HomeSponsoredเจาะลึก People – Profit – Planet 3P สู่ความยั่งยืน ของ Food Passion

เจาะลึก People – Profit – Planet 3P สู่ความยั่งยืน ของ Food Passion

แชร์ :

Food Passion หนึ่งในผู้นำด้านธุรกิจอาหารที่มีแบรนด์ขวัญใจคนไทยอย่าง Bar B Q Plaza GON EXPRESS และ Red Sun เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่มีนโยบายด้าน ESG อย่างจริงจัง อะไรที่ทำให้เจ้าของธุรกิจอาหารถึงให้ความสนใจกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนจนถึงกำหนดให้เป็นวิสัยทัศน์ Go Beyond ด้วย Triple Bottom Line: People, Profit และ Planet  ขับเคลื่อนองค์กร

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

3P ของ Food Passion  

คุณเป้ – ชาตยา สุพรรณพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฟู้ดแพชชั่น จำกัด

สำหรับ 3P ของ Food Passion ประกอบไปด้วย People, Profit และ Planet โดยทางหัวเรือใหญ่ขององค์กร อย่าง คุณเป้ – ชาตยา สุพรรณพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฟู้ดแพชชั่น จำกัด ให้ความสำคัญกับ People ซึ่งพื้นฐานที่สำคัญที่สุด ด้วยจุดมุ่งหมาย องค์กรแห่งความสุขผ่านกลยุทธ์ “เก่ง ดี สุข” ที่ผ่านมา Food Passion เป็นองค์กรที่เน้นเสริมวุฒิการศึกษาให้กับพนักงานอย่างต่อเนื่องผ่าน โครงการ “ทุนสานฝัน” และ “ก้อนรักเรียน” และถ้าหากว่าใครเคยแวะเวียนไปที่บริษัทแม่ของ Food Passion ย่านประชาชื่น จะพบว่าหลายห้องได้ถูกแปลงกลายเป็นห้องที่ใช้อบรม เพื่อเสริมศักยภาพบุคลากรด้านอาหารอย่างเต็มรูปแบบ ถึงขนาดเปิดเป็นศูนย์การเรียนฟู้ดแพชชั่น ที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และถ้าเรียนจนจบก็จะได้รับวุฒิปวช. เลยทีเดียว โดยไม่จำกัดว่าต้องเป็นพนักงานของฟู้ดแพชชั่นเท่านั้น แบรนด์อื่นๆ จะส่งพนักงานมาเรียนด้วยก็ได้

นอกจากนี้ยังมีหลักสูตร Passion Lab ที่ตอนนี้เปิดมาเป็นครั้งที่ 4 แล้ว เป็นหลักสูตรที่เน้นบ่มเพาะพนักงานในเรื่อง DesignThinking และ Skill Set ไปพร้อมๆ กัน ที่ผ่านมาผลงานที่ได้จาก Passion Lab ก็มีทั้งโมเดลธุรกิจใหม่ เช่น Gonทัก รถขายอาหารที่ทำให้ เมนูเด็ดภายในร้านบาร์บีคิวพลาซ่า ถูกยกมาไว้นอกห้าง แล้วไปพบปะลูกค้าย่านชุมชนได้ใกล้ตัวมากขึ้น ไปจนถึงวิธีการเทรนพนักงานที่เข้าใจอินไซต์อย่างแท้จริง

“ก่อนหน้านี้เวลาน้องๆ พนักงานเข้ามาใหม่ เราก็จะให้น้องเขาทำหน้าที่ล้างจาน ซึ่งเป็นงานที่ง่ายที่สุดแล้วก็ไม่ต้องพบปะลูกค้าโดยตรง เพราะเราเองก็มักจะจ้างพนักงานใหม่ เพื่อมารองรับลูกค้าในช่วงเวลาที่พีค เช่น ศุกร์-อาทิตย์ แต่ผลก็คืองานหนักมาก ขณะที่พอลูกค้าเยอะ ผู้จัดการร้านก็ไม่มีเวลาสอนงาน ก็ต้องให้เขาล้างจาน ซึ่งกลายเป็นว่าน้องอยู่กันไม่กี่วันลาออกเลย แต่ผลของ Passion Lab นี่แหละ ที่น้องๆ หลายคนช่วยกันระดมความคิด จนเราค้นพบโซลูชั่นใหม่ ที่พนักงานหน้าร้านเข้ามาให้ เราจะให้น้องเขาเตรียมพริก กระเทียม มะนาว งานไม่หนักเกินไป เตรียมของง่ายๆ แต่กลายเป็นว่าเขามองเห็นคุณค่าของสิ่งที่เขาทำ และลดการลาออกของพนักงาน”  คุณเป้ – ชาตยา เล่า

