HomePR Newsส่องแผน “ชาร์ปไทย” รุกตลาดอีอีซี ตั้งเป้าเติบโต 10% จากอุปกรณ์สำนักงาน

ส่องแผน “ชาร์ปไทย” รุกตลาดอีอีซี ตั้งเป้าเติบโต 10% จากอุปกรณ์สำนักงาน

แชร์ :

ชาร์ป ไทย โดย ชาร์ป ดีเวิร์ส บิสซิเนส โซลูชั่น (SDBS) รุกตลาดอีอีซี หลังพบสัญญาณบวก บริษัทยักษ์ใหญ่ลงทุนในไทยเพิ่ม คาดความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานออฟฟิศจะพุ่งตาม

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

มร. ชูเฮย์ อาราอิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชาร์ป ไทย จำกัด เปิดเผยว่า หลังจากการควบรวมกิจการระหว่าง บริษัท ชาร์ป ไทย จำกัด บริษัท เอ็นอีซี คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (NEC) และ บริษัท ชาร์ป ดีเวิร์ส บิสซิเนส โซลูชั่น จำกัด (SDBS) แล้ว  บริษัทจะหันมาชูนโยบายรุกตลาดในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก 3 จังหวัด ได้แก่ ระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา หรือ พื้นที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) โดยให้ความสำคัญกับแนวคิด “SMART CONNECT SECURE” หวังตอบโจทย์สำนักงานยุคใหม่

ทั้งนี้ การโฟกัสธุรกิจของชาร์ป ไทย จะเน้นไปที่กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรม และราชการ ผ่านสำนักงานให้บริการใน 4 จังหวัด คือ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และปราจีนบุรี ครอบคลุมพื้นที่ภาคตะวันออก โดยลูกค้าจะได้รับการแก้ปัญหาภายใน 4 ชั่วโมง สามารถตรวจเช็คข้อมูลงานซ่อมแบบ real time ผ่านเว็บไซต์ได้ตั้งแต่ ณ เวลาที่ลูกค้าแจ้งซ่อมเข้ามา เวลาที่ช่างไปถึงหน้างาน โดยเมื่อจบงานบริการแล้ว จะมี Auto Email Alert ไปหาลูกค้าเพื่อปิดงานทุกครั้ง ซึ่งช่วยลดปัญหาการติดตามการซ่อมระหว่างลูกค้าและช่างได้ รวมถึงสามารถเข้าไปดูประวัติการซ่อมย้อนหลังได้ด้วย

สำหรับแนวคิดการรุกตลาด “SMART – CONNECT – SECURE” นั้น ผู้บริหารชาร์ปไทยอธิบายว่า คำว่า SMART ครอบคลุมในหลายด้านหมายถึง ทั้งการออกแบบที่มีรูปลักษณ์ทันสมัย สามารถแมทช์ให้เข้ากับโทนสีของออฟฟิศได้ และ สมาร์ทเรื่องพลังงาน ด้วย Standby Mode ที่ใช้ไฟเพียง 0.3 วัตต์ กินไฟน้อยกว่าการชาร์จมือถือ รวมถึง สมาร์ทเรื่องการเชื่อมต่อกับซอฟต์แวร์ต่างๆ ด้วย SHARP OSA (Open System Architecture) ช่วยลดขั้นตอนการทำงานให้กับองค์กร หรือในกรณีที่เครื่องถ่ายเอกสารมีปัญหา ช่างสามารถ Connect หรือควบคุมและแก้ไขการทำงานของเครื่องถ่ายเอกสารได้จากระยะไกล ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ส่วน Secure จะเป็นการแจ้งเตือนอัตโนมัติ ในกรณีที่ระบบเครื่องถ่ายเอกสารพบไวรัส เป็นต้น

มร. ชูเฮย์ ยังกล่าวอีกว่า จากนโยบายของรัฐบาล รวมถึงการเข้ามาลงทุนของผู้ประกอบการจากต่างประเทศที่ปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรม เช่น บริษัท BYD บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าชั้นนำของจีน ตัดสินใจซื้อที่ดิน 600 ไร่จากบริษัท WHA เพื่อมาลงทุนตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า และส่งออก 150,000 คันต่อปี หรือบริษัท AWS (Amazon Web Services) ผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่ในเครือ Amazon ตัดสินใจลงทุนครั้งสำคัญในไทย ตั้ง Cloud Region และเตรียมต่อยอดลงทุนระยะยาวอีกเกือบสองแสนล้านบาท รวมถึงนโยบายหลักของ อีอีซี ที่ต้องการสร้างรายได้ 2.2 ล้านล้านภายใน 5 ปี (2565-2570) ใน 5 คลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ การแพทย์และสุขภาพ นวัตกรรมดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ เศรษฐกิจ BCG และบริการ

“ปัจจัยเหล่านี้ทำให้บริษัทมั่นใจศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ และความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สำหรับสำนักงานจำนวนมาก ชาร์ป ไทย และ ชาร์ป ดีเวิร์ส บิสซิเนส โซลูชั่น (SDBS) สามารถขยายตลาดตามเป้าหมายที่วางไว้ได้อย่างแน่นอน” มร. ชูเฮย์ กล่าวปิดท้าย


แชร์ :

You may also like