HomeSponsored“อมรินทร์” ประกาศรีแบรนด์รอบ 40 ปี จัดทัพครั้งใหญ่ 5 ธุรกิจ สู่ การเป็นมีเดียครบวงจร

“อมรินทร์” ประกาศรีแบรนด์รอบ 40 ปี จัดทัพครั้งใหญ่ 5 ธุรกิจ สู่ การเป็นมีเดียครบวงจร

แชร์ :

นับจากจุดเริ่มต้นกองบรรณาธิการเล็ก ๆ ที่ คุณชูเกียรติ  อุทกะพันธุ์ ได้ก่อตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด วารสารบ้านและสวน เพื่อผลิตนิตยสาร “บ้านและสวน” ฉบับแรก ออกวางจำหน่ายในเดือนกันยายน 2519

หลังจากนั้น “อมรินทร์” ได้เปิดธุรกิจใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นโรงพิมพ์ สำนักพิมพ์  ในปี 2535 ได้นำบริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ขยายธุรกิจเปิด “ร้านนายอินทร์” เข้าสู่ธุรกิจออนไลน์ มีเดีย รายแรก ๆ ของธุรกิจสื่อ ในปี 2543 เริ่มจัดงานบ้านและสวนแฟร์ครั้งแรก ปี 2557 กับการลงทุนครั้งสำคัญในธุรกิจทีวีดิจิทัล Amarin TV 34HD

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ตลอดเส้นทางกว่า 40 ปี  “อมรินทร์” ขยายการลงทุนในหลากหลายธุรกิจ ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงตัวเองมาตลอด ปัจจุบันก้าวสู่การเป็น “มีเดียครบวงจร” (Omni-media, Omni-channel) ประกอบด้วย On Print, Online, On Air, On Ground และ On Shop โดยแต่ละแพลตฟอร์มยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีเป้าหมายที่จะสร้างสรรค์ประสบการณ์ที่มีคุณค่าทุกช่วงเวลาของชีวิตให้กับผู้คนและสังคม

กว่า 4  ทศวรรษจากธุรกิจสิ่งพิมพ์ วันนี้บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) ธุรกิจที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) กว่า 5,790 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 23 พฤษภาคม 2566) ได้เปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่เป็น บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน) หรือ Amarin Corporations เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเป็นมากกว่าธุรกิจด้านโรงพิมพ์ หรือธุรกิจด้านสำนักพิมพ์

คุณระริน อุทกะพันธุ์ ปัญจรุ่งโรจน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าปัจจุบันกลุ่มอมรินทร์ ขยายธุรกิจที่มีความหลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจด้านออนไลน์ อีเวนต์  สื่อดิจิทัล และในอนาคตยังมองไปถึงโอกาสในการขยายกิจการในด้านอื่น ๆ ที่จะทำให้อมรินทร์เติบโตอย่างยั่งยืน

การเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่เป็น “อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์” เพื่อสะท้อนถึงทิศทางการเติบโตของธุรกิจในอนาคต ที่จะก้าวไปสู่ธุรกิจใหม่ ๆ ที่ไม่ได้หยุดอยู่แค่ธุรกิจสิ่งพิมพ์

#ทำความรู้จัก 5 ธุรกิจหลักของกลุ่ม ‘อมรินทร์’

“อมรินทร์” ที่เริ่มต้นธุรกิจจากกลุ่มสิ่งพิมพ์ ได้พาองค์กรฝ่าคลื่นการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล ดิสรัปชั่น มาด้วยกลยุทธ์การเป็นมีเดียครบวงจร หรือ Omni-media, Omni-channel โดยผสานมีเดียในทุกแพลตฟอร์มเพื่อให้บริการแก่ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

โครงสร้างธุรกิจและแนวทางการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทอมรินทร์ในปี 2566 มี 5 ธุรกิจหลัก ได้แก่ Printing & Packaging Business, Publishing Business, Media & Event Business, Amarin Book Center, Amarin Television และ 2 บริษัทร่วมทุน ได้แก่ บริษัท คาโดคาวะ อมรินทร์ จำกัด และบริษัท เด็กดี อินเตอร์แอคทีฟ จำกัด

