเทรนด์การดูแลสุขภาพ เป็นการนำความเชี่ยวชาญของแบรนด์มาต่อยอดตามกระแสของตลาด ที่ต้องมีมากกว่าการเป็นเครื่องดื่มอัดก๊าซ ทำให้ “ทิปโก้” เร่ิมมองหาโอกาสทางการตลาดจากความต้องการดังกล่าว การเข้ามารุกตลาดดังกล่าวแม้จะมีผู้เล่นที่ทำตลาดและมีแบรนด์ที่แข็งแกร่งอยู่แล้ว แต่ด้วยช่องว่างในตลาดเครื่องดื่มที่มีเซกเมนต์ย่อยอยู่มากมายมาใช้ในการพัฒนาสินค้าใหม่

 

คุณจักรภพ ฉิมอำพันธ์

คุณจักรภพ ฉิมอำพันธ์

 

“หลายคนถามว่าเรามาช้ากับตลาดนี้ไปหรือไม่ แต่เรามองว่าการเข้ามาในจังหวะนี้ถือเป็นว่าช่วงเวลาที่เหมาะสม เพราะคนเริ่มเรียนรู้เทรนด์สุขภาพ รู้จักเครื่องดื่มอัดก๊าซมากขึ้น ซึ่งเรานำจุดแข็งอย่าง Know How หรือความเชี่ยวชาญในตลาดน้ำผลไม้ มาต่อยอดสู่สินค้าใหม่ๆเข้ามารองรับเทรนด์ตลาดที่ไม่ช้าไม่ช้าไปหรือเร็วไป การมาเร็วไปตลาดยังไม่ Educate อาจจะทำให้สุ่มเสี่ยงกว่ามาก แต่การเข้ามาจังหวะเวลานี้คือการตอบโจทย์เทรนด์สุขภาพ ที่คนเริ่มมองหาเบเนฟิตในการดื่มควบคู่กันไปถือเป็นช่วง Right Timing ที่จังหวะถูกพอดี”

 

นอกจากจุดเด่นเรื่องของสินค้าแล้ว กลยุทธ์การตลาดแบบ 4P ( Marketing Mix ) อย่าง Product, Price, Promotion และ Place ทั้งการเปิดตัวแคมเปญการตลาด การเดินหน้าสร้างการรับรู้แบรนด์ผ่านรูปแบบการ ชงชิมได้ลิ้มรสเกิดเป็นรสชาติประจำ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างให้เกิดการทดลองชิม จนเกิดการบอกต่อไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เป็นวงกว้างมากขึ้น  

ควบคู่กับการสื่อสารผ่านโฆษณาทางทีวี (TVC)  / สื่อ Outdoor รูปแบบต่างๆ รวมถึงอินฟูลเอ็นเซอร์ โดยในช่วงแรกจะเป็นการวางจำหน่ายในช่วงแรกที่กำลังทยอยวางขายในห้างสรรพสินค้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ก่อนจะขยายเข้าไปในช่องทางเซเว่น อีเลฟเว่นในอนาคต เบื้องต้นขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอแผนงานเพื่อเข้าไปวางจำหน่าย 

อย่างไรก็ตามด้วยความที่ตลาดมีการแข่งขันกันสูงขึ้น จำนวนผู้เล่นแต่ละรายล้วนเป็นบิ๊กเนมในวงการเครื่องดื่ม ทำให้เป้าหมายในช่วงปีแรก “ทิปโก้ อิซซี่” (Tipco Izzi) และ “ทิปโก้ โซซ่า” (Tipco Soza) มองเป็นการสร้างทางเลือกให้ผู้บริโภค อยากให้เปิดตู้เย็นเจอเครื่องดื่มสปาร์กกลิ้งของทางแบรนด์ ขณะที่ในระยะยาวตั้งเป้าว่าจะสามารถเติบโตอย่างต่อเนื่องได้ในตลาดของกลุ่มเครื่องดื่ม Carbonated Drink และมุ่งสู่ความเป็นอันดับหนึ่งในตลาดเครื่องดื่มประเภท Sparkling Juice

 

 


แชร์ :

You may also like