HomePR Newsท่าน ว.วชิรเมธี แนะใช้พุทธศาสนาเยียวยาสิ่งแวดล้อม ชู “กุศโลบายแห่งศรัทธา” สร้างจิตสำนึกยั่งยืน

ท่าน ว.วชิรเมธี แนะใช้พุทธศาสนาเยียวยาสิ่งแวดล้อม ชู “กุศโลบายแห่งศรัทธา” สร้างจิตสำนึกยั่งยืน

แชร์ :

v.vajiramedhi

 

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

แนวทางการสร้างความยั่งยืน (SUSTAINABILITY) ไม่ใช่แค่การพัฒนาองค์ความรู้ สิ่งแวดล้อมเท่านั้น หากแต่ยังหมายถึงการผสานเอาวัฒนธรรม ความเชื่อ เข้ามาสร้างแรงบันดาลใจพร้อมปลูกจิตสำนึกควบคู่กัน

 “…เราต้องกลับไปหาภูมิปัญญาโบราณ… โลกทั้งผองพี่น้อง… ไม่ใช่คนทั้งโลกเป็นพี่น้องกันเท่านั้น ควรหมายความว่า คนเป็นพี่น้องกับคน คนเป็นพี่น้องกับสัตว์ คนเป็นพี่น้องกับสิ่งมีชีวิต คนเป็นพี่น้องกับโลก คนเป็นพี่น้องกับจักรวาล…”  “พระเมธีวชิโรดม”  ผู้อำนวยการศูนย์วิปัสสนาสากล ไร่เชิญตะวัน และผู้ก่อตั้งมหาวิชชาลัยพุทธเศรษฐศาสตร์กล่าวบนเวทีในหัวข้อ “พระพุทธศาสนากับการเยียวยาสิ่งแวดล้อม” ในงาน SUSTAINABILITY EXPO 2022 

เกิดเป็นแนวทางการยก “พุทธศาสนา” เข้ามาเป็นหนึ่งในแนวคิดการปลูกป่าและสิ่งแวดล้อมยั่งยืนคืออีกหนึ่งหลักคิดของ “พระเมธีวชิโรดม” ที่ต้องเริ่มจากการนำความศรัทธาสร้างจิตสำนึก ด้านสิ่งแวดล้อมแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยเริ่มจากการปฏิบัติจริงให้ผู้คนได้ตระหนักถึงความสำคัญ

ทั้งนี้เพื่อพลิกคืนผืนป่าของเมืองไทยที่เคยอุดมสมบูรณ์ติด 1 ใน 10 ของโลกในอดีต  แต่ปัจจุบันไม่ใช่แล้ว แม้ 32 ปีที่ผ่านมา กรณีการยิงตัวตายของ  “คุณสืบ นาคะเสถียร” จะปลุกคนข้างหลังให้ตื่น และตระหนักว่าหากเราไม่ช่วยกันฟื้นฟูดูแลป่าประเทศไทยจะไร้อนาคต แต่ยังขาดความต่อเนื่อง และแรงบัลดาลใจจากคนรุ่นใหม่

 

“พิธีบวชป่า” กุศโลบายแห่ง ศรัทธา สู่ collective awareness การตื่นรู้ร่วมกัน

“พิธีบวชป่า” คือสิ่งที่ท่าน “ท่าน ว.วชิรเมธี” หยิบยกมาเป็นตัวอย่างทั้งในแง่แนวคิดและการปฏิบัติจริงในครั้งนี้ โดยได้ทำพิธีบวชป่าในงาน  SUSTAINABILITY EXPO 2022  บนเวทีศูนย์ประชุมสิริกิติ์ใจกลางกรุงเทพมหานคร เพื่อส่งต่อภูมิปัญญาโบราณให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ พร้อมกับให้ผู้ร่วมพิธีตั้งปณิธาณว่าชีวิตที่เหลือจะดูแลต้นไม้และป่า และในวันเกิดของทุกปีให้ปลูกต้นไม้เท่าอายุของตนเอง

นับเป็นกุศโลบายสำคัญที่ใช้ความศรัทธาที่มีต่อศาสนาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการตัดได้ทำลายป่า และยังอธิบายว่าการบวชป่าไม่ใช่ปาฏิหาริย์ของผ้าเหลือง แต่ป็นปาฏิหาริย์ของการตื่นรู้ร่วมกัน หรือ collective awareness จากการผูกผ้าเหลืองให้ต้นไม้ต้นเดียว พื้นที่รวมที่ทำการบวชป่าที่ท่านมีส่วนริเริ่มทั้งหมด ณ ปัจจุบันน่าจะเกิน 20 ล้านไร่ด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน

ล่าสุดมีการบวชป่าที่จังหวัดพะเยา บวชต้นไม้ต้นเดียวสามารถปกป้องป่าได้ถึง 4 แสนไร่ด้วยการประกาศให้พื้นที่ป่าบริเวณนั้นเป็นเขตอภัยทาน “บางครั้งคนไม่กลัวกฎหมาย แต่ก็ยังกลัวบาปอยู่” 

