HomeBrand Move !!รู้จัก “TiffinLabs” โมเดลร้านอาหาร “Virtual Restaurant” แฟรนไชส์รูปแบบใหม่รุกดิลิเวอรี แก้ปัญหา SME ไทยหดตัว

รู้จัก “TiffinLabs” โมเดลร้านอาหาร “Virtual Restaurant” แฟรนไชส์รูปแบบใหม่รุกดิลิเวอรี แก้ปัญหา SME ไทยหดตัว

แชร์ :

TiffinLabs

การระบาดของโควิด-19 ตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา แม้จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจร้านอาหารที่เป็น Offline Store ให้ได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก แต่ในทางกลับกัน พบว่า ภาพรวมตลาด Food Delivery กลับเติบโตสวนทางแบบก้าวกระโดด โดยในช่วงปี 2564-2565 ภาพรวมตลาดฟู้ดดิลิเวอรีในภูมิภาคอาเซียนมีมูลค่าประมาณ 5.25 แสนล้านบาท ขยายตัว 5% ส่วนไทยขยายตัวต่อเนื่องมีมูลค่าตลาดรวมราว 117,000 ล้านบาท ใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากอินโดนีเซียที่มีมูลค่า 147,000 ล้านบาท และมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

“ทิฟฟินแล็บส์” (TiffinLabs)  คือฟู้ดเทคสตาร์ทอัพ เจ้าของแบรนด์อาหารชั้นนำจากสิงค์โปร์  ที่ขานรับการเติบโตของ“Food Delivery ” จึงเดินหน้าพัฒนา “Virtual Restaurant Brands” โมเดลแฟรนไชส์ร้านอาหารรูปแบบใหม่ จากโอกาสทางการตลาดจากการเติบโตแบบก้าวกระโดดของบริการดิลิเวอรี และ Online Store ด้วยการเดินหน้าพัฒนาโมเดลร้านอาหารใหม่ขึ้นมา ด้วยการนำแบรนด์ร้านอาหาร เจาะผู้ประกอบการร้านอาหาร เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในช่องทางดิลิเวอรี โดยปัจุจบันได้ขยายเข้าไปทำตลาดแล้วใน 3 ประเทศภูมิภาคอาเซียนที่มีอัตราการเติบโตของธุรกิจฟู้ดดิลิเวอรีสูงอย่าง สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย

Virtual Restaurant Brands โมเดลธุรกิจใหม่ตอบโจทย์ดิลิเวอรีขยายตัว

คุณภูมินันท์ ตันติประสงค์ชัย  ผู้ร่วมก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO)  ทิฟฟินแล็บส์  เผยว่า “สถานการณ์ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ทำให้บริการฟู้ดดิลิเวอรีได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของผู้คน ซึ่งในขณะที่ตลาดฟู้ดดิลิเวอรีเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด เราพบว่า มีธุรกิจร้านอาหารจำนวนมากโดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อย (SMEs) กลับประสบปัญหาในการบริหารจัดการที่ไม่สามารถปรับรูปแบบธุรกิจให้ตอบรับความต้องการและพฤติกรรมในการสั่งฟู้ดดิลิเวอรีของผู้บริโภคได้ และทำให้พลาดโอกาสในการสร้างรายได้ไปอย่างมหาศาล ด้วยการเล็งเห็นปัญหาข้างต้น 

ขณะเดียวกันยังเป็นการรองรับตลาด Food Service ของไทยที่มีมูลค่าราว 952,000 ล้านบาท ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของอาเซียนและยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องอีกด้วย

 

Virtual Restaurant Brands

 

