HomeSponsoredกลุ่มธุรกิจ TCP เปิดเวที TCP Sustainability Forum 2023 จับมือพันธมิตร ร่วมหาโซลูชันขับเคลื่อนสู่ Net Zero Transition

กลุ่มธุรกิจ TCP เปิดเวที TCP Sustainability Forum 2023 จับมือพันธมิตร ร่วมหาโซลูชันขับเคลื่อนสู่ Net Zero Transition

แชร์ :

ประเทศไทยเป็น​ประเทศอันดับ 9 จาก 180 ประเทศทั่วโลก ที่มีความเสี่ยงสูงจากผลกระทบของปัญหา​ Climate Change ​ส่งผลให้เกิดความตื่นตัวจากหลายภาคส่วนในการผลักดันแผนและนโยบายต่างๆ ​โดยเฉพาะการประกาศแผนระดับประเทศ ที่ตั้งเป้า​ขับเคลื่อนสู่​ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2050 ​และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์​ (Net Zero) ภายในปี 2065

แม้ปัจจุบันจะเห็นการตื่นตัวและตระหนักถึงปัญหาสภาพอากาศ​ทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน ผ่านการวางเป้าหมายและกลยุทธ์​เพื่อขับเคลื่อนไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ​อย่างต่อเนื่อง​ แต่การเปลี่ยนผ่านไปสู่การ​ปฏิบัติ​จริง ยังเต็มไปด้วยความท้าทายรอบด้าน จึงเป็นที่มาของ​ TCP Sustainability Forum 2023 การจัดประชุมด้านความยั่งยืนเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ภายใต้แนวคิด “Net Zero Transition…From Commitment to Action : การเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero จากพันธสัญญาสู่การปฏิบัติ” เพื่อเป็นอีกหนึ่งพื้นที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็น มุมมอง​ ประสบการณ์ รวมทั้งข้อมูลเชิงลึกอย่างรอบด้าน พร้อมปลุกพลังจาก​ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมการเปลี่ยนผ่านไปพร้อมกัน

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

TCP ชวนปลุกพลัง ‘ลงมือทำ’ เพื่อวันที่ดีกว่า

ส่วนหนึ่งในการประชุมครั้งนี้ เป็นการนำเสนอ Best Practice เพื่อขับเคลื่อน เศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy หนึ่งกลไกสำคัญของการ​ดีไซน์กระบวนการขับเคลื่อนธุรกิจ ​ที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกพร้อมสร้างผลกระทบเชิงบวกให้สังคมและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน สอดคล้องกับรายงานธนาคารโลกที่ประเมินว่าเศรษฐกิจหมุนเวียนสามารถผลักดันการเติบโต​ GDP ประเทศไทยได้ราว 1.2% หรือเฉลี่ย 0.1-0.2% จนถึงปี 2030 พร้อมช่วยสร้างงานได้กว่า 1.6 แสนตำแหน่ง

นอกจากนี้ยังมีมุมมองจากหน่วยงาน และนักวิชาการผู้เชี่ยวชา​ญ เพื่อเข้าใจถึงปัญหา ความท้าทายอย่างรอบด้าน พร้อม​ร่วมมองหาโอกาส​พัฒนาเครื่องมือหรือนวัตกรรมใหม่ๆ ที่สามารถเพิ่มอัตราเร่งในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้ทันกับการนับถอยหลังไปสู่เป้าหมายตามที่ได้มีการปักธงไว้

คุณสราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP เปิดเผยว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศมีนัยสำคัญมากพอที่จะสร้างความเสียหาย​ให้ประเทศชาติและโลก​ได้ ไม่ต่างจากการเกิดสงครามหรือโรคระบาด ทุกภาคส่วนจึงต้องหันมาให้ความสำคัญกับการหาวิธีรับมือ​และ​ขับเคลื่อนอย่างจริงจัง ​โดยเฉพาะการปรับ Mindset มาสู่การทำธุรกิจอย่างยั่งยืน ​ด้วยการ​ใส่ปัจจัยด้านความยั่งยืน หรือ Sustainable Development ไว้ในแผนกลยุทธ์เพื่อสร้างการเติบโต และให้ความสำคัญไม่ต่างจากแผนรับมือความเสี่ยง​หรือ Risk Management ของการทำธุรกิจ​ด้วยเช่นเดียวกัน

