HomeBrand Move !!‘การบินไทย’ 9 เดือน ทำรายได้ 1.15 แสนล้าน โชว์กำไร 16,342 ล้าน คาดออกจากแผนฟื้นฟู ปี 68   

‘การบินไทย’ 9 เดือน ทำรายได้ 1.15 แสนล้าน โชว์กำไร 16,342 ล้าน คาดออกจากแผนฟื้นฟู ปี 68   

แชร์ :

Thai airways การบินไทยหลังเข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการ และแนวโน้มการท่องเที่ยวฟื้นตัวดีขึ้น “การบินไทย” กลับมาโชว์ผลงานได้ดีอีกครั้ง ด้วยการทำ “กำไร” ต่อเนื่อง  ประเมินปี 2567 รายได้กลับมาเท่ากับก่อนโควิด พร้อมออกจากแผนฟื้นฟูในปี 2568

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

สรุปการดำเนินงานของการบินไทยและบริษัทย่อย ไตรมาส 3  และงวด 9 เดือน ปี 2566 

  • ไตรมาส 3 

– รายได้รวม 37,008 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13% (มาจากค่าโดยสารและค่าน้ำหนักส่วนเกิน 30,921 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 26%)

– กำไรสุทธิ 1,546 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 132% จากปีก่อนขาดทุน 4,785 ล้านบาท)

– จำนวนผู้โดยสาร 3.27 ล้านคน เพิ่มขึ้น 22% เป็นส่วนของการบินไทย 2.19 ล้านคน และไทยสมายล์ 1.08 ล้านคน มีอัตราการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) เฉลี่ย 77.3% (การบินไทย 77.1% และไทยสมายล์ 80.9%) ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งเฉลี่ย 77.0%

  • งวด 9 เดือน

–  รายได้รวม 115,897 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 77% โดยหลักมาจากค่าโดยสารและค่าน้ำหนักส่วนเกิน 97,024 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 129%

–  กำไรสุทธิ 16,342 ล้านบาท  เพิ่มขึ้น 245% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อนที่ขาดทุน 11,237  ล้านบาท

–  จำนวนผู้โดยสาร 10.13 ล้านคน เพิ่มขึ้น 77% เป็นส่วนของการบินไทย 6.5 ล้านคน และไทยสมายล์  3.63 ล้านคน  อัตราการบรรทุกเฉลี่ย 80% เพิ่มขึ้น 19%

รวมไทยสมายล์จบไตรมาส 1 ปี 67

–  ตามแผนการปรับโครงสร้างธุรกิจการบิน (ยุบรวมไทยสมายล์) การบินไทย ได้รับโอนเครื่องบิน A320-200 จากไทยสมายล์แล้ว 12 ลำ โดยนำไปทำการบินในเส้นทางระหว่างประเทศของการบินไทย ได้แก่ เดลี มุมไบ ธากา กัลกัตตา และทำการบินทดแทนเส้นทางไทยสมายล์  คือ ย่างกุ้ง เวียงจันทน์ พนมเปญ อาห์เมดาบัด เกาสง ปีนัง  (เริ่ม 15 ต.ค. 2566)

– โดยจะทยอยรับโอนเครื่องบินไทยสมายล์ครบ 20 ลำ ภายในไตรมาส 1 ปี 2567 จากนั้นการบินไทยจะให้บริการในเส้นทางบินของไทยสมายล์ทั้งหมด ส่วนพนักงานไทยสมายล์ 800 คน จะโอนมาที่การบินไทยทั้งหมด

– ปัจจุบันการบินไทยและไทยสมายล์ มีเครื่องบินที่ใช้ทำการบิน 68 ลำ ประกอบด้วยเครื่องบินลำตัวแคบ 20 ลำ และเครื่องบินลำตัวกว้าง 48 ลำ  นอกจากนี้ได้ทำสัญญาเช่าเครื่องบินอีก 26 ลำ โดยรับมาแล้ว 3 ลำ กลางปี 2567 นำส่งอีก 10 ลำ และส่งครบจำนวนในปี 2568

ออกจากแผนฟื้นฟู ปี 2568

คุณปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่าตามแผนฟื้นฟูกิจการที่ศาลล้มละลายกลางอนุมัติ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2564 ตามกฎหมายการบินไทยมีเวลา 5 ปี ในการทำตามแผนฟื้นฟู คือจบในปี 2569  (หากยังไม่สำเร็จตามแผนกฎหมายให้ขยายเวลาได้ครั้งละ 1 ปี รวม 2 ครั้ง)

สิ่งที่เป็นเงื่อนไขสำคัญออกจากแผนฟื้นฟู มี 2 เรื่อง 1. ส่วนของผู้ถือหุ้นต้องเป็นบวก 2. แปลงหนี้เป็นทุน หากการบินไทยทำได้ภายในสิ้นปี 2567 ก็น่าจะออกจากแผนฟื้นฟูได้ ในปี 2568  ถือว่าเร็วกว่าที่กฎหมายกำหนด  

ผลประกอบการที่ดีขึ้นทุกไตรมาส เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ การบินไทย ออกจากแผนฟื้นฟูได้เร็ว หากผลประกอบการดี เจ้าหนี้ก็พร้อมแปลงหนี้เป็นทุน และส่วนผู้ถือหุ้นไม่ติดลบ ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 ส่วนของผู้ถือหุ้นการบินไทยและบริษัทย่อย “ติดลบ” 54,706 ล้านบาท (ติดลบลดลง จากปี 2565 จำนวน 16,318 ล้านบาท)

จากแนวโน้มท่องเที่ยวที่ดีขึ้น การมีเครื่องบินใหม่เข้ามาเพิ่ม และไตรมาส 4 เป็นช่วงไฮซีซัน คาดว่าปี 2566 การบินไทย จะมีรายได้ตามเป้าหมาย 150,000 ล้านบาท จำนวนผู้โดยสารสิ้นปีนี้รวม 14 ล้านคน  ปี 2567 น่าจะมีรายได้ใกล้เคียงกับก่อนโควิด (ปี 2562) ที่ 180,000 ล้านบาท และปี 2568 รายได้จะสูงกว่าโควิด

อ่านเพิ่มเติม


แชร์ :

You may also like