HomeInsight‘คนไทย’ กังวลปัญหาการเมือง-ว่างงาน มีความหวังเศรษฐกิจดีขึ้น หลังตั้งรัฐบาลใหม่    

‘คนไทย’ กังวลปัญหาการเมือง-ว่างงาน มีความหวังเศรษฐกิจดีขึ้น หลังตั้งรัฐบาลใหม่    

แชร์ :

Photo Credit : NUMBER 24 – Authorized Shutterstock Partner in Thailand

การสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภคต่อเนื่องของ “อิปซอสส์” (Ipsos) บริษัทวิจัยตลาดและสำรวจผู้บริโภค ใน 29 ประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย จำนวน 6,000 ตัวอย่าง อายุ 18 ปีขึ้นไป ได้สรุปรายงานการศึกษา “What Worries the World – What worries Thailand” ในช่วงครึ่งปีแรก 2566

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

พบว่าหลังจากสถานการณ์โควิดจบลง ปัญหาที่สร้างความกังวลให้ผู้บริโภคทั่วโลกสูงสุดในปีนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” สัดส่วน 40% รองลงมาคือ ความยากจนและความไม่เท่าเทียมในสังคม 31% ปัญหาอาชญากรรมและความรุนแรง 29% การว่างงาน 27% และสถานการณ์ด้านการเงิน-การเมือง-คอร์รัปชั่น  25%

คุณอุษณา จันทร์กล่ำ กรรมการผู้จัดการ อิปซอสส์ (Ipsos) กล่าวว่าสำหรับประเทศไทย ความกังวลอันดับหนึ่ง ได้แก่ ปัญหาทางด้านสังคมในเรื่องที่เกี่ยวกับการทุจริตทางการเงินหรือการเมือง 40%  รองลงมาเป็นปัญหาความยากจนและความไม่เท่าเทียมกัน 39% ปัญหาเงินเฟ้อ 29% ปัญหาว่างงาน 26% อาชญกรรมและความรุนแรง 25%

ความกังวลเรื่องความไม่เท่าเทียมในด้านการทำธุรกิจของ SME คือการเข้าไม่ถึงแหล่งเงินกู้ ส่วนปัญหาว่างงานมาจากการใช้เทคโนโลยี AI เข้ามาแทนที่ตำแหน่งงานต่างๆ

ผู้คนในทุกประเทศเห็นพ้องต้องกันว่า “รัฐบาล” ควรเป็นผู้นำในการแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมกัน

คนไทยมองเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย 

คนไทยมองสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันว่า “แย่” ถึง 57%  แม้จะเห็นว่าดีกว่าช่วงโควิด แต่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ทำรายได้หลักให้ประเทศก็ยังไม่กลับมาดีเหมือนก่อนโควิด นักท่องเที่ยวต่างชาติในตลาดหลักๆ อย่างจีน ยังไม่กลับมา ทั้งปัจจัยค่าตั๋วโดยสารเครื่องบิน โรงแรมที่พักราคาแพง

พบว่า 72% ของคนไทยมองว่าเศรษฐกิจประเทศกำลังถดถอย  เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของโลกในอัตรา 49%  และสูงสุดในอาเซียน โดย อินโดนีเซียอยู่ที่ 47%  สิงคโปร์ 36%  ประชากรไทยคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มสูงขึ้นอีกในปีนี้  

ในแง่ของการครองชีพ คนไทยคาดว่าค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค น้ำมันเชื้อเพลิงและอาหารจะสูงขึ้น จากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ โดยค่าใช้จ่ายสูงสุด 3 อันดับ ที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นอีกในอีก 6 เดือนข้างหน้าดังนี้

65% เชื่อว่าค่าสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้น เช่น แก๊ส ไฟฟ้า ฯลฯ  (เทียบกับ 71% ทั่วโลก)

65% ค่าเชื้อเพลิงในการขับขี่  เช่น ดีเซล น้ำมันเบนซิน/เบนซิน ฯลฯ (เทียบกับ 60% ทั่วโลก)

64% ค่าใช้จ่ายเพื่อการซื้ออาหาร (เทียบกับ 67% ทั่วโลก)

มองว่าสาเหตุที่ทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น มาจากสถานะของเศรษฐกิจโลก  81% นโยบายของรัฐบาล 79% อัตราดอกเบี้ย 78%

หากดูสถานการณ์การเงินของคนไทย พบว่า 1 ใน 3 หรือ 30% บอกว่าการเงินยังโอเคอยู่ ขณะที่ 39% พออยู่ได้แต่หากค่าครองชีพยังคงสูงขึ้นเรื่อยๆ ก็จะลำบาก และ 25% รู้สึกใช้ชีวิตลำบาก เงินออมไม่ต้องพูดถึง แค่มีเงินใช้ให้รอดในวันนี้

หลังตั้งรัฐบาลมีความหวังดีขึ้น

แม้จะเจอความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจ แต่คนไทยก็ยังรู้สึกถึงการเติบโตในแง่ดี โดย 67% ยังคิดว่าประเทศกำลังมาถูกทาง

คนไทยส่วนใหญ่ค่อนข้างมองโลกในแง่ดีและคาดหวังว่าทิศทางโดยรวมของไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้าจะมีแนวโน้มที่ดี หลังจากมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้แล้ว แต่หากล่าช้าออกไปก็จะส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจและการลงทุนได้

โดย 61% คาดว่าเศรษฐกิจจะแข็งแกร่งขึ้น เทียบกับ 42% ในเดือนกุมภาพันธ์ และ 56% ในเดือนพฤษภาคม 2566

อ่านเพิ่มเติม


แชร์ :

You may also like