HomeBig Featuredจับตา Branding & Communication แห่งอนาคต เมื่อผู้บริโภค “ใจไวกว่ากาย” นักการตลาดต้อง Design Customer Experience มากขึ้น

จับตา Branding & Communication แห่งอนาคต เมื่อผู้บริโภค “ใจไวกว่ากาย” นักการตลาดต้อง Design Customer Experience มากขึ้น

พร้อม 4 แนวทาง Marketing Model Mix ใหม่ ตอบโจทย์ Future of Branding

แชร์ :

Future of Branding BB 2023

ท่ามกลางโลกยุคใหม่ที่หมุนเร็วขึ้นและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้นักการตลาดยุคใหม่ หรือ “นักการตลาดแห่งโลกอนาคต” ต้องมีการปรับตัวอยู่ตลอดเวลา เพื่อทำหน้าที่สื่อสารธุรกิจกับลูกค้าให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค อีกทั้งยังเพื่อพัฒนาทักษะของตนเองให้สอดรับกับสภาวะความเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทต่างๆ

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ในงานสัมมนา UNLOCK THE FUTURE by Brand Buffet ปลดล็อคอนาคตสู่การตลาดยุคใหม่ จึงได้เกิดเป็นหนึ่งในหัวข้อของการสัมมนา Future of Branding & Communication โดย คุณโอลิเวอร์ กิตติพงษ์ วีระเตชะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มด้านการตลาดและนวัตกรรม Dentsu Group ถึงทิศทางของการสื่อสารของนักการตลาดยุคใหม่ที่ไม่ใช่แค่เรื่องของงานขายเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป หากแต่คือการสร้าง Future of Branding  ที่ต้องครอบคลุมทุกมิติการเปลี่ยนแปลงมากยิ่งขึ้น

จับตา Branding & Communication ทิศทางอุตสาหกรรมความคิดสร้างสรรค์ยุคใหม่ ที่เชื่อมกับเทคโนโลยีมากขึ้น

เมื่อเทรนด์ผู้บริโภคและโลกเปลี่ยนแปลงไปสิ่งที่เกิดขึ้นที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าการทำธุรกิจแบบเดิมโดยไม่มีตัวช่วยยากที่จะแข่งขัน ทำให้การทำ Branding หรือการทำธุรกิจในแบบเดิมอาจจะไม่เพียงพอต่อการแข่งขันกับคู่แข่ง ดังนั้นสิ่งที่นักการตลาดต้องทำนับจากนี้ในมุมของนักการตลาดจำเป็นต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ และเรียงลำดับใหม่อยู่เสมอกลายเป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่นักการตลาดยุคใหม่จำเป็นต้องทำ แน่นอนในฐานะนักการตลาด สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ตื่นเต้นมากกว่าคือ การออกไอเดียได้ แต่ทำช้ากว่าคู่แข่ง คือสิ่งที่น่าตระหนัก

โดยปัจจุบันเป็นยุคของ “ผู้บริโภคที่ใจไวกว่ากาย” และสื่ออยู่ในยุคที่ “ข่าวร้ายลงฟรี ข่าวดีเสียตังค์” ทำให้พลวัตต่างๆที่ขับเคลื่อนธุรกิจอยู่ในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เข้าสู่ยุคใหม่ที่เป็น HYPER-CONNECTED ที่อยู่ในอุตสาหกรรมต่างๆแห่งความคิดสร้างสรรค์ ที่สินค้าแต่ละประเภทมีความเป็น Segmentation ลงเรื่อยๆ จาก อดีตสินค้า 1 แคธิกอรี่ ทำตลาดเพียง 7-8 เซกเมนต์ก็ถือว่ามีความเข้าใจลูกค้าแล้ว แต่ปัจจุบันบริบทเปลี่ยนไปเป็น 1,800 เซกเมนต์ต่อสัปดาห์ เพื่อจับตาความเปลี่ยนแปลงนั่นคือสิ่งที่มาจาก Data ทั้งหมด

