HomeBrand Move !!หมดยุค Beauty for All เปิดวิชั่น CEO ใหม่ “ลอรีอัล”สู่การเป็น Unicornus Rex สู้แบบทีเร็กซ์-โตแบบยูนิคอร์น

หมดยุค Beauty for All เปิดวิชั่น CEO ใหม่ “ลอรีอัล”สู่การเป็น Unicornus Rex สู้แบบทีเร็กซ์-โตแบบยูนิคอร์น

แชร์ :

L’Oreal

“ตลาดความงาม” คือหนึ่งในอุตสาหกรรมที่อยู่คู่โลกมานานทุกยุคสมัย และเช่นเดียวกับทุกอุตสาหกรรมเมื่อโลกเปลี่ยนแปลงไป ค่านิยมความงามย่อมเปลี่ยนไปตามกาลเวลา ที่ไม่ใช่แค่เรื่องความสวยเพียงอย่างเดียวหากแต่ยังหมายถึงความจำเป็นในการแสดงออกถึงตัวตน บุคลิกภาพ ที่สะท้อนตัวตนของแต่ละบุคคลออกได้เป็นอย่างดี

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

“ลอรีอัล” (L’Oreal ) คืออีกหนึ่งยักษ์ใหญ่ความงามระดับโลกจากฝรั่งเศสที่มีอายุกว่า 114 ปี  มีการทำตลาดไปแล้วกว่า 84 ประเทศทั่วโลก โดยในตลาดไทยเข้ามาทำตลาดแล้วกว่า 23 ปีมีผลิตภัณฑ์หลักที่ทำตลาดในไทยราว 15 แบรนด์หลัก จากแบรนด์ทั้งหมดในเครือรวม 36 แบรนด์ ที่ยังคงเดินหน้าทำตลาดพร้อมปรับเปลี่ยนแผนงานเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกอยู่ตลอดเวลา

หลัง สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา “ลอรีอัล” มีความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญในไทย นั่นคือการเปลี่ยนแปลงแม่ทัพคนใหม่ไปยัง “คุณแพทริค จีโร” เข้ามารับตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลอรีอัล ประเทศไทย พม่า ลาว และกัมพูชา ที่มาพร้อมนโยบายใหม่ เพื่อนำทัพแบรนด์ในเครือให้ประสบผลสำเร็จต่อไปในอนาคต

คุณแพทริค จีโร เปิดเผยถึงวิชั่นหลังการเข้ามากุมบังเหียน ลอรีอัล ประจำประเทศไทย พม่า ลาว และกัมพูชา ในครั้งนี้ว่า “ตลาดความงามโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะหลังการระบาดของโควิด-19 ผ่านพ้นไป ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในส่วนของ ผู้บริโภคเมืองไทยมีความรู้ และคาดหวังมากขึ้นในการซื้อผลิตภัณฑ์ความงามแต่ละอย่าง หนึ่งในความต้องการคือการ อยากได้ของถูกราคาดี  ส่งผลให้รูปแบบและแคมเปญที่แต่ละแบรนด์ทำตลาดในช่วงที่ผ่านมา มีการแข่งขันที่รุนแรง ฟาดฟันกันด้วยแคมเปญ หรือถ้าจะพูดให้เห็นภาพก็เปรียบเสมือนการแข่งขันกีฬาเพื่อชิงเหรียญทอง คุณจะต้องหามาร์เก็ตติ้งที่เหมาะสม ไม่ใช่จะเอาผลิตภัณฑ์อะไรมาขายก็ได้”

 

ชนชั้นกลาง พลังขับเคลื่อนใหม่ที่ต้องจับตามองแวดวงความงาม

ท่ามกลางการเติบโตของตลาดความที่กลับมาอีกเติบโตอีกครั้งหลังการระบาดของโควิด-19  อุตสาหกรรมความงามยังมีการเติบโตจากปัจจัยหลัก 2 ประการที่เข้ามาเป็นตัวหลักในการผลักดันตลาดให้เติบโต ประกอบไปด้วย 

ชนชั้นกลาง : กลายมาเป็นปัจจัยหลักในการผลักดันให้อุตสาหกรรมความงามเติบโต ตลาดความงามเติบโตตามชนชั้นกลางของโลก เฉลี่ยเพิ่ม 800 ล้านคนในโลก ซึ่งคนกลุ่มนี้ถือเป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงในตลาดความงาม

