HomeBrand Move !!เที่ยวญี่ปุ่นเตรียมเงินเพิ่ม 7 บริษัทรถไฟยักษ์ใหญ่ขอขยับราคาตั๋วโดยสาร

เที่ยวญี่ปุ่นเตรียมเงินเพิ่ม 7 บริษัทรถไฟยักษ์ใหญ่ขอขยับราคาตั๋วโดยสาร

แชร์ :

japan train

ใครที่มีแผนจะเดินทางไปเที่ยวญี่ปุ่นกันเองในช่วงนี้อาจต้องเตรียมเงินเพิ่มขึ้นอีกสักนิด เมื่อ 7 ผู้ให้บริการรถไฟยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นเตรียมปรับขึ้นราคาค่าโดยสารรถไฟในเมืองใหญ่อย่างกรุงโตเกียวและโอซาก้าแล้ว โดยมีผลจากตัวเลขรายได้ที่ยังคงไม่เติบโต และยอดขายตั๋วยังทำได้ราว 80% ของยุคก่อนเกิด Covid

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

สำหรับบริษัทผู้ให้บริการรถไฟทั้ง 7 รายที่มีแผนจะปรับขึ้นราคาก่อนใครนั้นได้แก่

  • East Japan Railway (JR East)
  • Tokyo Metro
  • Odakyu Electric Railway
  • Seibu Railway
  • Tobu Railway
  • Sagami Railway
  • Tokyu Railways

ตัวอย่างของการเดินรถไฟที่จะปรับขึ้นราคาคือ สายยามาโนเตะ (ให้บริการโดย JR East) ซึ่งปกติเป็นขบวนรถไฟที่มีผู้คนพลุกพล่านที่สุดในกรุงโตเกียว ที่จะปรับราคาขึ้น 10 เยน ตั๋วแบบหนึ่งเดือนปรับขึ้น 330 เยน และตั๋วแบบสามเดือนปรับขึ้น 940 เยน ส่วนตั๋วนักเรียนไม่มีการปรับขึ้นราคาแต่อย่างใด

20 บริษัทรถไฟเตรียมปรับราคาขึ้น

อย่างไรก็ดี นอกจากทั้ง 7 บริษัทที่เริ่มขึ้นราคาค่ารถไฟแล้วนั้น มีรายงานด้วยว่า ภายในปีนี้ จะมีบริษัทผู้ให้บริการรถไฟของญี่ปุ่นมากถึง 20 รายที่เตรียมปรับขึ้นราคาค่าโดยสาร โดยผู้ให้บริการอย่าง JR West ในโอซาก้าจะเริ่มปรับราคาในเดือนเมษายน (ตั้งแต่ 10 – 40 เยน) ขณะที่การจองที่นั่งบนรถไฟชินคันเซน (สายซันโย) ก็จะมีราคาเพิ่มขึ้น 420 เยนด้วย

อีกหนึ่งสายที่อาจกระทบกับนักเดินทางบ้านเราก็คือ Nankai Electric Railway ที่วิ่งระหว่าง Kansai International Airport เข้าเมืองโอซาก้า เพราะมีรายงานว่าทางบริษัทจะเริ่มปรับราคาค่าโดยสาร 10% เช่นกัน (แต่เริ่มในเดือนตุลาคม)

shutterstock_e235 yamanote line japan tokyo

จำนวนผู้โดยสารยังไม่ฟื้น

ทั้งนี้ การพุ่งขึ้นของค่าโดยสารรถไฟในญี่ปุ่นได้รับการเปิดเผยว่ามาจากสองปัจจัย นั่นคือจำนวนผู้โดยสารที่ยังไม่กลับสู่สภาพเดิม และเรื่องของการอัปเกรดด้านความปลอดภัยภายในสถานีรถไฟ เช่น การใส่แผงที่กั้นชานชาลา การเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้นั่งวีลแชร์ ฯลฯ ซึ่งการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้คาดว่าจะใช้เวลานานเกือบ 10 ปีกว่าจะแล้วเสร็จ

ตัวอย่างเช่น JR East ที่จะเพิ่มสถานีที่มีแผงกั้นเป็น 330 สถานีภายในปี 2031 และคาดว่าจะใช้งบประมาณมากถึง 5.9 แสนล้านเยน (ตัวเลขถึงปี 2035) ซึ่งการปรับราคาค่าโดยสารนี้จะทำรายได้ให้บริษัทเพิ่มขึ้นราว 23,000 ล้านเยนต่อปีหรือคิดเป็น 50% ของงบประมาณในการลงทุนเท่านั้น

ส่วนประเด็นเรื่องจำนวนผู้โดยสารที่ยังไม่มากเท่าในอดีต และทำให้บริษัทต้องปรับราคาขึ้นนั้น มีการยกตัวอย่างรายได้ของสาย Tokyu ในช่วงเดือนเมษายน – ธันวาคม 2022 ว่าทำได้ราว 89,800 ล้านเยน หรือประมาณ 80% ของรายได้ช่วงก่อนหน้าจะเกิดวิกฤติโรคระบาด เช่นเดียวกับสาย Kintetsu และ Nankai ในโอซาก้าที่ทำได้ราว 80% ของช่วงก่อนเกิดการระบาดเช่นกัน ใครที่จะไปเที่ยวญี่ปุ่นหลังจากนี้จึงอาจต้องเผื่อ หรือเตรียมเงินค่าเดินทางเพิ่มจากเดิมกันอีกหน่อย

Source


แชร์ :

You may also like