HomePR Newsเคล็ดลับสร้างลูก “สมองไว” ด้วยสฟิงโกไมอีลินในนมแม่ [PR]

เคล็ดลับสร้างลูก “สมองไว” ด้วยสฟิงโกไมอีลินในนมแม่ [PR]

แชร์ :

เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการเรียนรู้และวิถีชีวิตของเด็ก ทำให้เด็กยุคนี้ต้องปรับตัวให้เท่าทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เพราะการเรียนรู้ที่รวดเร็ว มีสมองที่ฉับไวจะนำไปสู่การพัฒนาทักษะของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อยอดไปถึงทักษะแห่งอนาคตที่โดดเด่นกว่า

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

โภชนาการ มีส่วนสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างลูกน้อยให้มีสมองที่ไว โดยเฉพาะในช่วงขวบปีแรกของชีวิตที่สมองมีพัฒนาการที่รวดเร็วมาก ซึ่งเป็นช่วงเวลาทองทางสมองของลูกน้อยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เช่น ยิ้ม หัวเราะ พูด กิน คลาน นั่ง เดิน วิ่ง เป็นต้น[1]

เด็กทุกคนจะต้องผ่านลำดับขั้นของพัฒนาการเท่า ๆ กัน แต่อาจใช้เวลาไม่เท่ากัน เด็กบางคนสามารถเรียนรู้ได้เร็วกว่า เพราะสมองเรียนรู้ได้ไวกว่า นั่นหมายความว่า “ยิ่งสมองมีความไวเท่าไหร่ เด็กยิ่งสามารถเรียนรู้ได้ไวมากขึ้นเท่านั้น

สฟิงโกไมอีลิน สร้างไมอีลิน เพิ่มความเร็วการส่งสัญญาณประสาทกว่า 100 เท่า!

ทารกแรกเกิดเป็นช่วงวัยที่ช่วงขวบปีแรกของชีวิต เป็นโอกาสทองที่คุณแม่ควรส่งเสริมในเกิดการพัฒนาสมอง ด้วยสฟิงโกไมอีลิน หนึ่งในสารอาหารที่พบในนมแม่ เพราะสมองของเด็กจะเกิดการเชื่อมต่อนับล้านเซลล์ในทุก ๆ วินาที[2]

การสร้างไมอีลิน มีส่วนสำคัญมากต่อกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก ในช่วงแรกของทารกแรกเกิด ใยประสาทส่วนใหญ่จะยังไม่มีไมอีลิน แต่จะค่อย ๆ สร้างขึ้นภายหลังตามช่วงอายุของเด็ก หากเด็กมีไมอีลินมากจะยิ่งช่วยให้สมองทำงานได้เร็วขึ้น (1)

ไมอีลิน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการสื่อสารของข้อมูลในเซลล์สมอง ทำให้การในการส่งสัญญาณของข้อมูลในระบบประสาทเคลื่อนที่ได้รวดเร็วหรือไกลมากขึ้นในเวลาเท่าเดิม เช่น ในเวลา 1/1,000 วินาที เซลล์สมองที่ไม่มีไมอีลินสามารถส่งสัญญาณได้ในระยะ 0.5 มม. ในขณะที่เซลล์สมองที่มีไมอีลินจะสามารถส่งสัญญาณได้ไกลถึง 50 มม. ซึ่งสามารถส่งสัญญาณได้รวดเร็วหรือไกลกว่า 100 เท่า[1] เพราะปลอกไมอีลินที่หุ้มเซลล์สมองจะช่วยป้องกันไม่ให้การทำงานของเซลล์สมองถูกรบกวน ทำให้สมองส่งผ่านการสื่อสารของข้อมูลได้รวดเร็ว สมองจึงเกิดการเรียนรู้ได้ไว

ไมอีลิน เพิ่มความได้เปรียบของพัฒนาการด้านสมอง ได้อย่างไร?