ส่วนโครงการ “นู๋ทำได้” ก็จะนำพนักงานระดับ Entry Level ตั้งแต่พนักงานหน้าร้าน แม่บ้าน พนักงานเตรียมสินค้าที่โรงงานมาระดมความคิด เพื่อเปลี่ยนแปลงงานที่ตัวเองได้รับมอบหมาย ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้ไอเดียเด็ดๆ มาใช้งานจริงไม่น้อย นับว่า Food Passion เป็นองค์กรที่เปิดรับความคิดใหม่ๆ ของพนักงานอย่างแท้จริง

ในส่วนของ Profit หรือผลกำไร Food Passion วางเป้าหมายรายได้ปี 2568 ไว้ที่ 4,500 ล้านบาท หลังจากปี 2565 กวาดร้ายได้ทะลุ 3,500 ล้านบาท โดยอาศัยรูปแบบการสร้างรายได้ใหม่ๆ เช่น Gon EXPRESS รวมถึงการออกผลิตภัณฑ์ GON Product ซอสบาร์บีคิว วางขายเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงลูกค้า พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับการทำ CRM ที่ขับเคลื่อนด้วย DATA อย่างเต็มรูปแบบเพื่อทำให้ส่งตรงโปรโมชั่นไปหาฐานลูกค้าเดิมได้อย่างแม่นยำ ตรงใจ ในส่วนของร้านเดิม ก็มีการรีโนเวทร้านให้เป็นสาขาดีไซน์ใหม่ 50 แห่ง เพิ่มในปี 2566 และเปิดอีก 30 สาขาใหม่เพิ่ม สร้างประสบการณ์ Digital Store อีก 40 สาขา ภายในอีก 5 ปีข้างหน้า

จาก ฟาร์มสุข สู่ Green Store 

ในส่วนของ Planet นับว่าเป็นความท้าทายที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับ Food Passion ในยุคนี้ “ทุกๆ บริษัทก็คงมีความเชื่อ ความฝันว่าอยากจะเป็นบริษัทที่มีอายุ 50 ปี หรือ 100 ปี แต่องค์ความรู้ในปัจจุบันนี้บอกกับเราชัดเจนแล้วว่า ไม่มีบริษัทไหนที่อยู่ได้ด้วยตัวคนเดียว โดยที่ไม่ต้องสนใจสังคม หรือ Stakeholder เราต้องสร้างสมดุล ควบคู่ไปกับการเติบโตของเราเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในธุรกิจอาหาร วัตถุดิบของเราก็มาจากธรรมชาติทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น ข้าว ผัก โปรตีน ต่างๆ ดังนั้นเราต้องใส่ใจในเรื่องที่ของของวัตถุดิบเหล่านี้ ใช้สารเคมีอย่างไร คุณภาพดิน น้ำ ทั้งหมดมีผลกระทบทั้งสิ้น หรือแม้แต่การบริโภคเยอะก็ต้องใช้พื้นที่ในการผลิตเยอะ ไปจนถึงเรื่องขนส่ง ไปจนถึงครัวกลาง หน้าร้าน เสิร์ฟถึงจานลูกค้า ขั้นตอนทั้งหมดนี้ใช้พลังงานทั้งนั้น” ทายาทรุ่นสองของ Food Passion เล่าถึงความฝัน ที่นำมาซึ่งการมองภาพสังคมโดยรวม

ดังนั้นที่ผ่านมา Food Passion จึงลงมือทำโครงการ “ฟาร์มสุข” พูดคุย อธิบายไปจนถึงให้ความรู้กับคู่ค้า ในเรื่อง Food Safety และ Good Agriculture Practice (GAP) เช่น ผักกะหล่ำ เมนูเด็ดเอกลักษณ์สำคัญในร้านบาร์บีกอน ที่มาจากจังหวัดตาก ด้วยรูปแบบวิสาหกิจชุมชน ผ่านการรับรองที่สามารถ ย้อน ทวง สอบ ถึงขั้นตอนการปลูกได้ (Tracibility) และสร้างโมเดลการรับซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ราคาเป็นธรรม ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกสามารถมีรายได้อย่างมั่นคง

เมื่อมาถึงภายในร้าน กระบวนการที่ทำให้เกิดประโยชน์กับโลกมากที่สุด โดยคำนึงถึงประสบการณ์ของลูกค้าควบคู่ไปด้วย จนเป็นที่มาของการเปิดตัวร้าน บาร์บีคิวพลาซ่ารูปแบบ Green Store ซึ่งในที่สุด Food Passion ตั้งเป้าว่าทั้งหมดจะมีสาขาที่เป็น Green Store เพิ่มขึ้นตามความเหมาะสมของพื้นที่