ขณะที่ปีที่ผ่านมา Data ในโลกออนไลน์ เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ข้อมูลในโลกออนไลน์มีจำนวนมหาศาล ทำให้นักการตลาดจำเป็นต้องทำ Data Driven หรือตัวเลขเชิงประจักษ์ที่ออกมาจากพฤติกรรมผู้บริโภคมาเป็นตัวหลักในการทำงาน  หรือคนที่อยู่ในโลกธุรกิจสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็น CEO ,Marketer ฯลฯ จำเป็นต้องคิดมากกว่าเดิม

โดยหน้าที่ของ CMO ยุคใหม่ ไม่ใช่แค่เรื่องการตลาดเพียงอย่างเดียว แต่จำเป็นต้องมี Know How และ Knowlage เข้ามาเป็นองค์ประกอบสำคัญ โดยนักการตลาดยุคใหม่จะต้อง Design Customer Experience ผ่าน Marketing Mix รูปแบบต่างๆให้เป็น เพื่อสร้างรูปแบบเทคโนโลยีใหม่ เนื่องจากองค์ประกอบของการทำธุรกิจยุคใหม่ จากนี้ไปจะได้ยินคำว่า “เศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม” หรือ “เศรษฐศาสตร์เชิงประสบการณ์” มากขึ้น ซึ่งแน่นอนจะต้องมีการปรับกลยุทธ์ ปรับแผนด้านมาร์เก็ตติ้งแคมเปญต่างๆ แบบเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น

 

คุณโอลิเวอร์ กิตติพงษ์ วีระเตชะ

คุณโอลิเวอร์ กิตติพงษ์ วีระเตชะ

จาก AI สู่ความคาดหวังของนักการตลาด-ซีอีโอทั่วโลก นำมาพัฒนาบทบาทการทำตลาดยุคใหม่

จากแนวโน้มดังกล่าว Dentsu Group ในฐานะเอเจนซี่ชั้นนำที่มีการ Operate อยู่ในกว่า 190 ประเทศทั่วโลก และในทุกปีจะต้องมีการทำ Case Study ว่า CEO หรือผู้บริหารมีความกังวล และความคาดหวังในเรื่องใดบ้างซึ่งจากผลการสำรวจพบว่า สิ่งที่นักการตลาดหรือ CEO คาดหวังในการทำการตลาดยุคใหม่ สิ่งคำนึงถึงคือเรื่องของลูกค้า ลูกค้ามาเป็นลำดับแรกเสมอ ตั้งแต่ Customer First , Customer Second และ Customer Third ซึ่งทุกอย่างล้วนเกี่ยวข้องกับลูกค้าทั้งหมด ตั้งแต่การเอาเทคโนโลยีมาเกี่ยวข้องกับผู้บริโภค เพื่อสร้างความแน่ใจว่าทั้งหมดเกี่ยวข้องกับลูกค้าในทุกกระบวนการ ซึ่งไม่ใช่การสร้างการรับรู้เพียงอย่างเดียว แต่คือทุกกระบวนการในการรองรับและขยายความต้องการของลูกค้า ให้มีความเพอร์เซอร์นอลไลซ์มากขึ้น

โดยในอนาคตอันใกล้เป็นยุคของการนำ AI มาเจนเนอเรตไอเดียไปกับลูกค้าในการทำแคมเปญร่วมกับสิ่งต่างๆ  โดยในโลกอนาคต รูปแบบการตลาดจะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง HUMAN IMAGINATION X ARTIFICIAL INTELLIGENCE อาทิ รองเท้าไนกี้  Collab กับแบรนด์ Tiffany & Co ผลที่ได้คือลูกค้าของทั้ง 2 แบรนด์เข้าไป เจนเนอเรตทันทีว่าสินค้า (รองเท้า) ที่ออกมาหน้าตาจะเป็นแบบไหน ซึ่งหน้าที่ต่อไปของนักการตลาดคือการนำข้อมูลเหล่านั้นมาพัฒนาเป็นสินค้าต่อไป