“ทิฟฟินแล็บส์” จึงได้บุกเบิกโมเดลธุรกิจใหม่ที่เรียกว่า “Virtual Restaurant Brands” ซึ่งจะเข้ามาช่วยผู้ประกอบการร้านอาหารในการสร้างรายได้เพิ่มจากการนำแบรนด์อาหารของทิฟฟินแล็บส์ไปเปิดขายในร้านของตัวเองผ่านช่องทางดิลิเวอรี โดยหลังจากเปิดตัวธุรกิจครั้งแรกที่ประเทศสิงค์โปร์ในปี 2563 แบรนด์อาหารของทิฟฟินแล็บส์ สามารถสร้างสถิติในการขยายจำนวนสาขาบนช่องทางดิลิเวอรี ติด 10 อันดับแรกในประเทศสิงค์โปร์ จากความสำเร็จนี้ จึงทำให้เราได้ขยายธุรกิจต่อมาที่ประเทศมาเลเซีย และไทย

โดยเข้ามาทดลองตลาดในประเทศไทยตั้งแต่ต้นปี 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งได้รับเสียงตอบรับที่ดีมากจากทั้งผู้ประกอบการรายใหญ่และรายย่อย จนทำให้ปัจจุบันมีสาขารวมแล้วกว่า 100 สาขาทั่วกรุงเทพฯ

ดึงจุดแข็ง Virtual Restaurant แก้ Pian Point ร้านอาหารรายเล็กปิดตัว

เมื่อย้อนดูภาพรวมธุรกิจร้านอาหารไทยตลอดช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา แม้จะต้องเผชิญปัญหาด้านการปิดหน้าร้าน ไม่สามารถนั่งรับประทานได้ ทำให้ภาพรวมธุรกิจส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบพอสมควร แต่อีกด้านในมุมของ “Delivery” กลับมีการขยายตัวได้ดีและเติบโตแบบก้าวกระโดด จากพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป

หากโฟกัสมาที่ธุรกิจร้านอาหารขนาดเล็ก (SME) ในกลุ่มร้านอาหารขนาดย่อยเป็นหนึ่งในกลุ่มที่มีการขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง แต่จากการแข่งขันที่รุนแรงอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากผู้ประกอบการรายเดิม และผู้แข่งขันหน้าใหม่ที่หันมาทำร้านอาหารขนาดย่อมมากขึ้น ทำให้ตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมา พบว่าผู้ประกอบการร้านอาหารขนาดย่อมของไทยกว่า 530,000 รายได้ต้องปิดตัวลง 60%  โดยพบว่าปัญหาหลักๆของการปิดตัวลงคือ

  • การแข่งขันในตลาดที่รุนแรงมากขึ้น จากการที่ธุรกิจร้านอาหารเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  กำไรของร้านอาหารในปัจจุบันโดยเฉลี่ยต่ำกว่าธุรกิจประเภทอื่น ในธุรกิจบริการด้วยกัน
  • การไม่มีความเชี่ยวชาญในการทำตลาด ขาด Know How ที่ต่อเนื่อง
  • รื่องของต้นทุนการแข่งขันที่ไม่เหมาะสม โดยพบว่าร้านอาหารขนาดเล็กหากไม่มีเงินสดเข้ามาภายในระยะเวลา 45 วัน จะไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ แตกต่างจากธุรกิจโรงแรม ที่จะอยู่ได้ 145 วัน
  • การทำอาหารยังไม่สามารถตอบสนองออเดอร์ที่เข้ามารวดเร็วได้ จากความคล่องตัวด้านต่างๆ

การเข้ามาของ “ทิฟฟินแล็บส์” (TiffinLabs) เพื่อต้องการแก้ Pian Point ร้านอาหารรายเล็กเหล่านี้ ด้วยการสร้างโมเดลธุรกิจรูปแบบใหม่ ในชื่อ “Virtual Restaurant Brands” คล้ายกับการทำแฟรนไชส์  แต่จะเน้นไปที่การพัฒนาแบรนด์อาหารสำหรับฟู้ดดิลิเวอรี โดยทิฟฟินแล็บส์จะทำหน้าที่ดูแลพาร์ทเนอร์ตั้งแต่ต้น ไปจนถึงกระบวนการงานขาย ที่ประกอบไปด้วย