1. Amarin Printing & Packaging Business : ธุรกิจสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์

สำหรับธุรกิจโรงพิมพ์ ให้บริการจัดพิมพ์และจัดจำหน่ายหนังสือใหญ่ที่สุด ตั้งแต่การพิมพ์หนังสือ 1 เล่มขึ้นไปจนถึงระดับล้านเล่ม ให้บริการตั้งแต่การช่วยครีเอตงานไปถึงผลิตสิ่งพิมพ์ ไม่ใช่แค่งานพิมพ์อย่างเดียว แต่ให้บริการธุรกิจด้านบรรจุภัณฑ์ (Packaging) และพร้อมก้าวไปสู่แพลตฟอร์มดิจิทัลในรูปแบบอื่น ๆ ด้วย

ปีนี้ธุรกิจ Printing & Packaging ได้ออกแบบแบรนด์สัญลักษณ์ AM Green ซึ่งเป็นการพิมพ์ที่ระบุอยู่ในขั้นตอนเพื่อแจ้งแก่ลูกค้าว่าผลิตภัณฑ์นี้ผลิตจากวัตถุดิบและกระบวนการผลิตที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากลว่าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับหลักการความยั่งยืน (Sustainability) ที่ทุกองค์กรต้องร่วมมือกันทำให้โลกใบนี้น่าอยู่อย่างยั่งยืน

2. Amarin Publishing : ธุรกิจสำนักพิมพ์

กลุ่มธุรกิจหนังสือเล่มกับกลยุทธ์ On Print มีนโยบายทำ Multi-platform และ Multicategories ที่มากที่สุด  สำหรับ Multi-platform นี้ ลูกค้าสามารถเลือกรูปแบบการอ่านได้หลากหลายมิติ ไม่ว่าเป็นหนังสือ สื่อในเชิงดิจิทัลไปจนถึงออดิโอ และขยาย Category ให้ครอบคลุมตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้ใหญ่

ปีนี้มีเป้าหมายเพิ่มจำนวนการผลิตหนังสือเล่มประมาณ 500 ปก และหนังสือดิจิทัลประมาณ 770 เรื่องต่อปี ซึ่งจะทำให้มีแหล่งรายได้มากขึ้น จากเดิมที่มีแต่หนังสืออยู่ที่ 90-100% ปีนี้คาดว่าสัดส่วนรายได้จากดิจิทัล 25% ขณะที่หนังสือเล่มยังคงเติบโตต่อเนื่องเช่นกัน โดยจะขยายทั้งแพลตฟอร์มและหนังสือ เพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าในตลาดทั้งหมด

3. Amarin Media & Event : ธุรกิจมีเดียแอนด์อีเวนต์

กลุ่ม Amarin Media & Event เป็นธุรกิจทำงานร่วมกับสื่อนิตยสาร ที่อมรินทร์ยังคงมีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงสุด  สื่อออนไลน์ ทั้งเว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย รวมไปถึงธุรกิจจัดงานแฟร์และอีเวนต์ ทั้งหมดนี้เป็นการให้บริการที่ช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ภายใต้กลยุทธ์ On Ground อมรินทร์เป็นเจ้าของงานแฟร์ระดับประเทศ ไม่ว่าจะเป็น บ้านและสวนแฟร์, อมรินทร์ เบบี้แอนด์คิดส์ แฟร์, กินดีอยู่ดี, สุดสัปดาห์ ช้อปปิ้งมาร์เก็ต และอีกหลากหลายงานอีเวนต์รวมกว่า 17 แฟร์ต่อปี ที่มีผู้เข้าชมงานกว่า 3 ล้านคนต่อปี มีเม็ดเงินสะพัดกว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี

ปีนี้มีการขยายการจัดงานแฟร์เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งงาน ได้แก่ Amarin Expo จัดงานระหว่างวันที่ 24-28 พฤษภาคม 2566  ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เป็นงานแฟร์แห่งความสุข ช็อปสนุกทั้งครอบครัว โดยภายในงานจะมีทั้งสินค้าเกี่ยวกับบ้าน อาหาร สุขภาพ แม่และเด็ก ท่องเที่ยว และหนังสือรวมอยู่ในงานเดียว นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมไฮไลต์จากทุกแบรนด์ในเครืออมรินทร์ รวมทั้ง Amarin Television ไปร่วมแสดงในงานนี้ด้วย

