HomePR Newsเป๊ปซี่โค ประเทศไทย นำโครงการ “Journey to Zero Waste” ร่วมงาน “วันเขาใหญ่ปลอดรถ 2023” ขับเคลื่อนการลดปริมาณขยะ แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน [PR]

เป๊ปซี่โค ประเทศไทย นำโครงการ “Journey to Zero Waste” ร่วมงาน “วันเขาใหญ่ปลอดรถ 2023” ขับเคลื่อนการลดปริมาณขยะ แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน [PR]

แชร์ :

วันที่ 22 กันยายน ของทุกปี คือ วันปลอดรถ หรือ Car Free Day ที่ทั่วโลกรณรงค์ให้ประชาชนลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล เพื่อลดปัญหามลพิษทางอากาศจากยานพาหนะ ซึ่งปีนี้ สมาคมการท่องเที่ยวเขาใหญ่ ได้ร่วมกับอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ โครงการ “เขาใหญ่ กรีน & คลีน” สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมาและภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนหลากหลายองค์กร จัดงานวันเขาใหญ่ปลอดรถ 2023 (Khao Yai Car Free Day 2023) ในวันที่ 22 กันยายน 2566 ณ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

วัตถุประสงค์ของการจัดงานครั้งนี้ เพื่อรณรงค์และทำให้ประชาชนตระหนักถึงผลกระทบจากมลภาวะที่มีต่อสภาพแวดล้อมของเขาใหญ่ อันจะทำให้พื้นที่เขาใหญ่ ซึ่งเป็นพื้นที่มรดกโลก และมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และวัฒนธรรม ได้สามารถพัฒนาศักยภาพในด้านอัตลักษณ์ วิถีชีวิต และเศรษฐกิจที่ยั่งยืน และยังสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจของพื้นที่ได้อย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้ได้วางแผนการจัดงานในรูปแบบของการจัดงานแบบปลอดขยะ (zero waste event)

ด้านเป๊ปซี่โค ประเทศไทย ผู้นำด้านธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม เจ้าของแบรนด์เครื่องดื่ม “เป๊ปซี่” และมันฝรั่งทอดกรอบ “เลย์” ได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในภาคีภาคเอกชนในการจัดงาน “วันเขาใหญ่ปลอดรถ 2023 (Khao Yai Car Free Day 2023)” ในการนี้ นายจิระวัฒน์ ภูมิศรีแก้ว ผู้อำนวยการด้านกิจการองค์กรและรัฐกิจ ประจำประเทศไทย เวียดนาม กัมพูชา ลาว และเมียนมา ได้ร่วมขึ้นเวทีเสวนา “ผลกระทบจากมลภาวะต่อสภาพแวดล้อมของเขาใหญ่: แนวทางแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนด้วยความร่วมมือของภาคประชาชน ภาครัฐ และการท่องเที่ยว”

นายจิระวัฒน์ กล่าวว่า “เป๊ปซี่โค ประเทศไทย ตระหนักถึงปัญหาการจัดการบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรจุภัณฑ์พลาสติกอ่อนหลายชั้น (Multilayer Plastic) ซึ่งยากต่อการย่อยสลายตามธรรมชาติ และมีปริมาณที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน เราจึงมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับชุมชนเพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการคัดแยกขยะและทางออกของการนำบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ไปเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล หรือกระบวนการแปรรูปให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าและมีประโยชน์ ซึ่งเป็นการลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวก และรายได้ให้แก่ชุมชน นอกจากนี้ เป๊ปซี่โค ประเทศไทย ยังมุ่งมั่นในการผลักดันการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วของภาคประชาชนเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลหรือนำไปใช้ประโยชน์ให้ได้มาก ที่สุดเพราะเราเชื่อว่าพลังของความมุ่งมั่นและการทำงานร่วมกันจะเป็นแรงขับเคลื่อนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงบวกได้”

เป๊ปซี่โค ประเทศไทย ได้ดำเนินโครงการ “Journey to Zero Waste” ภายใต้วิสัยทัศน์ pep+ (PepsiCo Positive) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินธุรกิจแบบครบวงจรและสร้างคุณค่าให้กับผู้คนและสิ่งแวดล้อม พร้อมสร้างแรงบันดาลใจเชิงบวก ขณะเดียวกัน ยังมีความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน เพื่อจัดการปัญหาบรรจุภัณฑ์พลาสติกหลังจากบริโภคอย่างยั่งยืน โดยบริษัทฯ ได้ริเริ่มโครงการนี้ขึ้น ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 พร้อมร่วมมือกับวัดจากแดง จ.สมุทรปราการ หนึ่งในชุมชนที่มีความเข้มแข็งในการจัดการขยะ เพื่อทำงานอย่างใกล้ชิดกับชุมชนในการรวบรวมบรรจุภัณฑ์พลาสติกอ่อนหลายชั้นใช้แล้ว (Multilayer plastic packaging – MLP) เข้าสู่กระบวนการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่า (Upcycling) ก่อนนำไปปรับปรุงและสร้างประโยชน์สำหรับชุมชนภายใต้ความร่วมมือร่วมกัน และได้มีการทำงานร่วมกับ 25 ชุมชนใน 14 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง นครปฐม กาญจนบุรี และอยุธยา

ในการนี้ เป๊ปซี่โค ประเทศไทย ได้นำเอาโครงการ Journey to Zero Waste เข้าไปให้ความรู้ในการจัดการบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วกับผู้ที่เข้าร่วมงาน รวมถึงส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมงานมีการเรียนรู้เรื่องการบริหารจัดการขยะ ตั้งแต่การเก็บกลับ คัดแยก ทำความสะอาด และแปรรูปบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วให้มีมูลค่าเพิ่ม เช่น การนำขวดน้ำพลาสติก PET ใช้แล้วกลับเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน (circular economy) โดยการนำกลับมาทำเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิล (rPET) หรือนำไปเป็นวัตถุดิบผลิตเป็นสิ่งทอ การเปลี่ยนถุงบรรจุภัณฑ์ MLP เป็นเก้าอี้และโต๊ะ เพื่อนำไปมอบให้กับโรงเรียนที่ขาดแคลนในชุมชนเกษตรกรในภาคเหนือ และโรงเรียนอื่นๆ เพื่อสนับสนุนการศึกษา ในขณะเดียวกันก็ช่วยป้องกันผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมและมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป


แชร์ :

You may also like