HomePR NewsAIS จัดเวทีแลกเปลี่ยนระดมความคิดด้าน พัฒนาคน สังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนใน “Singtel Group People and Sustainability Symposium 2023” [PR]

AIS จัดเวทีแลกเปลี่ยนระดมความคิดด้าน พัฒนาคน สังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนใน “Singtel Group People and Sustainability Symposium 2023” [PR]

แชร์ :

 

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

AIS เป็นเจ้าภาพจัดงาน “Singtel Group People and Sustainability Symposium 2023” การประชุมระดมสมองเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดและองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่จะช่วยต่อยอดการทำงานด้านการพัฒนาคนและการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนด้านสังคม สิ่งแวดล้อม ของบริษัทโทรคมนาคมชั้นนำในกลุ่ม Singtel จาก 6 ประเทศ ประกอบด้วย AIS ไทย, Singtel สิงคโปร์, Airtel อินเดีย, Globe ฟิลิปปินส์, Optus ออสเตรเลีย และ Telkomsel อินโดนีเซีย ชูแนวคิด การทำงานในโลกยุคใหม่ที่โอบกอดความแตกต่าง ความหลากหลาย และสร้างความเท่าเทียมให้แก่ทุกคน (Re-Imagine Work with inclusive Sustainability) ในขณะที่เน้นย้ำ การนำวิสัยทัศน์การทำงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาประยุกต์สู่แนวทางการทำงานอย่างยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม (Eco Vision to Action) โดยการประชุมครั้งนี้ AIS ได้สร้างต้นแบบการจัดงานผ่านแนวคิดความยั่งยืนในทุกมิติขยายผลนำองค์ความรู้และประสบการณ์ของผู้บริหารกลุ่ม Singtel ส่งต่อในรูปแบบของการเป็นเมนเทอร์ ให้เยาวชน กลุ่มสภาเมืองคนรุ่นใหม่ กทม. (BKK Ranger) เพิ่มทักษะในการคิด วิเคราะห์ วางกลยุทธ์ เพื่อนำไอเดียมาต่อยอดในการพัฒนาและแก้ปัญหาเมืองในอนาคต

นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และธุรกิจสัมพันธ์ AIS กล่าวว่า “การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และประสบการณ์เป็นสิ่งที่เรา บริษัทในกลุ่ม Singtel ให้ความสำคัญมาโดยตลอด เพื่อให้สามารถยกระดับการดำเนินงาน เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการลูกค้า รวมไปถึงการดูแลสังคม สิ่งแวดล้อม และพัฒนาทรัพยากรบุคคล ที่เป็นหัวใจสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน รวมถึงสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจได้อย่างมีนัยสำคัญ  โดยในปีนี้ได้ข้อสรุปและกรอบความร่วมมือจากการประชุม ดังนี้

*กลยุทธ์การพัฒนาอย่างยั่งยืนแบบมีเป้าหมาย (Purpose-led sustainability strategy)

1. E-Environment and Climate การป้องกันและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยมีกระบวนการหรือกิจกรรมที่มุ่งเน้นในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การลดการใช้วัสดุหรือการใช้ทรัพยากรโดยคงประสิทธิภาพและคุณภาพของผลิตภัณฑ์หรือบริการ (Dematerialization) เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติมุ่งสู่ Net Zero

2. S-Social Impact การหาแนวทางความเป็นไปได้ในการสร้างความปลอดภัยทางดิจิทัล สิทธิมนุษยชน ความหลากหลาย ความเสมอภาค และการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม

3. G-Governance การจัดตั้งคณะกรรมการผู้บริหารด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน การปฏิบัติตามข้อกำหนด การให้ความรู้และการฝึกอบรมต่างๆ

4. V-Value Creation การสร้างคุณค่าเพิ่มจากผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การสร้างคุณค่าที่มุ่งเน้นไปยังความต้องการของลูกค้า เพื่อนำไปสู่การเป็นแบรนด์ที่เป็นผู้นำด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน

*การแลกเปลี่ยนความร่วมมือเพื่อวิเคราะห์หาโอกาสการพัฒนาแผนกลยุทธ์โครงการด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Opportunity Framework) ภายในกลุ่ม Singtel ได้มีการอัปเดตแลกเปลี่ยนความรู้และความสนใจร่วมกันทั้งด้านงาน Sustainability ในฐานะโครงการและกิจกรรมที่สำคัญเกี่ยวกับ ESG ที่ตนเองทำ และมองหาความสนใจร่วมกัน เพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการร่วมมือกัน เพื่อเสริมความแข็งแกร่งของการบริหารและการรวม ESG เข้ากับธุรกิจและเป็นไปตามแนวทางการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ

