HomeBrand Move !!โมเดลใหม่ เตรียมเปิดปั๊มอีวี GINKA มีเคาน์เตอร์บริการเครื่องดื่ม ‘เต่าบิน’ ชานมไข่มุก ตู้กดก๋วยเตี๋ยว   

โมเดลใหม่ เตรียมเปิดปั๊มอีวี GINKA มีเคาน์เตอร์บริการเครื่องดื่ม ‘เต่าบิน’ ชานมไข่มุก ตู้กดก๋วยเตี๋ยว   

แชร์ :

“ตู้เต่าบิน” (TAO BIN) ที่นิยามตัวเองเป็น Robotic Barista เปิดตัวในปี 2564 เป็นธุรกิจที่พัฒนาโดยบริษัท ฟอร์ท เวนดิ้ง จำกัด สร้างการเติบโตใหม่ (New S-Curve) ให้กับ บมจ.ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส (FSMART) ในฐานะผู้ถือหุ้น เพราะเป็นธุรกิจที่มี Gross Margin  65%

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

สิ้นปี 2565 “ตู้เต่าบิน” มีจำนวน 4,942 ตู้ เพิ่มขึ้น 805% จาก ปี 2564 ที่มีจำนวน 546 ตู้  ยอดขายอยู่ที่ 1,510 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,920% จากปี 2564 ที่มียอดขาย 50 ล้านบาท (เต่าบินเริ่มธุรกิจไตรมาสแรกปี 2564)

– ยอดขายเฉลี่ยของ “เต่าบิน” ต่อตู้ต่อเดือน ในปี 2565 อยู่ที่ 44,574 บาท ลดลง 5.9% จากปี 2564 ที่มียอดขาย 47,379 บาท

– ตู้เต่าบิน ให้บริการกว่า 200 เมนู เป้าหมายจะเพิ่มเป็น 300 เมนู  แบ่งสัดส่วนเป็น เครื่องดื่มนมและช็อกโกแลต 31%  โซดา 26% กาแฟ 23%  ชา 14%  เครื่องดื่มชูกำลัง 3%  และอื่นๆ 3%

–  สิ้นปี 2565 ตู้เต่าบินติดตั้งไปแล้ว 4,942 ตู้ กระจายอยู่ในกรุงเทพฯ 50%  และต่างจังหวัด 50% ให้บริการลูกค้าไปแล้วกว่า 4 ล้านคน 

– สถานที่ติดตั้งตู้เต่าบิน  

1. ที่พักอาศัย 17% ยอดขาย 46 แก้วต่อตู้ต่อวัน

2. โรงงาน 16%  ยอดขาย 45 แก้วต่อตู้ต่อวัน

3. ศูนย์การค้าและพื้นที่ค้าปลีก 14%  ยอดขาย 55 แก้วต่อตู้ต่อวัน

4.  อาคารสำนักงาน 12% ยอดขาย 44 แก้วต่อตู้ต่อวัน

5. โรงพยาบาล 7%  ยอดขาย 64 แก้วต่อตู้ต่อวัน

6. อื่นๆ เช่น สถานีรถไฟฟ้า โรงแรม ร้านค้า สถานที่ท่องเที่ยว 24%  ยอดขาย 36 แก้วต่อตู้ต่อวัน

“ตู้เต่าบิน” ตั้งเป้าหมายยอดขายเฉลี่ยต่อตู้ที่ 50 แก้วต่อตู้วัน หากทำเลไหนยอดขายต่ำกว่าเกณฑ์จะย้ายทำเลใหม่ หลังจากเปิดมา 1 ปีเต็มพบว่าฤดูกาลมีผลต่อยอดขายเต่าบิน คือ ฤดูร้อนขายดีกว่า ฤดูฝนและฤดูหนาว เห็นได้จากค่าเฉลี่ยไตรมาส 2 ปีก่อนอยู่ที่ 76 แก้วต่อวันต่อตู้  ไตรมาส 3 อยู่ที่ 60 แก้วต่อวันต่อตู้ และ ไตรมาส 4 อยู่ที่ 46 แก้วต่อวันต่อตู้

ปี 2566 วางแผนขยายตู้เต่าบินอีก 5,000 ตู้ รวมเป็น 10,000 ตู้ โดยยังคงเป้าหมายปี 2567 รวม 20,000 ตู้  ยอดขายเฉลี่ย 50 แก้วต่อตู้ต่อวัน หรือรวม 1 ล้านแก้วต่อวัน  ยอดขายเฉลี่ยวันละ 30 ล้านบาท รายได้รวม 10,000 ล้านบาทต่อปี 

