ภาควิชาการตลาด คณะพาณิชศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานประกาศผลและมอบรางวัล “สุดยอดแบรนด์ทรงพลัง The Most Powerful Brands of Thailand 2022” ใน 30 กลุ่มผลิตภัณฑ์ จากการสำรวจแบรนด์ครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศไทย
รศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร คณบดี คณะพาณิชศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าผลสำรวจการจัดอันดับความแข็งแกร่งของแบรนด์นี้ เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเพื่อชี้นำสังคม ซึ่งภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีฯ จุฬาฯ ได้จัดทำขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีการประกาศผลสุดยอดแบรนด์ทรงพลังทุก 2 ปี โดยครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 6 และก้าวสู่ปีที่ 11 ของการจัดทำผลวิจัย
โดยความแข็งแกร่งของแบรนด์มาจากการประเมินใน 4 มิติ คือ 1. ความตระหนักในแบรนด์ (Awareness) 2. ความชื่นชอบในแบรนด์ (Preference) 3. การใช้ผลิตภัณฑ์ (Usage) 4. ภาพลักษณ์โดดเด่น (Image) เป็นการวิเคราะห์ความสำเร็จของแบรนด์ทั้งด้าน Market Share, Mind Share และ Heart Share
การวิจัย The Most Powerful Brands of Thailand เป็นการวิจัยเพื่อค้นหาแบรนด์ที่แข็งแกร่งที่สุดในประเทศ ใช้กลุ่มตัวอย่างมากที่สุดกว่า 24,000 ตัวอย่าง อายุ 18-69 ปี ครอบคลุม 14 จังหวัดทั่วประเทศ กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเป็นผู้ตัดสินใจซื้อและใช้ผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ด้วยตัวเอง ถือเป็นแบรนด์เบอร์หนึ่งที่ผู้บริโภคชื่นชอบ จึงเป็นงานวิจัยที่เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาการสร้างแบรนด์ของภาคธุรกิจ
สรุป 30 แบรนด์ ที่ได้รับรางวัล The Most Powerful Brands of Thailand 2022 ครั้งที่ 6 ดังนี้
ยานยนต์ (Automotive)
– รถยนต์นั่งส่วนบุคคล (Passenger Car) ออล นิว วีออส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด
– รถยนต์เชิงพาณิชย์ (Commercial Vehicle) นิว ไฮลักซ์ รีโว่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด
– รถจักรยานยนต์ (Motorcycle) ฮอนด้า บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด
เครื่องดื่ม (Beverage)
– น้ำผลไม้ (Juice) ยูนิฟ บริษัท ยูนิ-เพรสซิเดนท์ (ประเทศไทย) จำกัด
– กาแฟ (Coffee) เนสกาแฟ บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด
– เบียร์ (Beer) ลีโอ บริษัท บุญรอดบริเวอรี่ จำกัด
– เครื่องดื่มชูกำลัง (Energy Drink) เอ็ม-150 บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน)
– เครื่องดื่มฟังก์ชันนัล (Functional Drink) C-Vitt (ซี-วิท) บริษัท เฮ้าส์ โอสถสภา ฟู้ดส์ จำกัด
อาหารและขนมขบเคี้ยว (Food & Snacks)
– บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป (Instant Noodle) มาม่า บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน)
– อาหารกระป๋อง (Caned Food) สามแม่ครัว บริษัท รอแยลฟู้ดส์ จำกัด
– ขนมขบเคี้ยว (Snack) เลย์ บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด
– ผลิตภัณฑ์จากนม (Daily Product) โฟร์โมสต์ บริษัท ฟรีสแลนด์ คัมพิน่า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ส่วนบุคคลและครัวเรือน (Personal Care & Household Products)
– ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้าและผิวกาย (Facial & Skin Care) นีเวีย บริษัท ไบเออร์สด๊อรฟ (ประเทศไทย) จำกัด
– ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวกาย (Body Wash) ลักส์ บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด
– ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม (Hair Care) ซันซิล บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด
– ผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปาก (Oral Care) คอลเกต บริษัท คอลเกต-ปาล์มโอลีฟ (ประเทศไทย) จำกัด
– ผลิตภัณฑ์ซักผ้า (Fabric Wash) บรีส บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด
– ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้นผิว (Cleansing) Duck (เป็ด) บริษัท เอส.ซี. ยอห์นสัน แอนด์ ซัน จำกัด
ร้านอาหารและบริการทางการเงิน (Restaurant & Financial Services)
– เชนร้านอาหาร (Chain Restaurant) KFC บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด
– ร้านกาแฟ (Coffee Shop) Cafe Amazon บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน)
– ธนาคาร (Bank) SCB บริษัท ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
– ประกันชีวิต (Life Insurance) AIA บริษัท เอไอเอ จำกัด
– ประกันภัยรถยนต์ (Car Insurance) วิริยะประกันภัย บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน)
– ธุรกิจขนส่งสินค้า (Logistics) Kerry Express บริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
ผลิตภัณฑ์และบริการด้านเทคโนโลยี (Technology Products & Service)
– แล็ปท็อป/โน้ตบุ๊ก (Laptop/Notebook) ACER บริษัท เอเซอร์ คอมพิวเตอร์ จำกัด
– โทรศัพท์มือถือ (Mobile Phone) SAMSUNG บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด
– ช้อปปิ้งออนไลน์ (Online Shopping) LAZADA บริษัท ลาซาด้า จำกัด (ประเทศไทย)
– แพลตฟอร์มส่งอาหาร (Food Delivery Platform) Grab Food บริษัท แกร็บ ประเทศไทย จำกัด
– เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) facebook บริษัท เฟซบุ๊ก ประเทศไทย จำกัด
– บริการทีวีสตรีมมิ่ง (TV Streaming) Netflix บริษัท เน็ตฟลิกซ์ (ประเทศไทย) จำกัด
ผลงานวิจัย The Most Powerful Brands of Thailand ไม่ได้เป็นแค่การประกาศรางวัลแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จเท่านั้น แต่ผลงานวิจัยนี้จะใช้เป็นแนวทางในการพัฒนากลยุทธ์การตลาดและการสร้างแบรนด์ให้ประสบความสำเร็จสำหรับตลาดประเทศไทยต่อไป