ความกระหายของผู้บริโภค : ที่มองหาคุณภาพ ประสิทธิภาพ ที่มีส่วนช่วยบำรุง ลบริ้วรอย โดยผู้บริโภคพร้อมที่จะจ่ายเพิ่มมากขึ้น ในสิ่งที่ต้องการหากมองว่าคุ้มค่า คุ้มราคา

สอดคล้องกับตลาดในไทย ที่พบว่า มีจำนวนชนชั้นกลางเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องราว 7 ล้านคนในช่วงปีที่ผ่านมา ขณะที่พฤติกรรมคนกลุ่มนี้มีกำลังซื้อ มีจำนวนมากขึ้น นั่นทำให้ตลาดความงามในประเทศไทยไม่ใช่ตลาดเกิดใหม่แล้ว หากแต่เป็นตลาดที่พัฒนาไปอีกขั้น โดยผู้บริโภคมองหาคุณภาพและความคุ้มค่ามากขึ้น

นั่นทำให้ “ลอรีอัล” ต้องมีการปรับแผนงานให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะชนชั้นกลางที่มีมากขึ้น หลังปีที่ผ่านมา ลอรีอัล กรุ๊ป เติบโตสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ ที่ 10.9% คิดเป็นมูลค่า 3.83 หมื่นล้านยูโร และทำยอดขายทั่วโลกได้สูงถึง 7,000 ล้านชิ้น และด้านธุรกิจอีคอมเมิร์ซของลอรีอัลขยายตัว 8.9% ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 28% โดยมีแบรนด์ระดับ Millionaire ลอรีอัลมี 11 แบรนด์ขายได้มากกว่าระดับหลักพันล้านยูโร

 

Unicornus Rex

 

 “Unicornus Rex” นิยามใหม่ของ “รอลีอัล” เมื่อองค์กรต้องปรับรับความเปลี่ยนแปลง

สำหรับแผนงานปี 2023 ภายใต้โลกยุควูก้า (VUCA World) ที่มีความผันผวนสูงหลังโควิด “คุณแพทริค” บอกว่าเป็นการเปิดประตูสู่ยุคใหม่ ความหลากหลายทั้งสิ่งแวดล้อมและคนที่เปลี่ยนแปลงไป มีเป้าหมายในชีวิตมากขึ้น ดังนั้น “ลอรีอัล” ต้องนิยามตัวเองใหม่ สู่การเป็น “Unicornus Rex” หรือการรุกตลาดความงามที่ต้อง “สู้แบบทีเร็กซ์ และโตแบบยูนิคอร์น” เป็นการมาจาก “ยูนิคอร์น” คือ การเป็นองค์กรที่มีการเติบโตในแบบยูนิคอร์น สามารถสร้างรายได้เติบโตทะยานต่อเนื่อง ผสมผสานเข้ากับคำว่า “ทีเร็กซ์” หรือการเป็นองค์กรกว่า 114 ปีที่ “เก่าแต่ไม่แก่งอม พร้อมพุ่งไปข้างหน้า เปิดประตูรับโอกาสใหม่ๆ” 

อีกหนึ่งท่าไม่ตายของการต่อสู้ในอุตสาหกรรมความงามของ “ลอรีอัล” ในครั้งนี้คือการให้ความสำคัญในการเรื่องข้อมูลเชิงเทคนิค หรือการลงทุนเรื่อง AI และ DATA ที่เพิ่มสูงขึ้น รองรับการเปลี่ยนแปลงของภาพอุตสาหกรรมยุคใหม่ที่มีความ Technical ในอุตสาหกรรมความงามมากขึ้น เพื่อการเป็นย้ำความเป็นผู้นำด้านบิวตี้เทคในตลาดโลก

 

“ใครจะคิดว่าอุตสาหกรรมความงามจะใช้ DATA เยอะขนาดนี้ ทำให้ที่ผ่านมาเราปรับตัวเองด้วยการไปเทรนด์เรื่อง DATA และ AI มากขึ้น ต้องมีสมาธิ ต้องมีสติ และใช้แรงมากขึ้น ขณะที่พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ตอนนี้เรามองว่าหมดยุค Beauty for All แต่เป็นการก้าวสู่ยุค Beauty for EACH หรือความงามที่เหมาะสมในแต่ละคน ที่ต้องแตกต่างและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และต้องปรับตัวเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนของของพฤติกรรมผู้บริโภคและตลาด”