เช่นเดียวกับการขับเคลื่อนของกลุ่มธุรกิจ TCP ที่เน้น Mindset ‘เป็นตัวเราที่ดีกว่าเดิม’ และไม่ได้มองเพียงการเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero เท่านั้น ​แต่เน้นสร้างการเติบโตควบคู่ไปกับการลดผลกระทบเชิงลบ เพิ่มผลกระทบเชิงบวก ทั้งต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ภายใต้เป้าหมาย ‘ปลุกพลัง เพื่อวันที่ดีกว่า’ ผ่าน​ 4 มิติ ประกอบด้วย 1. ผลิตภัณฑ์ที่เป็นเลิศ (Product Excellence) นำเสนอผลิตภัณฑ์ตอบโจทย์ความต้องการพร้อมส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้บริโภค 2. ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ตั้งเป้าให้บรรจุภัณฑ์สามารถรีไซเคิลได้ทั้ง 100% ภายในปี 2024 3. การจัดการน้ำอย่างยั่งยืน (Water Sustainability) ตั้งเป้าคืนน้ำกลับสู่ธรรมชาติได้มากกว่าน้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิต ภายในปี 2030 และ 4.​ มุ่งสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Economy) ตั้งเป้าสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050

“หลัง​​ประกาศวิสัยทัศน์พร้อมเป้าหมาย กลุ่มธุรกิจ TCP มีพัฒนาการที่ดีขึ้นในทุกมิติ สามารถลดการปล่อย​ก๊าซเรือนกระจก​ลงได้ 2,300 ตันคาร์บอนเทียบเท่า หรือลดลง 4% จากปี 2021 รวมทั้งมีสัดส่วนใช้ไฟฟ้า​จากพลังงานโซลาร์ 23% จากการใช้พลังงานทั้งหมด และ​มีแผน​นำ EV มาใช้สำหรับการขนส่ง​ ภายในปี 2030 ​พร้อมใช้ระบบ Smart Manufacturing เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดการสูญเสีย ขณะที่การพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ ​รวมทั้งส่งเสริม​สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้บริโภคมีสัดส่วน​ 70% ของพอร์ตสินค้าทั้งหมดแล้ว”

ด้านพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ได้พัฒนาให้มี​น้ำหนักเบาและเพิ่มความสามารถในการรีไซเคิล พร้อมส่งเสริมการคัดแยกขยะของผู้บริโภคเพื่อนำบรรจุภัณฑ์กลับมารีไซเคิลได้มากขึ้น ขณะ​ที่การจัดการน้ำใน​ประเทศไทยถือว่าประสบความสำเร็จ เพราะสามารถคืนน้ำกลับให้ชุมชนแล้ว 15 ล้านลูกบาศก์เมตร บรรลุเป้าหมายที่ต้องการคืนน้ำสู่ธรรมชาติและชุมชนมากกว่าที่ใช้ในกระบวนการผลิต (Net Water Positive) ​​ซึ่ง​จะเร่งศึกษาเพื่อดำเนินการในต่างประเทศต่อไป​

พันธมิตรร่วมเปลี่ยนผ่าน สร้างระบบนิเวศธุรกิจที่ยั่งยืน

ขณะที่​ ดร.วิรไท สันติประภพ ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้มุมมองถึงแนวทางปรับตัวของภาคธุรกิจ เพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนว่า องค์ความรู้และนวัตกรรมเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนให้ธุรกิจเติบโตควบคู่ไปกับสังคมที่พัฒนาอย่างรอบด้าน ทั้งสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ขณะที่ความสามารถในการสื่อสารเรื่องความยั่งยืนได้อย่างแข็งแรง ชัดเจน และเป็นรูปธรรม จะช่วยสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่แบรนด์และองค์กร รวมถึงดึงดูดและรักษาบุคลากรที่มีความสามารถให้อยู่กับองค์กรได้​มากขึ้น พร้อมทั้งยังช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภคเห็นคุณค่าและสร้างมาตรฐานใหม่ต่อมุมมองเรื่องความยั่งยืนว่าเป็นบรรทัดฐานของสังคม เพื่อผลักดันให้ธุรกิจสร้างการเติบโต ควบคู่ไปกับการมีสังคมที่พัฒนาได้อย่างแท้จริง

คุณอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกิตติมศักดิ์ กลุ่ม​มิตรผล อีกภาคส่วนสำคัญในซัพพลายธุรกิจอาหาร และเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโดยตรงเพราะอยู่ในธุรกิจเกษตร ​​มีแนวทาง​​ขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืนผ่านการ​เพิ่ม Value ให้ทุกผลิตภัณฑ์จากอ้อย ​ทั้งน้ำตาล กากน้ำตาล และชานอ้อย เพื่อให้ธุรกิจ​เป็น Zero Waste ​​อย่างแท้จริง พร้อมต่อยอดสู่หลากหลาย​อุตสาหกรรมทั้งอาหาร เครื่องสำอาง อาหารสัตว์ และพลังงานทดแทน โดยปี 2565 มิตรผลผลิตพลังงานหมุนเวียนขายให้ภาครัฐ​ 210 เมกะวัตต์ ​รวมทั้งผลิตปริมาณคาร์บอนเครดิตจากโครงการโรงไฟฟ้าทั้ง 7 โรงได้เฉลี่ยกว่า 8 แสนตันต่อปี โดยสามารถบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนได้แล้ว และตั้งเป้าสู่ Net Zero ภายในปี 2050ด้าน คุณธนวงษ์​ อารีรัชชกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC มุ่งเน้นพัฒนาบรรจุภัณฑ์ยั่งยืน ภายใต้แนวคิด Low Waste Low Carbon ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วเพื่อลดขยะพลาสติก รวมทั้งพัฒนาเทคโนโลยีให้บรรจุภัณฑ์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น ใช้เทคโนโลยีลดปริมาณพลาสติกลง​ 20% แต่เพิ่มความแข็งแรงมากขึ้น หรือทำให้บรรจุภัณฑ์รีไซเคิลได้ง่ายขึ้น ​โดยปีที่ผ่านมา​สามารถลดคาร์บอนลงได้ 6​ หมื่นตันคาร์บอน โดยมีเป้าหมายเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050 ซึ่งเบื้องต้นจะลดลง 20% ภายในปี 2030 รวมทั้งตั้งเป้า​เพิ่มยอดขายกลุ่ม Green Polymer ในพอร์ตโฟลิโอให้มากกว่า 1 ล้านตัน ภายในปีเดียวกันการประชุม TCP Sustainability Forum 2023 ครั้งนี้ ทำให้ได้รับทราบแนวทางการขับเคลื่อนประเทศไทย​สู่สังคมคาร์บอนต่ำ เพื่อรับมื​อต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอย่างรอบด้าน ทั้งการพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี รวมถึงข้อจำกัดและความท้าทายต่างๆ ที่อาจเป็นอุปสรรคในการบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยเชื่อว่าจะมีส่วนช่วยปลุกพลังและช่วยให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงสำคัญของการเริ่มลงมือทำเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงได้ ซึ่งไม่สามารถทำเพียงคนเดียวได้ แต่ต้องอาศัยความร่วมมือทั้ง Ecosystem ของธุรกิจ รวมไปถึงการสนับสนุนจากรัฐบาล และผู้บริโภคที่เพียงแค่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิต​ประจำวันก็สามารถ​สร้างผลกระทบเชิงบวกให้โลกได้อย่างมหาศาล ดังนั้น​ หากทุกภาคส่วนมีเป้าหมายและทิศทางที่จะมุ่งไปร่วมกัน ก็จะสร้างให้เกิด​การเปลี่ยนผ่านประเทศไทยสู่ Net Zero อย่างแท้จริงได้ในที่สุด


แชร์ :

You may also like