ทุกวันนี้โลกธุรกิจไม่สามารถประสบความสำเร็จได้เพียงตัวชี้วัดเรื่องผลกำไร และถึงแม้ว่าผลกำไรจะดี ก็ไม่อาจเรียกได้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน หากโลกมีปัญหา นี่คือ ปัจจัยหลักที่ธุรกิจเริ่มเข้าใจและหันมาให้ความสำคัญกับปัญหาที่โลกกำลังเผชิญ
AIS เองก็เช่นกัน ที่แม้จะมีเป้าหมายการเติบโตในเชิงรายได้และผลกำไรอย่างชัดเจน แต่การวางนโยบายที่จริงจังกับการสร้างโลกที่ดีต่อทุกคนในสังคมก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน
AIS มุ่งยกระดับเศรษฐกิจไทยด้วย ‘ดิจิทัล’
คุณสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS อธิบายเรื่องดังกล่าวว่า “เราให้ความสำคัญกับการสร้างการเติบโตของธุรกิจผ่าน การพัฒนา Digital Infrastructure ให้มีความพร้อมและแข็งแรงมากพอที่จะเป็น Gateway เชื่อมต่อให้ภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ผ่านการนำเสนอบริการดิจิทัลใหม่ ๆ ที่จะยกระดับให้เศรษฐกิจและคนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นั่นคือเป้าหมายทางธุรกิจที่ AIS ใช้เป็นแนวทางทั้งการสร้างการเติบโตให้กับการดำเนินธุรกิจให้เกิดความยั่งยืน และต้องสร้าง Net Positive หรือผลกระทบเชิงบวก ที่จะนำคุณค่าจากสิ่งที่เราตั้งใจไปสู่การเปลี่ยนแปลงของ Green Economy ทั้งในระดับองค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม”
โดยที่ผ่านมา AIS ทำงานเพื่อสร้างความสัมพันธ์ร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กรในทุกระดับตลอดทั้ง Value Cycle หรือวัฏจักรคุณค่าในทุกขั้นตอน นับเป็นการยกระดับการทำงานซึ่งจะนำไปสู่ความยั่งยืนในทุกมิติ
สอดคล้องกับนโยบายการดำเนินธุรกิจ ทั้งด้านการนำดิจิทัลมาขับเคลื่อน “เศรษฐกิจ” ด้วยการนำขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีโครงข่าย มาต่อยอดและส่งเสริมให้เกิดบริการดิจิทัลใหม่ๆ ที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและเสริมศักยภาพของภาคธุรกิจ รวมถึงการพัฒนาระบบการป้องกันภัยไซเบอร์และการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าให้มีมาตรฐานที่เชื่อถือได้
หรือแม้แต่การสร้างการเข้าถึงดิจิทัลให้แก่ทุกคนใน “สังคม” ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย ผ่านภารกิจ AIS อุ่นใจ CYBER ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจสร้างทักษะและพลเมืองดิจิทัล
อย่างการสร้างองค์ความรู้ผ่านหลักสูตรการเรียนรู้ออนไลน์ อุ่นใจไซเบอร์ ที่เอไอเอส ร่วมกับพาร์ทเนอร์พัฒนาขึ้น ผ่านการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ ตามมาตรฐานของหลักสูตรการศึกษาไทย ซึ่งถูกส่งต่อไปยังโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ. แล้วกว่า 29,000 แห่งทั่วประเทศ รวมกับโรงเรียนในสังกัด กทม. ทั้งหมดกว่า 437 แห่ง
พร้อมยังร่วมสร้างดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย หรือ Thailand Cyber Wellness Index (TCWI) เพื่อเป็นเข็มทิศ ชี้เป้าให้สร้างเสริมทักษะดิจิทัลได้อย่างตรงกลุ่มเป้าหมาย มีประสิทธิภาพและยั่งยืน
Green Network สร้างโครงข่ายสีเขียว ทั้ง Ecosystem
นอกเหนือจากมุมมองในด้านเศรษฐกิจ และสังคมแล้ว ซีอีโอ AIS ยังขยายความต่อไปถึงในเรื่องของ “สิ่งแวดล้อม” ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญที่อยู่ในวัฏจักรคุณค่าของ AIS
ที่ผ่านมา AIS มีกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analysis) เพื่อศึกษารูปแบบการใช้งานของลูกค้า และบริหารจัดการช่องสัญญาณ ควบคู่กับวิเคราะห์การใช้พลังงานอย่างสอดคล้องกัน นอกจากนี้ยังเริ่มใช้พลังงานทดแทนจากการติดตั้งโซลาร์เซลล์ และกังหันลม บริเวณสถานีฐาน ที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พร้อมกับส่งเสริมการนำดิจิทัลโซลูชั่นหลากหลาย ไปใช้ในการบริหารจัดการองค์กร และการใช้ชีวิตประจำวันของทุกคนให้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