จากที่กล่าวข้างต้นทำให้บทสรุปที่ได้จากการทำแคมเปญยุคใหม่คือ ลูกค้าไม่ได้มองแบรนด์เป็นแค่แคธิกอรี่ แต่ต้องมองเป็นสหวิทยาการมากขึ้น และมองแบรนด์ที่เปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยี และเจนเนอเรตขึ้นมา ดังนั้นบทบาทของลูกค้าในอนาคตจะเข้ามาเป็นครีเอเตอร์ร่วมกับแบรนด์ เกิดเป็นแบรนด์ไดเรคชั่นขึ้นมา เพราะในที่สุด Positive Digital Brand Experient ที่ Creates คุณค่าให้กับลูกค้า จะได้ประโยชน์ถึง 2 ขา คือการ Build Relationships และ Build Brand ไปในตัว จนเกิดเป็น Reievency (Personalization) ที่มีประโยชน์ในตัวเอง โดยใช้ความน่าเชื่อถือสื่อสารให้ต่างจากคู่แข่ง ขณะเดียวกันเรื่องของการสื่อสารการตลาดไม่ใช่แค่เรื่องของคอนเทนต์ แต่ต้องมีการเบลนด์ตัวเองให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างแรงจูงใจหรือแบรนด์ดิ้งไปยังลูกค้า

อย่างไรก็ตามแม้เทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทต่อนักการตลาดมากขึ้น ทว่าทุกอย่างจะพึ่งพาแต่เทคโนโลยีไม่ได้ แต่ต้องทำงานกับบุคคลที่มีหน้าที่ขับเคลื่อนการตลาด และเมื่อมองไปยังแบรนด์เกิดใหม่ที่จดทะเบียนในไทยมีอัตราสูงถึงเกือบ 1000,000 แบรนด์ต่อปี (เฉลี่ยอัตราเพิ่มขึ้น 5% ต่อปี) แต่มีแบรนด์เพียงไม่กี่รายที่อยู่รอดในตลาด  ดังนั้นสิ่งที่จำเป็นการในการสร้างเศรษฐกิจของระบบที่แตกต่างคือสิ่งที่จำเป็นต้องทำเพื่อความอยู่รอด ในยุคที่ผู้บริโภคดื้อยาขึ้นเรื่อยๆ โดยหน้าที่ของการทำแบรนด์ไม่ใช่แค่การทำการตลาดจัดโปรโมชั่น แต่สิ่งสุดท้ายหน้าที่ของการทำแบรนด์คือ “เมื่อทำแล้วคนเลือกเรา” และ “ยอมจ่ายเพื่อเรา” ขณะเดียวกันก็ต้องมีศักยภาพพอจะขยายแฟรนไชส์ของแบรนด์ได้ นั่นคือสิ่งที่ทำให้แบรนด์ประสบความสำเร็จ

ดังนั้นการคุยเรื่อง Future of Branding ไม่ใช่การทำหรือคิดอะไรใหม่ๆ ตลอดเวลา เพราะของเก่ายังไม่รอด แต่คือการวิเคราะห์ว่าธุรกิจ และสินค้าของเราคืออะไร “อย่าตามคนอื่น” และ “มีสติ” ที่สำคัญแบรนด์ที่ดีต้อง “รู้ตัวเอง” ดังนั้นสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ต้องเข้าใจพื้นฐานของสินค้าของก่อนที่จะแยกรูปแบบการทำงานออกมา โดยที่เหมารวมเป็นแคธอกอรี่ไม่ได้เหมือนในอดีต

 

Future of Branding

Branding โลกอนาคตไม่มีใครกำหนดได้ แต่คือ Marketing Model Mix รูปแบบใหม่ที่ต้องวิเคราะห์มากขึ้น

