การออกมาประกาศดึง “ลิซ่า BLACKPINK” เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ของทรูมันนี่ (TrueMoney) แอปพลิเคชันทางการเงินในเครือแอสเซนด์ มันนี่ เมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา พร้อมประกาศเป้าใหญ่ จะเป็นซูเปอร์แอปด้านการเงินที่มียอดผู้ใช้งานในไทยแตะ 35 ล้านบัญชีภายในสิ้นปี 2023 กำลังนำไปสู่การปรับตัวด้านระบบซีเคียวริตี้ของแอปพลิเคชันดังกล่าว โดยล่าสุด ผู้บริหารทรูมันนี่ประกาศดึง AI เข้ามาช่วยป้องกันการทำธุรกรรมที่ผิดปกติเพิ่ม พร้อมงบลงทุน 100 ล้านบาทต่อปีเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนแล้ว
ส่วนหนึ่งของการยกระดับระบบซีเคียวริตี้ดังกล่าวมาจากข้อมูลของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) ที่ระบุว่า ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา มีคดีทุจริตทางการเงินแจ้งมายังเว็บไซต์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 247,753 เรื่อง และมีการขออายัดบัญชี 54,017 บัญชี ยอดเงิน 6.9 พันล้านบาท แต่สามารถอายัดได้ทัน 449 ล้านบาท หรือเพียง 6.4% ของยอดเงินที่มีการร้องขออายัดเท่านั้น โดยความเสียหายรวมของทั้ง 247,753 เรื่องนั้นมีมูลค่าสูงถึง 32,083 ล้านบาท
ไม่เพียงเท่านั้นสมาคมธนาคารไทย ยังพบอีกว่า ในช่วงที่ผ่านมาเริ่มมีการล่
- หลอกลงทุน
- หลอกเป็นคอลเซ็นเตอร์
- หลอกทำกิจกรรมหารายได้
- หลอกขายสินค้า
- หลอดติดตั้งแอปมิจฉาชีพ
เพิ่มซีเคียวริตี้รับการเป็นซูเปอร์แอปทางการเงิน
การเพิ่มความสามารถในการปกป้องเงินของลูกค้าในแอปพลิเคชันทรูมันนี่จึงต้องเกิดขึ้นตามมา โดยคุณมนสินี นาคปนันท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด เผยว่า ทรูมันนี่มีการจับมือกับ ชิลด์ (SHIELD) ผู้ให้บริการระบบซีเคียวริตี้ยักษ์ใหญ่จากสิงคโปร์ และ โซลอส (ZOLOZ) ผู้เชี่ยวชาญด้านโซลูชั่
- Biometric Technology ใช้ในการจดจำใบหน้า เปรียบเทียบใบหน้ากับฐานข้อมูล และการตรวจสอบว่าเป็นใบหน้าของคนจริง ไม่ใช่การเปิดคลิปเพื่อหลอกแอปพลิเคชัน
- Mobile In-app Protection การตรวจสอบความผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในตัวแอปพลิเคชัน
- BigData and AI การใช้ AI และ BigData ในการคาดการณ์ – ทำนายความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้
- Authentication การยืนยันตัวตน
- Device Profiling การทำโปรไฟล์ของตัวเครื่องว่า ปกติลูกค้าใช้สมาร์ทโฟนรุ่นใด สมาร์ทโฟนเคยถูกทำเจลเบรกมาก่อนหรือไม่ มีการติดตั้งแอปพลิเคชันที่ผิดปกติหรือไม่ โลเคชันในการใช้งานของลูกค้าอยู่ที่ใด ฯลฯ
คุณอธิปัตย์ พลอยพรายแก้ว ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารความเสี่
นอกจากนั้น จะมีการตรวจจับมัลแวร์ แอปดูดเงิน และแอปแปลกปลอมที่ไม่ปลอดภัย โดยหากพบว่าติดตั้งบนอุปกรณ์ที่ใช้งานทรูมันนี่ ระบบจะปฏิเสธการอนุญาตเข้าใช้งาน และสุดท้าย จะเป็นการใช้ AI และ BigData เข้ามาช่วยจำแนกและกำหนดค่าความเสี่ยง (Risk score) เพื่อตรวจสอบความผิดปกติจากประวัติการทำรายการย้อนหลัง โดยในกรณีที่พบว่ามีการทำรายการที่ผิดปกติเกิดขึ้น ระบบจะปฏิเสธการทำธุรกรรม หรือหากลูกค้าแสดงความจำนงว่าจะทำรายการจริง ๆ ระบบจะให้ลูกค้าทำการยืนยันตัวตนผ่าน 7-eleven, True Shop หรือตู้คีออส โดยลูกค้าต้องนำบัตรประชาชน และโทรศัพท์มือถือที่ติดตั้งแอปทรูมันนี่ไปด้วย
คุณอธิปัตย์ยังได้ยกกรณีที่ระบบ AI สามารถตรวจจับความผิดปกติได้ โดยเป็นเคสของนักลงทุนรายหนึ่งที่ไม่เคยถอนเงินออกจากแอปทรูมันนี่เลย แต่ AI ของระบบตรวจจับได้ว่ามีความพยายามถอนเงินจากระบบเกิดขึ้นหลายครั้ง และเมื่อ AI ปฏิเสธการถอนเงิน ก็พบว่ามีการปรับลดยอดเงินลงเรื่อย ๆ จนในที่สุด AI ได้ส่งแจ้งเตือนให้พนักงานมนุษย์เข้ามาดูแล และสามารถรักษาเงินในบัญชีเอาไว้ได้
ปัจจุบัน มีผู้ใช้แอปทรูมันนี่ในการลงทุนและฝากเงินแล้ว 12% ของผู้ใช้งานทั้งหมด 26 ล้านแอคเคาน์ และในแต่ละเดือนมียอดเงินไหลผ่านในแอปพลิเคชัน 40,000 ล้านบาท หรือประมาณ 500,000 ล้านบาทต่อปี
อ่านเพิ่มเติม
- ดึง “ลิซ่า” เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ ก้าวใหญ่ “TrueMoney” สู่ยอดผู้ใช้ 35 ล้านภายในสิ้นปี – Brand Buffet
- ทรูมันนี่ตั้งเป้า 50% คนไทยใช้บริการภายในปี 2023 จับมือ Shield เสริมแกร่งซีเคียวริตี้ – Brand Buffet