*กรอบความร่วมมือระหว่าง People และ Sustainability ในการ Empower Every Generation: การสร้างบุคลากรที่มีสามารถขับเคลื่อนวัฒนธรรมขององค์กรผ่านแนวทางปฏิบัติด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน สร้างผลลัพธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นต่อองค์กร โดยกรอบความร่วมมือระหว่าง People และ Sustainability นั้นยังคำนึงถึงการปรับทิศทางของค่าตอบแทนหรือแรงจูงใจให้สอดคล้องกับแนวทางด้านความยั่งยืน

“นอกจากนี้ในฐานะเจ้าภาพ AIS ยังสร้างต้นแบบการจัดประชุมผ่านแนวคิดความยั่งยืน (Sustainability) ในทุกมิติตามแนวทางชดเชยคาร์บอนจากการจัดกิจกรรม (Carbon Neutral Event)  ตั้งแต่การวางแผนเดินทางจากทั้งในและต่างประเทศ การเลือกโรงแรมที่พักซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, การใช้รถ EV Bus, รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า MuvMi, การจัดเลี้ยงจากเมนูอาหารผ่านแนวคิด Food Waste ท่ามกลางวิถีการใช้ชีวิตของชุมชนบ้านครัว พร้อมขยายผลร่วมนำความรู้และประสบการณ์จากผู้บริหารกลุ่มสิงเทล ส่งต่อให้แก่เยาวชนในสภาเมืองคนรุ่นใหม่ กทม. (BKK Ranger) โดยใช้เวลารวมกว่า 230 ชั่วโมง ในการเป็นผู้ให้คำปรึกษา ฝึกฝนทักษะสำคัญ อาทิ ความสามารถในการระบุปัญหา วางแผนงาน กลยุทธ์ งบประมาณ และการดำเนินงานผ่านมุมมองเรื่องความยั่งยืน (Sustainability Lens) ให้สามารถนำไปต่อยอดโครงการเพื่อสังคม หรือนำแนวคิดไปประยุกต์ในเชิงธุรกิจอย่างสมเหตุ สมผลได้ในอนาคต รวมไปถึงทักษะในการนำเสนอโครงการได้อย่างมั่นใจ (Pitching Skill)  ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถนำไปต่อยอดการพัฒนาโครงการเพื่อแก้ปัญหาเมืองให้แก่ กทม. ได้อย่างดี”

โดย นางสาววรรธน์วรี ไชยมงคล นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตัวแทน จาก BKK Ranger กลุ่ม Student Report Incident  เผยความรู้สึกจากการเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ว่า “หลังจากทีมได้รับการ แนะนำจากผู้บริหารเอไอเอส และกลุ่ม Singtel ทำให้ไอเดียของโครงการพัฒนาแพลตฟอร์มพื้นที่แสดงความคิดเห็นของเด็กๆเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนและเชื่อมโยงกับผู้เกี่ยวข้องในห่วงโซ่คุณค่าได้อย่างครบถ้วนมากยิ่งขึ้น”

ส่วนกลุ่ม Redeem Bottles for Ticket Vouchers ที่นำเสนอโครงการเปลี่ยนขวดพลาสติกเป็นตั๋ว โดยนางสาวผกามาศ เอกผล นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า “ถือเป็นประสบการณ์ใหม่ ในการได้รับการโค้ชเพราะทำให้เห็นขั้นตอนการทำโครงการเพื่อความยั่งยืน  ช่วยให้ทีมพัฒนาโครงการได้อย่างมั่นใจ และมีหลักคิดที่ชัดเจนในการนำเสนอโครงการเพื่อต่อยอดกับหน่วยงานของ กทม. ได้เป็นอย่างดี”

นางสายชล ย้ำในตอนท้ายว่า “ความยั่งยืน คือ หัวใจสำคัญที่ต้องถูกสอดแทรกอยู่ในทุกกระบวนการทางธุรกิจและรูปแบบการใช้ชีวิต โดยเรายินดีที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการส่งต่อแนวคิดนี้ไปสู่สังคมในวงกว้างเพื่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวก ที่จะย้อนกลับมาเป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตของทุกคนต่อไป”


แชร์ :

You may also like