HomeInsightสรุป 20 เทรนด์โลก จากเวที Growth Summit 2023  การเติบโตในโลกที่แตกแยก 

สรุป 20 เทรนด์โลก จากเวที Growth Summit 2023  การเติบโตในโลกที่แตกแยก 

แชร์ :

คุณอาร์ม ปิยะชาติ อิศรภักดี

งาน Growth Summit 2023 ที่จัดขึ้นโดย World Economic Forum ถือเป็นงานใหญ่อันดับ 3 ของงานที่ WEF จัดทั้งหมด (ต่อจาก Davos และ Davos ฤดูร้อนที่จีน) ผู้ร่วมงานมีทั้งระดับรัฐมนตรีของประเทศต่างๆ รวมถึงเบอร์หนึ่งองค์กรระดับโลกใน Forbes 500 มาร่วมงานคับคั่ง

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ไฮไลต์ในงานนี้คือการเปิดตัว Future of Jobs และ Chief Economists Outlook พูดให้ง่ายคือ เศรษฐกิจโลกจะเป็นอย่างไร และคน (งาน) แบบไหนที่จะขับเคลื่อน

คุณอาร์ม ปิยะชาติ อิศรภักดี ซีอีโอ บริษัท แบรนดิ คอร์ปอเรชัน ที่ปรึกษากลยุทธ์ วิจัยและพัฒนาแบรนด์ ที่เข้าร่วมงาน Growth Summit 2023 สรุปสาระสำคัญภายในงานเป็น 20 เทรนด์โลก การเติบโตในโลกที่แตกแยก Growth in Fragmented World ดังนี้

1. ปัจจัยใหญ่ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทั่วโลก คือ ความแตกแยกของสังคมโลก ทำให้ความเข้าใจ (understanding) รูปแบบ (pattern) และความเชี่ยวชาญเดิม (expertise) ไม่สามารถใช้ได้

2. ผลสำรวจ CEOs ของโลกเริ่มสะท้อนให้เห็นว่า พวกเขาสนใจ GDP Growth น้อยลงและโฟกัสที่ กระจายของรายได้ (Equitable Wealth Distribution) กับความยั่งยืนของเศรษฐกิจ มากขึ้น

3. ปรากฏการณ์ลดค่าของดอลลาร์ (De-Dollarization) เริ่มต้นมาจากปริมาณการค้าและซื้อขายจำนวนมหาศาลเกิดขึ้นในฝั่งตะวันออก แต่เรายังเห็นภาพไม่ชัดว่า จะเกิดการที่ดอลลาร์ถูกสกุลเงินอื่นแทนที่หรือไม่

4. AI จะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อตลาดงานแน่นอน โดยเฉพาะภาคบริการ แต่ผลกระทบดังกล่าวอาจะเป็นได้ทั้งบวกและลบ เช่น การที่ AI แทนที่คนในงานบางงาน หรือเข้ามาช่วยให้คน ทำงานบางอย่างได้ดียิ่งขึ้น

5. โลกได้เข้าสู่ยุคเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยสูง ซึ่งคาดว่าจะกินเวลายาวนาน สิ่งนี้ทำให้ภาคธุรกิจต้องมีการปรับรูปแบบโมเดลธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโมเดลทางการเงิน ซึ่งยังไม่มีใครตอบได้ว่าสูตรสำเร็จคืออะไร

6. ยุคเงินเฟ้อได้ส่งผลกระทบมาแล้ว 3 คลื่นได้แก่ ผลกระทบที่มีต่อ durable goods ราคาพลังงาน และสุดท้ายเริ่มกระจายเข้าสู่สินค้ากลุ่มอื่นอื่นจนทำให้ margin ของแต่ละธุรกิจอยู่ในรูปแบบที่ไม่ปกติ

7. อุตสาหกรรมใหม่ นวัตกรรม เทคโนโลยีพลังงานสะอาด และการค้าภาคบริการรวมไปถึงดิจิทัล ทั้งหมดนี้เป็น Drivers สำคัญต่อการเติบโตในอนาคตและการออกแบบนโยบายห่วงโซ่อุปทานของแต่ละอุตสาหกรรม

8. การออกแบบนโยบายอุตสาหกรรมที่จะสร้างความได้เปรียบให้กับประเทศรวมไปถึงความสามารถในการแข่งขัน คือ นโยบายที่สร้างสภาพแวดล้อมปลอดภัยและยืดหยุ่นให้กับภาคอุตสาหกรรมที่เข้ามาลงทุน