Photo Credit : facebook/GINKAChargePoint

เปิดตัวจุดชาร์จ GINKA

อีกธุรกิจสร้างการเติบโตใหม่ให้ FSMART ในปี 2566 คือการเปิดตัวธุรกิจจุดชาร์จอีวี GINKA (กิ้งก่า) ซึ่งมีจุดเด่นดังนี้

– ใช้งานง่ายด้วยหน้าจอสัมผัสระบบ LCD

– แจ้งเตือนผ่าน SMS เมื่อชาร์จเต็ม พร้อมแสดงรายละเอียดการชำระเงิน

– ระบบชำระเงินผ่าน QR Code, E-Wallet  และ Ginka Credit

– ระบบชาร์จไฟแบบ AC และ DC

วิธีการชาร์จ GINKA 1. จอดรถยนต์ที่จุดชาร์จ-ดับเครื่องยนต์-เสียบหัวชาร์จ 2.เลือกช่องทางการจ่ายเงิน-โปรโมชั่น 3. ระบุจำนวนเงินที่ต้องการชาร์จ 4. สแกน QR Code เพื่อจ่ายเงิน  5. ใส่เบอร์มือถือ เพื่อเก็บเงินคงเหลือไว้เป็นเครดิต 6. เริ่มชาร์จ 7. ระบบจะหยุดชาร์จเมื่อถอดปลั๊ก,แบตเตอรี่เต็ม หรือ ผู้ชาร์จกดหยุดชาร์จครบจำนวนเงิน 8.กรณีมียอดคงเหลือจากการชาร์จ ระบบคำนวณเงินและคืนเงินเข้าเครดิต เบอร์โทรผู้ใช้งาน 9.ถอดสายชาร์จเก็บเข้าที่ ขับรถออก

ในปี 2566 GINKA วางเป้าหมายติดตั้งจุดชาร์จ 5,000 สถานี ในพื้นที่จอดรถสาธารณะ พื้นที่อยู่อาศัย  เช่น  บ้าน อพาร์ตเมนต์  คอนโด พื้นที่จอดรถในห้าง ศูนย์การค้า ร้านค้าปลีก ร้านอาหาร โรงแรม จะเริ่มให้บริการในเดือนพฤษภาคมนี้

เปิดปั๊มอีวี GINKA มีเคาน์เตอร์เสิร์ฟ “เต่าบิน” ตู้กดก๋วยเตี๋ยว

หลังเปิดให้บริการจุดชาร์จอีวี GINKA ในปีนี้ คุณณรงค์ศักดิ์ เลิศทรัพย์ทวี กรรมการผู้จัดการ บมจ. ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส (FSMART) กล่าวว่าแผนธุรกิจในปี 2567 จะ Synergy จุดแข็งของ GINKA และ “เต่าบิน” มารวมกัน โดยเปิดโมเดลใหม่เป็น ปั๊มอีวี GINKA รูปแบบสแตนด์อโลน

ในปั๊มอีวีให้บริการจุดชาร์จ GINKA โดยมีพื้นที่เคาน์เตอร์บริการเมนูเครื่องดื่มจากตู้เต่าบิน รวมทั้งตู้ชานมไข่มุก ตู้กดก๋วยเตี๋ยว เพื่อให้บริการผู้ที่มาชาร์จรถไฟฟ้าในปั๊ม โดยเป็นรูปแบบบริการตัวเองตามคอนเซ็ปต์ของตู้อัตโนมัติ   

“ทั้ง GINKA และ ตู้เต่าบิน หากสามารถขยายจำนวนให้บริการได้ในระดับ 15,000 จุด ได้แล้ว จะเป็นธุรกิจที่ทำรายได้และกำไรได้สูงเช่นเดียวกับตู้บุญเติม”

ปีนี้เต่าบินเตรียมงบทำตลาดไว้ 100 ล้านบาท  โดยจะเริ่มจัดโปรโมชั่นในช่วงหน้าร้อน เพื่อดึงให้ลูกค้ามาทดลองดื่มเครื่องดื่ม เชื่อว่าหากได้ลองแก้วแรก น่าจะเป็นลูกค้าประจำได้ เพราะมีเครื่องดื่มให้เลือกซื้อกว่า 200 เมนู โดยเมนูที่กำลังได้รับความนิยมคือ เครื่องดื่มชูกำลัง ซึ่งมีโอกาสที่จะนำมาจำหน่ายในรูปแบบขวดหรือกระป๋อง วางขายนอกตู้เต่าบินในอนาคต

โดย “ฟอร์ท เวนดิ้ง” เจ้าของตู้เต่าบิน วางแผนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในสิ้นปี 2566 

อ่านเพิ่มเติม


แชร์ :

You may also like