 

นอกจากนี้ลอรีอัลหันมาทุ่มงบประมาณด้านการพัฒนาสินค้ามากขึ้น โดยมากกว่า 3% ของงบประมาณรอลีอัล ลงทุนเรื่อง R&D และการพัฒนานวัตกรรมเครื่องสำอาง มี 561 รายการที่จดสิทธิบัตรเพื่อรอการทำตลาดในแผนตามช่วงระยะเวลาที่กำหนด

 

คุณแพทริค จีโร2

 

ผลักดัน 2 กลุ่มสินค้าสู่เบอร์ 1 ตลาดความงามในทุกมิติ

ขณะที่ตลาดความงามไทยปีที่ผ่านมามีมูลค่า 1.49 แสนล้านบาท เติบโต 9.5% แบ่งเป็น ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว (skincare) 60% ผลิตภัณฑ์ผม (hair) 20% เครื่องสำอาง (makeup) 14% น้ำหอม (fragrance) 6% โดยตลาดผลิตภัณฑ์ดูแลผิว มีมูลค่ารวม 8.9 หมื่นล้านบาท เติบโต 11% ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง 2.08 หมื่นล้านบาท เติบโต 3% ผลิตภัณฑ์สำหรับเส้นผม มูลค่า 3 หมื่นล้านบาท เติบโต 10.5% และ ผลิตภัณฑ์น้ำหอม มูลค่า 9.5 พันล้านบาท เติบโต 11%

การเติบโตดังกล่าวยังทำให้บริษัทแม่มองประเทศไทยเป็นตลาดหลักและเป็นตลาดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ด้วยมูลค่าตลาดความงามสูงเป็นลำดับต้นๆ ในกลุ่มตลาด SAPMENA (เอเชียแปซิฟิกใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ) ทำให้ทางค่ายมองเห็นความสำคัญของการทำตลาด โดยมีเป้าหมายในไทยปีนี้คือจะผลักดันกลุ่มสินค้าเวชสำอาง และน้ำหอม ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำอันดับ 1 อย่างถาวรให้ได้ เนื่องจากมองว่าเป็นตลาดที่เติบโตดีมากหลังจากเกิดโควิด จากปัจจุบันที่ “ลอรีอัล” เป็นผู้นำในตลาดความงามไทยอยู่หลายเซกเมนต์ ไม่ว่าจะเป็น สกินแคร์ เมคอัพ เป็นต้น

“ตลาดเวชสำอางค์คือหนึ่งการเติบโตที่มีความต้องการสูงเติบโตตลอดช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เป้าหมายต้องการเป็นเบอร์ 1 อุตสาหกรรมความงามในไทยแบบครบทุกเซกเมนต์”

ทั้งนี้ “ลอรีอัล กรุ๊ป” ในยุคของ “คุณแพทริค จีโร”  ยังมองเป้าหมายไว้ในใจในอนาคตว่า อยากนำแบรนด์ที่มีอยู่ในพอร์ตเข้ามาทำตลาดมากขึ้น ส่วนจะเป็นแบรนด์ไหนนั้น ต้องดูแนวโน้มอุตสาหกรรม พฤติกรรมผู้บริโภค ไปจนถึงความต้องการจองลูกค้าพร้อมหรือยัง ว่าลูกค้ารับได้หรือไม่  โดยมีความเป็นไปได้ทั้ง กลุ่มเมคอัพ กับแบรนด์ 3CE หลังเข้าซื้อหุ้นบริษัท นันดะ จำกัด (Nanda Co., Ltd.) ไปเมื่อ 4 ปีที่ผ่านมา โดยปัจจุบันในไทยเป็นการขายผ่านดิสบิวเตอร์  หรือจะเป็นเครื่องสำอาง Aesop หลังซื้อกิจการ Aesop แบรนด์เครื่องสำอางหรูจากออสเตรเลีย มูลค่ากิจการ 2,530 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 86,500 ล้านบาท หากเสร็จสิ้นกระบวนการเสร็จ พร้อมนำมาจำหน่ายทันที


แชร์ :

You may also like