  1. คิดค้นและพัฒนาแบรนด์อาหารให้เหมาะกับการทำดิลิเวอรีโดยเฉพาะ ตั้งแต่ การออกแบบเมนูให้ตอบโจทย์ลูกค้าในแต่ละพื้นที่
  2. การคัดสรรรูปแบบแพคเกจจิ้งที่เหมาะสำหรับการดิลิเวอรี การคำนวณต้นทุนที่แสดงให้เห็นผลกำไรชัดเจน ไปจนถึงการทำการตลาดเพื่อโปรโมทแบรนด์อาหารกับกลุ่มผู้บริโภค โดยมีระดับราคาเริ่มต้นตั้งแต่ไม่ถึง 100 บาท (เมนูอาหาร)
  3. ผู้ประกอบการร้านอาหารมีหน้าที่แค่ประกอบอาหารตามขั้นตอนของแบรนด์ จากอุปกรณ์ครัว และพนักงานที่มีอยู่ และเปิดขายผ่านช่องทางดิลิเวอรีควบคู่ไปกับการทำร้านอาหารของตัวเอง

โดยจะมี Cloud Kitchen รองรับบริการ และซัพพอร์ตวัตถุดิบต่างๆ ซึ่งโมเดลของทางบริษัทจะมีการคิดส่วนแบ่งคือ ทางร้านพาร์ทเนอร์ 60% บริษัทได้ 40%

ขณะที่กลุ่มอาหารที่มาแรงตลอดช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาคือ กลุ่มอาหารดิลิเวอรีที่สามารถเลือกรับประทานได้รวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็น อาหารเกาหลี ไก่ทอด สอดคล้องกับตลาดอาเซียนที่อาหารไก่ทอดและอาหารเกาหลีเป็นที่นิยม จึงทำให้ “ทิฟฟินแล็บส์” เลือกนำแบรนด์ที่ตอบโจทย์เทรนด์ในไทยเข้ามาทำตลาดในรูปแบบ Virtual Restaurant แล้วทั้งสิ้น 6 แบรนด์ จากจำนวนแบรนด์ในพอร์ตโฟลิโอทั้งหมด 20 แบรนด์ ก่อนที่จะพัฒนาแบรนด์ใหม่และนำเข้าแบรนด์ในเครือฯ มาทำตลาดเพิ่มเติมในอนาคต ประกอบไปด้วย

  1.  แฟตฟิงเกอร์ (Phat Fingers) ไก่ทอดสไตล์เกาหลี 
  2. เซาท์เทิร์นโซล (Southern Soul) ไก่ทอดสไตล์อเมริกัน
  3.  พาสต้าเทเบิ้ล (Pasta Table) สปาเก็ตตี้สไตล์คอมฟอร์ตฟู้ด
  4.  โปเตโต้ แล็บ (Potato Lab) เฟรนช์ฟรายส์และเมนูทานเล่นต่างๆ
  5. ย่างดี (Yang Dee by Phat Fingers) ข้าวหน้าปิ้งย่างสไตล์เกาหลี
  6. ภูมิใจไก่ทอด (Phum Jai)  ไก่ทอดสไตล์ไทย

ทั้งนี้ปัจจุบัน “ทิฟฟินแล็บส์” มีสาขาแล้วใน 3 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย 30 สาขา,สิงคโปร์ 120 สาขา, และไทย 100 สาขา  ซึ่งแต่ละประเทศมีอัตราการเติบโต 10-20% ทุกเดือน ก่อนที่เป้าหมายในอีก 5 ปีข้างหน้าจะขยายสาขาในไทยเพิ่มเป็นดับเบิ้ล หรือราว 200 สาขา ขณะที่ทั้ง 3 ประเทศ จะมีจำนวนสาขาราว 1,000 สาขา 


แชร์ :

You may also like