เมื่อสมองสามารถเรียนรู้ได้ไว ทำให้สมองเกิดการพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้และสามารถต่อยอดไปสู่ความสำเร็จของลูกน้อยในอนาคตได้[3-5] เช่น

  • ด้านความจำ ความจำส่งผลต่อการเรียนรู้ของเด็กเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะความจำที่นำกลับมาใช้งาน หรือที่เรียกว่า “working memory” เป็นความจำที่เกิดจากการนำความรู้ใหม่มาเก็บไว้ในคลังสมอง แล้วค่อยดึงข้อมูลนั้นออกมาใช้งานตามความต้องการ ซึ่งความจำในลักษณะนี้เป็นหนึ่งในพื้นฐานของสติปัญหาหรือ IQ และมีความสอดคล้องกับปริมาณของไมอีลินด้วย [4]
  • ด้านสติปัญญา เกิดขึ้นจากการที่สมองการเชื่อมต่อของวงจรประสาทหลาย ๆ ส่วนเข้าด้วยกัน เกิดเป็นร่างแหเครือข่ายที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดกระบวนการทางสติปัญญา ความคิด ความจำ วิเคราะห์ และวางแผนได้ ซึ่งความสามารถด้านสติปัญญามีความสัมพันธ์กับการสร้างไมอีลิน ที่ช่วยให้เกิดการเชื่อมโยงของระบบประสาทของสมองได้เพิ่มขึ้น ความสามารถด้านสติปัญญาจึงมีมากขึ้น [5]
  • ด้านภาษา ไมอีลิน ช่วยพัฒนาความสามารถด้านการใช้ภาษาได้รวดเร็ว จากการศึกษาพบว่า เด็กในช่วงวัยนี้จะมีการสร้างไมอีลินบริเวณสมองส่วนที่ควบคุมด้านภาษา ทำให้หนูน้อยมีพัฒนาการทางด้านภาษาที่รวดเร็วขึ้น สามารถเพิ่มพูนคลังคำศัพท์ที่จำเป็นต่อการพูดได้มากขึ้น[3] และถ้าลูกน้อยมีปริมาณไมอีลินในสมองมากเท่าไหร่ จะยิ่งทำให้ความสามารถในการเรียนรู้ จดจำภาษา และนำมาใช้ได้รวดเร็วยิ่งมากยิ่งขึ้น อยากสมองไว สร้างได้ ด้วยสฟิงโกไมอีลิน

ในช่วงเวลานี้ คุณแม่ต้องเพิ่มโอกาสในการสร้างพัฒนาการการเรียนรู้ให้ลูกน้อยให้สมวัย โดยเริ่มจากนมแม่ เพราะในนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด รวมถึงสฟิงโกไมอีลิน หนึ่งในสารอาหารที่ช่วยสร้างไมอีลินให้เพิ่มขึ้น ทำให้สมองลูกน้อยเกิดการเรียนรู้ที่ไวขึ้น

สมองไว สร้างได้ต่อเนื่องแม้เลยขวบปีแรก

แม้ว่าเวลาทองของลูกคือขวบปีแรก แต่สมองลูกน้อยหลังจาก 1 ขวบ ยังคงมีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะสมองของเด็กยังคงพัฒนาและเติบโตอย่างต่อเนื่อง การเสริมสร้างโภชนาการสำหรับวัยนี้นอกจากนมแล้ว ควรเสริมอาหารที่มีโภชนาการที่ดี อุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อการพัฒนาสมองของเด็ก เช่น ดีเอชเอ ลูทีน ที่พบได้จากไข่ หรือผลิตภัณฑ์แปรรูปจากนม เช่น ชีส

นอกจากโภชนาการที่ช่วยสร้างไมอีลินแล้ว การกระตุ้นพัฒนาการการเรียนรู้โดยการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมกับเด็ก จะช่วยสร้างไมอีลินเพิ่มได้เช่นเดียวกัน เพราะการเพิ่มข้อมูลเข้าไปในเซลล์สมองจะช่วยให้สมองทำงานได้ดี มีการสร้างไมอีลินให้เพิ่มมากขึ้น ทำให้สมองเรียนรู้ได้ไว ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ลูกน้อยประสบความสำเร็จในอนาคตได้

References:

  1. สมองเรียนรู้, นายแพทย์อัครภูมิ จารุภากร และพรพิไล เลิศวิชา, สถาบันส่งเสริมอัจริยภาพ และนวัตกรรมการเรียนรู้ (สสอน.)
  2. Center on the Developing Child at Harvard University, n.d., Brain Architecture, viewed 13 June 2022, <https://developingchild.harvard.edu/science/key-concepts/brain-architecture/>.
  3. Pujol J, et al. Neurology. 2006 Feb 14;66(3):339-43.
  4. Nagy Z, et al. Journal of Cognitive Neuroscience (2004) 16 (7): 1227–1233.
  5. Schmithorst VJ, et al. Human Brain Mapping 26:139 –147(2005)

 


แชร์ :

You may also like