สำหรับงานแฟร์ในปี 2566 ยังคงจัดต่อเนื่อง และมีการขยายพื้นที่หรือเพิ่มจำนวนบูธให้เหมาะสมกับแต่ละงาน

ส่วนงานแฟร์ในปี 2567 นอกจากงานแฟร์ที่จัดเป็นประจำแล้ว ก็จะเริ่มต้นจัดงานบ้านและสวน Pets Fair เป็นงานใหม่อีกงาน สอดรับเทรนด์ธุรกิจสัตว์เลี้ยงที่เติบโตทุกปี และจากการร่วมทุนกับ Dek-D ก็จะมีการขยายงาน TCAS ของ Dek-D ร่วมกับ National Geographic Thailand ให้รองรับผู้มาร่วมงานได้มากขึ้น  รวมทั้งขยายงาน Amarin Expo ไปจัดตามส่วนภูมิภาค เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น หาดใหญ่

4. Amarin Book Center : ธุรกิจจัดจำหน่ายสื่อสิ่งพิมพ์ และ Digital Content

ธุรกิจที่เกี่ยวกับ Commerce คือ On Shop ภายใต้การบริหารของ บริษัท อมรินทร์บุ๊ค เซ็นเตอร์ จำกัด ปัจจุบันมีทั้งธุรกิจค้าส่งที่ครอบคลุมจุดจัดจำหน่ายกว่า 700 จุดทั่วประเทศ และธุรกิจค้าปลีกอย่าง “ร้านนายอินทร์”  ปัจจุบันมี 111 สาขา  รวมทั้งแพลตฟอร์มดิจิทัล สามารถรองรับ Visitors ได้ประมาณ 26 ล้านคนต่อปี และมีแผนจะขยายอย่างต่อเนื่อง เพราะในแต่ละปีสามารถรองรับคนจากทางออนไลน์ได้มากขึ้น ด้วยแอปพลิเคชัน เว็บไซต์ และแพลตฟอร์มใหม่อย่าง Mareads ซึ่งเป็นบริการเรื่อง Chapters Read ทั้งหมดนี้เป็นการขยาย Book Distribution Network เพื่อรองรับการเข้าถึงลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5. Amarin Television : ธุรกิจทีวีดิจิทัล

ธุรกิจทีวีดิจิทัล ยังเป็นสื่อหลักที่ครองเม็ดเงินโฆษณาสูงสุดและเข้าถึงครัวเรือนไทยทั่วประเทศ โดยช่อง Amarin TV 34HD กับกลยุทธ์ On Air ยังคงรักษาเรตติ้งอยู่ในอันดับ 7 ภายใต้แนวคิด Real Life Entertainment มีการเติบโตอย่างมากโดยเฉพาะในส่วนแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งต่อจากนี้จะเป็นทั้งธุรกิจทีวีและออนไลน์ ในการให้บริการการขายโฆษณา และนำเสนอคอนเทนต์ทั้งรายการข่าว วาไรตี้ ละคร ให้ผู้ชมสามารถดูทีวีได้ทุกที่ทุกเวลา โดยพัฒนาโปรแกรมใหม่ ๆ อยู่ตลอด

ปัจจุบัน Amarin TV 34HD สามารถเข้าถึงผู้ชมทั่วประเทศเฉลี่ย 10 ล้านคนต่อวัน และมีผู้ติดตามในสื่ออนไลน์ทุกแพลตฟอร์มมากกว่า 42 ล้านคน