สำหรับสาขา Green Store เริ่มตั้งแต่ การออกแบบตกแต่งที่ใช้วัสดุที่ผ่านการ Upcycle จากขยะพลาสติก กากมะพร้าว แกลบข้าว และวัสดุที่มีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำกว่าวัสดุทั่วไป อุปกรณ์ภายในร้าน ตั้งแต่แอร์และตู้เย็นที่เลือกใช้สารทำความเย็นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนหลอดไฟ ก็ใช้หลอด LED 100% เพื่อให้ประหยัดพลังงานไฟฟ้า ไปจนถึงการพิ่มมาตรการการคัดแยกขยะและจัดการขยะอาหาร เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการบริหารจัดการขยะฝังกลบเป็นศูนย์ (Zero Waste to Landfill)

ต้องวัดผลได้ ถึงท้าทาย

“What get measured, Get Improved” ถ้าเราวัดผลมันได้ มันถึงจะเกิดการพัฒนา นี่คือข้อความที่คุณเป้ถ่ายทอดออกมา เพื่ออธิบายว่าในการทำงานด้าน ESG ก็ต้องจุดหมายปลายทาง ที่กำหนดออกมาให้ทุกคนในองค์กรเดินตามได้

เมื่อ Food Passion ตั้งเป้าลดก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ (net zero emission) ภายในปี 2593 หรือ ค.ศ. 2050 โดยปีนี้ตั้งแต่เริ่มประกาศเป้า สามารถลดไปได้ 25-30% แล้ว เพื่อที่จะทำให้ได้ผลอย่างเป็นรูปธรรม กระบวนการทำงานเริ่มจากการทำงานร่วมกับ Planet A บริษัทที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ และพันธมิตรทางธุรกิจในการแนะนำแลกเปลี่ยนข้อมูลและวางแผนการลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อออกแบบกำหนดมาตรฐานต่างๆ ให้ทุกฝ่ายมีความเข้าใจถูกต้องร่วมกัน หลังจากนั้น Food Passion เองก็ตั้งคณะทำงานที่รวมพลังสมองจากทุกฝ่าย เพื่อสร้างดำเนินการให้การลดโลกร้อนเป็นเรื่องที่ร้านอาหารมีส่วนตั้งแต่ต้นน้ำ-ปลายน้ำ

“เราออกแบบผักตกแต่ง หรือว่าผักรองจานใหม่ มีการถามลูกค้าว่า จะเปลี่ยนเป็น ผักห่อซอสโคชูจัง สลัดมันฝรั่งไข่กุ้ง กิมจิเกาหลี หรือ ยำสาหร่ายไข่กุ้ง แทนไหม เป็นการช่วยลด Food Waste แล้วลูกค้าก็ได้ทานอาหารที่อยากรับประทานด้วย ขณะที่พอลูกค้าอิ่มแล้วเราก็จะรณรงค์ขอให้ลูกค้าช่วยเรียกพนักงานของเราไปปิดเตาก็ช่วยลดพลังงานลงได้เยอะ แล้วหลังจากนั้นก็เป็นเรื่องการทิ้งขยะ ถ้าหากว่าแยกขยะได้ถูกต้องก็จะไม่ต้องฝังกลบ และไม่เกิดก๊าซมีเทน อันนี้ต้องทำให้น้องๆ ที่ร้านเขาร่วมมือ ซึ่งก็ได้รับผลตอบรับดีมาก เพราะเขารู้ดีว่าถ้าธรรมชาติยังดีอยู่ ผลผลิต อากาศ น้ำ ที่บ้านเกิดของเขาก็ดีไปด้วย เราก็ต้องบอกเขาโดยอธิบายจากเรื่องใกล้ตัวเขา”

“ส่วนของโรงงานก็ต้องมีทำ อย่างเช่น การเปลี่ยนรถเป็นรถยนต์ไฟฟ้า เราก็ต้องทยอยเปลี่ยน ตอนนี้รถของผู้บริหารเปลี่ยนหมดแล้ว และมาคำนวณกันว่าคันหนึ่งเท่ากับลดคาร์บอนไปได้แค่ไหน ตอนนี้มาถึงไตรมาสที่ 2-3 แล้ว เราทำไปได้ 30-40% ของเป้าที่ตั้งไว้ในปีนี้ ดังนั้นช่วงเวลาที่เหลือก็ต้องอาศัยความร่วมมือของ Working Team ที่จะต้องเร่งมือ Kick-Off กัน”

นอกจากนี้ในเมื่อ Food Passion ก็ยังทำงานร่วมกับ Landlord เจ้าของพื้นที่ทั้งห้างสรรพสินค้าชั้นนำ และคอมมูนิตี้ทุกแห่ง ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี เพราะองค์กรใหญ่ทั้งหลายก็รู้ดีว่าเรื่องของสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจตั้งแต่วันนี้ จนให้ความสำคัญในอันดับต้นๆ

ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของการดำเนินงานตามแผน Triple Bottom Line: People, Profit และ Planet สูตร 3P ของธุรกิจอาหาร ที่มองไกลกว่าแค่องค์กรตัวเอง แต่ตั้งใจส่งมอบ “ความสุข” ให้กับสังคมในระยะยาว


แชร์ :

You may also like