9. เราไม่มีทางบรรลุเป้าหมาย Climate Combating ได้เลยหากปราศจากนวัตกรรมที่ใช้ได้ในระดับสากล ความร่วมมือสากลในทุกภาคส่วน และการสนธิงบประมาณเพื่อสนับสนุนพันธกิจเหล่านี้ (blended financing)

10. การบริหารจัดการ Climate จำเป็นต้องมีกลยุทธ์ที่ align กันตั้งแต่ Corporate Strategy National Strategy และ Global Strategy and Goals เพราะเรื่องนี้ นับเป็นปัญหาสากลที่ไม่มีใครแก้คนเดียวได้

11. การเติบโตของเศรษฐกิจโลกในระยะยาวขึ้นอยู่กับ ความสามารถในการผลิต (productivity) ซึ่งเป็นปัญหาที่โลกกำลังเผชิญอยู่ ในส่วนนี้ AI และ Automation จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหา

12. มีความพยายามปรับโครงสร้างเศรษฐกิจโลกให้ก้าวข้ามจาก efficiency มาสู่ resilience ซึ่งจะทำเช่นนั้นได้ เราจำเป็นที่จะต้องสร้างความร่วมมือในระดับสากลมากกว่าแค่การโฟกัสเพียงตัวเองหรือชาตินิยม

13. งานแห่งอนาคต (Future of Jobs) ถูกกำหนดโดยสามปัจจัยหลัก ได้แก่ ปัจจัยบวกจากเศรษฐกิจสีเขียว ปัจจัยลบจากภาวะเศรษฐกิจโลก และภาวะที่ยังไม่ชัดเจน (ว่าบวกหรือลบ) จากเทคโนโลยี

14. ความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการวิเคราะห์กลายเป็น Skill ที่มีความสำคัญมากที่สุดในทุกตำแหน่งงาน นั่นทำให้ Reskilling เรื่องนี้ จะเป็นตัวแปรของความสามารถในการแข่งขันแห่งอนาคต

15. การเคลื่อนย้ายของคนและแรงงาน (Migrations) ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น การแข่งขันกันเพื่อแย่ง talents จะกลายเป็นสมรภูมิใหม่ของเศรษฐกิจโลก รัฐบาลจึงต้องออกมาตรการเพื่อจูงใจ talents เหล่านั้น

16. ตัวเลขสถิติทางเศรษฐกิจต่างๆ เริ่มบอกอะไรเราได้น้อยลง รัฐบาลจึงควรให้ความสำคัญกับประสบการณ์และการรับรู้ของประชาชนควบคู่กันไป เพื่อร่วมกับเอกชนในการตอบสนองให้ได้ดียิ่งขึ้น

17. ความเท่าเทียมไม่ใช่แค่เรื่องของรายได้อย่างเดียวเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของการเข้าถึงสิ่งที่จำเป็นหรือสิ่งที่เราต้องใช้ในทุกวัน ซึ่งเป็นการแก้แนวกว้าง จึงมีคำศัพท์เกิดใหม่ที่เรียกว่า Inequity of Inclusion

18. ความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทขนาดใหญ่และ SME เป็นที่เรื่องจำเป็น ซึ่งความร่วมมือจะเกิดขึ้นได้ แรงบันดาลใจหรือสิ่งจูงใจในการลงมือทำต้องชัด และต้องมี Platform ที่ใช้ในการเชื่อมโยงเข้ามาช่วยสนับสนุน

19. ในขณะที่คนเกิดก็น้อย คนตายก็น้อย รัฐ เอกชน และประชาชน จำเป็นที่จะต้องร่วมกันเพื่อมองภาพตลาดแรงงานและการเกษียณอายุใหม่ มิฉะนั้น เราจะจบลงที่ทุกคนเกษียณแบบยากจน และไม่มีคนทำงาน

20. การเติบโต (Growth) และความสามารถในการกลับมา (Resilience) เปรียบเสมือนเหรียญสองด้านของกันและกัน ความสามารถในการเติบโต บวกกับการรักษาสิ่งเดิมไว้ได้ภายใต้ความเสี่ยงใหม่ คือ Resilience โดยธรรมชาติ

“ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่สรุปจากเวที Growth Summit 2023 บวกกับมุมมองส่วนตัวในอีกหลายเวที อาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่มันเป็นการตอกย้ำว่า เราไม่ได้อยู่คนเดียวในโลก อันไหนเป็นปัญหาสากลก็ต้องช่วยกันแก้ อันไหนเป็นปัญหาบ้านเราก็ต้องรับผิดชอบให้ได้” คุณอาร์ม สรุป

ที่มา : https://web.facebook.com/photo/?fbid=6269159653200176&set=a.214797835303085


แชร์ :

You may also like