นอกจากนี้กลุ่มอมรินทร์ มีกิจการร่วมทุน 2 บริษัท ได้แก่ บริษัท คาโดคาวะ อมรินทร์ จำกัด  ซึ่งเป็นผู้นำในเรื่อง Light Novel และ Manga และบริษัท เด็กดี อินเตอร์ แอคทีฟ จำกัด (Dek-D) ผู้นำ Education Platform ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาอันดับ 1 ของประเทศไทย มีการจัดสนามสอบที่ใหญ่ที่สุด มีเว็บไซต์ให้บริการเด็ก ๆ เข้ามาพูดคุยอยู่ที่ประมาณเดือนละเกือบ 5 ล้านคน และเข้าถึงผู้คนโดยรวมประมาณ 15 ล้านคนต่อเดือน  และยังมีแพลตฟอร์มนิยายออนไลน์ ซึ่งมีจำนวนนิยายมากที่สุดร่วม 2 ล้านเล่ม และมีผู้อ่านต่อวันเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นการขยายฐานกลุ่มวัยรุ่นให้กับอมรินทร์

#เดินหน้า ESG เปิดตัวโครงการ ‘อมรินทร์อาสา’

สิ่งที่อมรินทร์ ทำควบคู่กับการดำเนินธุรกิจมาตลอดกว่า 40 ปี ตามพันธกิจขององค์กร “เราทำงานเพื่อความสุขและความรุ่งโรจน์ของสังคม” คือการให้ความสำคัญและใส่ใจทั้งเรื่องของสิ่งแวดล้อม สังคม และกำกับดูแลกิจการที่ดี รวมทั้งการสนับสนุนเรื่อง ESG มากขึ้น ด้วยโปรแกรมหลากหลายเพื่อจะตอบโจทย์ทั้งเรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับกิจการ เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน

ในปี 2566 ได้ติดตั้งระบบหลังคาโซลาร์เซลล์ ทั้งที่โรงพิมพ์ สำนักพิมพ์ และบริษัท อมรินทร์ บุ๊ค เซ็นเตอร์ จำกัด ซึ่งจะสามารถใช้งานได้ตั้งแต่กลางปีนี้เป็นต้นไป ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน และช่วยสิ่งแวดล้อมด้วย

โครงการ Amarin Care โปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับพนักงานโดยตรง เพื่อให้การดูแลและสนับสนุนให้พนักงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีและเติบโตไปพร้อมกับองค์กร การจัดประกวดโครงการ Amarin Innovation ซึ่งจัดต่อเนื่องมาหลายปี โดยเปิดโอกาสให้พนักงานได้ส่งผลงานเข้าประกวด เพื่อส่งเสริมให้พนักงานได้ใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ซึ่งจะเป็นการต่อยอดธุรกิจของกลุ่ม Amarin Group ด้วย

ในปีนี้ได้เปิดตัวโครงการ “อมรินทร์ อาสา” 2 โครงการแรก คือ โครงการ “หนึ่งหัวใจ สู่ชีวิตใหม่” ซึ่งเป็นความร่วมมือกับมูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี, บริษัท ซีเจเวิร์ค จำกัด (CJ WORK) และค่ายเพลง  WHAT THE DUCK ในโครงการ “หนึ่งหัวใจ สู่ชีวิตใหม่” ระดมทุน 50 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือเด็กที่ป่วยด้วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดขั้นวิกฤต ผ่านรูปแบบมิวสิคแคมเปญ และโครงการ “อ่านพลิกชีวิต” ร่วมบริจาคหนังสือจำนวน 150,000 เล่ม ให้ห้องสมุดโรงเรียนกว่า 1,000 แห่งทั่วประเทศ

ภายใต้อาณาจักร Amarin Corporations ที่เป็นมากกว่าธุรกิจสิ่งพิมพ์กับ 5 ธุรกิจการเป็นมีเดียครบวงจร Omni-media, Omni-channel  ในปี 2566-2568 ได้วางงบลงทุนรวม 2,100 ล้านบาท ด้านคอนเทนต์หนังสือ, ดิจิทัล, โทรทัศน์ ทั้งรูปแบบการซื้อลิขสิทธิ์ต่างประเทศ และสร้าง Local Content เพื่อพัฒนา Soft Power ให้กับประเทศไทย การลงทุนด้าน Technology เช่น AI, ML เพื่อต่อยอดธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งมองหา New Opportunities ความร่วมมือจากคู่ค้า เพื่อสร้างการเติบโตให้กับ Amarin Eco-system ทุกกลุ่ม


แชร์ :

You may also like