HomeBrand Move !!เจาะไอเดียสตาร์ทอัพ Singapore Crawfish เลี้ยงกุ้งในนาข้าว สู่การเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรอินโดนีเซีย

เจาะไอเดียสตาร์ทอัพ Singapore Crawfish เลี้ยงกุ้งในนาข้าว สู่การเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรอินโดนีเซีย

แชร์ :

สิงคโปร์อาจเป็นประเทศขนาดเล็ก แต่โอกาสในการสร้างธุรกิจในสิงคโปร์อาจไม่เล็กตามขนาดประเทศ โดยหนึ่งในไอเดียที่เริ่มต้นขึ้นในสิงคโปร์ก็คือการเลี้ยงลูกกุ้ง Crawfish ในนาข้าว ผลงานของบริษัท Singapore Crawfish ที่ประกาศตัวเป็นผู้เพาะเลี้ยงกุ้ง Crawfish แบบยั่งยืนฟาร์มแรกของโลก

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

คุณ Datuk Desmond Chow ผู้ก่อตั้ง Singapore Crawfish เผยถึงจุดเริ่มต้นของบริษัทว่า เกิดจากตอนที่เขาได้ร่วมงานกับรัฐบาลอินโดนีเซียในการหาทางช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าว โดยในช่วงเวลาดังกล่าว เกษตรกรผู้ปลูกข้าวในอินโดนีเซียมีรายได้ในการผลิตข้าวที่ค่อนข้างต่ำ และเป็นอาชีพที่มีฐานะยากจน

คุณ Datuk Desmond Chow ผู้ก่อตั้ง Singapore Crawfish

การทดลองเลี้ยงกุ้ง crawfish ในนาข้าวจึงเริ่มต้นขึ้น โดยคุณ Chow มองเห็นว่า กุ้ง Crawfish นอกจากจะให้โปรตีนที่ดีแล้ว ยังมีราคาสูงมากในท้องตลาด และเป็นที่นิยมบริโภคในซีกโลกตะวันตก รวมถึงจีนแผ่นดินใหญ่ พร้อมอ้างอิงข้อมูลจาก Boyar China ที่พบว่า ตลาดกุ้ง Crawfish ในปี 2019 นั้นมีมูลค่าสูงถึง 9.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

บริษัทจึงได้ทดลองนำกุ้ง Crawfish พันธุ์ต่าง ๆ กว่า 200 สายพันธุ์มาทดลองเพาะเลี้ยงในนาข้าวทั้งในสิงคโปร์และมาเลเซีย จนสามารถคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสมได้สำเร็จ และนำไปให้เกษตรกรในอินโดนีเซียได้ทดลองเลี้ยง พร้อมระบุว่า ลูกกุ้ง Crawfish ที่บริษัทเพาะขึ้นนั้น สามารถจำหน่ายได้ในเวลา 4 เดือน (หลังจากที่เกษตรกรซื้อลูกกุ้งจากบริษัทไปเพาะเลี้ยงต่อ) โดยการทดลองดังกล่าว พบว่าสามารถเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในอินโดนีเซียได้ด้วย

รายได้ที่เพิ่มขึ้นของเกษตรกร (อ้างอิงจาก Singapore Crawfish)

นั่นจึงนำไปสู่การเปิดตัวธุรกิจในประเทศไทย รวมถึงประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งคุณ Datuk Desmond Chow มองว่าเป็นประเทศที่มีสภาพอากาศเหมาะสมในการเลี้ยงกุ้ง Crawfish มากกว่าประเทศในเขตหนาว

หรือสำหรับเกษตรกรที่ไม่ได้ปลูกข้าว แต่สนใจอยากเลี้ยงกุ้ง คุณ Chow ก็ได้ยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้พื้นที่ของประเทศจีน กับการขุดบ่อเลี้ยงกุ้งและด้านบนของบ่อติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าขายแทน พร้อมมองว่า การเลี้ยงกุ้ง Crawfish สามารถประยุกต์ใช้พื้นที่ได้หลากหลาย และไม่จำเป็นต้องยึดติดกับนาข้าวเสมอไป

ทั้งหมดนี้จึงนำไปสู่การพัฒนาโซลูชันสำหรับเลี้ยงกุ้ง crawfish ในนาข้าวของทาง Singapore Crawfish รวมถึงโซลูชันในการกรองน้ำสำหรับเกษตรกรที่ต้องการน้ำสะอาด เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสำหรับการเลี้ยงกุ้งด้วยในชื่อ Container Recirculating Aquaculture System หรือ CRAS

เขายังกล่าวต่อไปด้วยว่า ปัจจุบัน Singapore Crawfish ได้ดำเนินงานในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย กัมพูชา สหรัฐอเมริกา และไทย (อยู่ในจังหวัดอุดรธานี) แล้ว โดยในประเทศไทย บริษัทอยู่ระหว่างการหาพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจเพื่อตั้งโรงงานผลิตลูกกุ้ง ร่วมกับการขายลูกกุ้ง – อาหารกุ้ง และเทคโนโลยีการกรองน้ำที่บริษัทคิดค้นขึ้นนั่นเอง

 


แชร์ :

You may also like