กว่า 10 ปี ที่ AIS ได้เริ่มต้นที่การบริหารจัดการระบบพลังงานสำหรับโครงข่ายสื่อสาร ด้วยแนวคิด Green Network โดยปรับเปลี่ยนจากการใช้เครื่องปรับอากาศในตู้ของสถานีฐานทั่วประเทศ มาเป็นพัดลม พร้อมๆ กับการปรับเปลี่ยนวัสดุผนังของตู้ เพื่อช่วยให้ระบายความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นี่คือจุดเริ่มต้นของการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมจากงานหลักของ AIS
อีกด้านที่ดำเนินการควบคู่กันอย่างเข้มข้นคือ ชวนลูกค้าให้มีส่วนร่วมกับการดูแลสิ่งแวดล้อมด้วยการปลูกจิตสำนึกและความตระหนักถึงความสำคัญของการแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Waste ที่ต้องมีการคัดแยกและนำไปสู่การ Recycle ตามกระบวนการ Zero to Landfill ตามมาตรฐานสากล เพราะมิเช่นนั้นจะส่งผลเสียอย่างยิ่งจากสารเคมีตกค้างในอนาคตได้
โครงการ “คนไทยไร้ E–Waste” จึงเกิดขึ้นพร้อมสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนโดยได้จัดทำถังรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ ให้สามารถนำ โทรศัพท์มือถือ/แท็บเล็ต แบตเตอรี่มือถือ พาวเวอร์แบงก์ สายชาร์จ หูฟัง มาทิ้ง ได้ ณ จุดบริการของ AIS และจุดบริการของภาคีเครือข่าย ซึ่งปัจจุบันมีแล้วมากกว่า 2,400 จุดทั่วประเทศ
จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าจากแนวทางการทำงาน 3 ด้านทั้ง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ภายใต้หลักบรรษัทภิบาล ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญที่สะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจของ AIS ที่มุ่งสู่การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน นั่นทำให้องค์ไทยแห่งนี้ ได้รับการยอมรับในเวทีระดับโลก ทั้งการคัดเลือกและจัดอันดับด้านความยั่งยืนโดยติด TOP 5% ในธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมที่ได้คะแนน S&P Global ESG score สูงสุด
รวมถึงยังได้รับการคัดเลือกให้เป็นสมาชิกดัชนีความยั่งยืนดาวน์โจนส์ทั้งในกลุ่มดัชนีโลก (World Index) และดัชนีตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market Index) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4
นอกจากนี้ในปี 2565 AIS ยังได้รับการประเมินอยู่ในระดับ AA จาก MSCI ESG Rating ซึ่งเป็นการประเมินความสามารถในการบริหารความเสี่ยงจากประเด็นด้าน ESG ทั้งในด้าน สิ่งแวดล้อม สังคม และ บรรษัทภิบาล อีกทั้งในด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ AIS ยังได้รับผลการประเมินจาก Carbon Disclosure Project (CDP) ที่ผลการประเมินระดับ B หรืออยู่ในระดับที่มีการบริหารจัดการที่ดี ถือเป็นการการันตีการดำเนินงานของ AIS ในเวลาที่ผ่านมา
คุณสมชัย ย้ำถึงการทำงานในช่วงท้ายไว้อย่างน่าสนใจว่า “AIS ไม่ได้เป็นแค่ธุรกิจที่ยั่งยืน แต่เราต้องเป็นธุรกิจที่สร้างความยั่งยืนให้แก่ Stakeholder และต้องสร้าง Net Positive ให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม วันนี้ AIS ไม่ได้มีบทบาทเพียงแค่การนำเสนอสินค้าและบริการที่สร้างมาตรฐานใหม่ให้กับตลาดเท่านั้น แต่เรายังมุ่งสร้าง Ecosystem for Green Economy ภายใต้การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นต้นแบบที่ดีให้กับธุรกิจโทรคมนาคมของประเทศ ที่พร้อมสร้างและส่งต่อคุณค่าให้กับทุกคนในสังคมต่อไป”