 

v.vajiramedhi

 

ขณะที่อีกตัวอย่างหนึ่งที่น่าประทับใจคือบริเวณลุ่มน้ำโขง จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นจุดที่ปลาวางไข่ เป็นแหล่งวิถีชุมชนของชาวเชียงของและผู้คนของทั้งสองฝั่งโขง ชาวบ้านรวมตัวต่อต้านนายทุนที่จะมาระเบิดเกาะแก่งด้วยการจัดพิธีสืบชะตาด้วยการบวชลำน้ำโขง ทำให้เกิดสัญญาประชาคมขึ้น และไม่อนุญาตให้มีการจับสัตว์น้ำพันธุ์สงวนอีกต่อไป

การพัฒนาเพียงด้านความศรัทธาด้านเดียวอาจจะยังดูไม่เพียงพอนัก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องการนำข้อกฏหมายมาใช้ด้วย โดยการยกระดับ “แม่น้ำเจ้าพระยา” ให้มีสถานภาพเป็นนิติบุคคล และใครที่ละเมิดแม่น้ำถือจะว่าเป็นอาชญกรตามกฎหมาย เช่นเดียวกับ​ในต่างประเทศ อาทิ นิวซีแลนด์ รัฐสภาประกาศให้ “แม่น้ำวังกานุย” ซึ่งเป็นแม่น้ำที่สำคัญหรือเส้นเลือดใหญ่ในเกาะเหนือของนิวซีแลนด์ และในประเทศเกาหลีใต้ก็มีการประกาศปกป้องแม่น้ำในลักษณะเดียวกัน 

 

ไม่ใช่แค่ไทย แต่คือการพึ่งพาซึ่งกันและกันรักษาสิ่งแวดล้อมทั่วโลก

ด้านสถานการณ์สิ่งแวดล้อมทั่วโลก โดยเฉพาะในป่าแอมะซอน ที่เป็นป่าฝนเขตร้อนที่มีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดในโลกและถือเป็นปอดของโลก ที่กำลังถูกทำลายอย่างต่อเนื่อง โดยมีรายงานข่าวว่าป่าฝนแอมะซอนในประเทศบราซิล ถูกบุกรุกเผาทำลายโดยกลุ่มนายทุนคิดเป็นพื้นที่เท่ากับ “1 สนามฟุตบอลทุก ๆ 1 นาที”  

ผลทำให้วิกฤติสภาพภูมิอากาศของโลกเป็นผลมาจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศโลกเกินกว่าที่โลกจะแบกรับไหว ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน ไฟป่า น้ำท่วมบ้านเมือง ฤดูกาลผิดเพี้ยน ส่งผลกระทบต่อทุกภูมิภาคของโลกโดยไม่สนใจว่าผู้คนในประเทศนั้นมีส่วนทำลายหรือไม่  เช่น ประเทศปากีสถาน ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยมากเมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกา จีน และอินเดีย คือต่ำกว่า 1% ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาทั่วโลก

แต่กำลังแบกรับมหาอุทกภัยครั้งใหญ่ขนาดที่เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมารัฐบาลปากีสถานประกาศภาวะฉุกเฉิน เนื่องจาก 1 ใน 3 ของประเทศอยู่ใต้น้ำ ส่งผลกระทบกับผู้คน 33 ล้านคน เหตุการณ์นี้เรียกได้ว่าเด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว และชี้ให้เห็นว่าโลกทั้งโลกเชื่อมโยงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หรือ interbeing

 

“ทุกอย่างในโลกล้วนเกี่ยวพันพึ่งพิงอาศัยกัน เราต้องเดินสายกลาง คือไม่เอาจากกันมากเกินไป”  พระเมธีวชิโรดม เน้นย้ำ

นอกจากนี้การนำตัวอย่างจากทั่วโลกมาสร้างแรงบันดาลใจคือสิ่งสำคัญ ที่จะตระหนักให้เห็นถึงความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อม ดังที่เห็นได้จากชาวสวีเดน “เกรต้า ธุนเบิร์ก” ผู้รณรงค์ให้ผู้คนหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อม แบบต่อเนื่องจนในที่สุดมีคนร่วมประท้วงไม่ต่ำกว่า 7 ล้านคนทั่วโลกโดยไม่มีการจัดตั้ง  แม้แต่อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา “บารัค โอบามา”  ยังกล่าวยกย่องว่าเป็นขบวนการด้านมนุษยธรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ที่นำไปสู่นโยบายที่เอื้อต่อการลดก๊าซเรือนกระจกในหลายประเทศในเวลาต่อมา

ทั้งหมดนี้เพื่อร่วมมือ ร่วมใจ ทั้งพลังแห่งศรัทธา ข้อกฏหมาย และจิตสำนึกที่ต้องมีร่วมกัน ในการสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมในะยะยาว 


แชร์ :

You may also like