ขณะที่เทรนด์ของนักการตลาดในปีหน้า คือ Marketing Model Mix ที่ต้องลืม 4P หากแต่คือการนำ Marketing Analysis หรือการนำ AI เข้ามาวิเคราะห์การตลาดร่วมด้วย เพื่อสร้างประสิทธิภาพและมูลค่าในการทำงานร่วมกับแพลตฟอร์มต่างๆ ได้ง่ายขึ้น  โดย Why จะต้องใหญ่กว่า What เสมอ ในโลกของ Future of Brand โดยมีจุดแข็ง 4 ประการ ได้แก่

  • Precision in Eliminating Inefficiencies ความแม่นยำ และเพิ่มประสิทธิภาพของการทำตลาด
  • Maximize Data Like Never Before การเพิ่มข้อมูลให้สูงสุดอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
  • A True Measurement of Performance การวัดประสิทธิภาพที่แท้จริง
  • Optimize to Maximize Sales การเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มยอดขายสูงสุด

 

ทั้งหมดทำให้เกิด Marketing Model Mix รูปแบบใหม่ ผ่าน 4 ประการได้แก่

  1. Interpretability การตีความได้
  2. Scalability ความสามารถในการขยายขนาด
  3. Synergy การทำงานร่วมกัน
  4. Optimization การเพิ่มประสิทธิภาพ

 

Future of Branding By BB

 

โดย  Marketing Model Mix ของแบรนด์รูปแบบใหม่สิ่งสำคัญคือการนำไอเดียมา Excution หรือบริหารจัดการให้ได้ และที่สำคัญแบรนด์จะต้องหลุดพ้นจากการทำการตลาดแบบไทย หรือหลุดจากความเพ้อเจ้อ หรือการอวยตัวเอง แต่ต้องมี Dynamic เพื่อสร้างแรงขับเคลื่อนให้แก่แบรนด์มากขึ้น  โดย Future Brand จะต้องเกิดจากอินไซต์ที่ดี และ Blend เข้ากับสังคมทั้งความเชื่อ ไลฟ์สไตล์ ความยั่งยืน ไปจนถึง Retention Journey ต่างๆที่ต้องสอดคล้องกันอีกด้วย  โดยไม่ติดกับดักการทำแบรนด์แบบเดิมๆ

นอกจากนี้วิถีการใช้ชีวิตของมนุษย์มีคำศัพท์และเรื่องใหม่ๆออกมาอย่างต่อเนื่องในแต่ละปี ก่อให้เกิดเทรนด์ใหม่ๆ ที่แบรนด์ต้องนำเข้าไปใช้ในการคิดวิเคราะห์การตลาดด้วย โดยประการแรกคือเชื่อม Connected Experieces สร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้าในการเพิ่ม Journey ของแบรนด์เข้าไปด้วย ซึ่งจะเป็นการสร้าง Seemless Experieces ให้แก่ลูกค้าตามแต่ละไลฟ์สไตล์

ประการต่อมาคือ Data Maximization คือการนำ Data ที่มีประสิทธิภาพในทุกแง่มุมมาเสริมการตลาดและทำความเข้าใจให้มากขึ้น และสุดท้ายการทำ AI-Powered Personalisation หรือการนำ AI เข้ามาร่วมประยุกต์กับการทำ Future Branding ในขอบเขตที่ไม่สามารถทำได้แบบปกติ เพื่อรีเช็ควิธีการคิดการทำงานให้ตอบโจทย์มากที่สุด เพราะอนาคตประสบการณ์ของลูกค้าจะเป็นตัวบ่งชี้มาลูกค้ามาความพึงพอใจต่อแบรนด์มากแค่ไหน

 

“ในอนาคตแบรนด์ไม่ได้อยู่ในยุคที่พูดเรื่องของตัวเอง แต่คือการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดี มีความเข้าใจลูกค้า เพื่อสร้างการจดจำที่ดีแก่ลูกค้าและแบรนด์จะเกิดได้ในที่สุด โดยไม่ตกหลุมพรางการตลาดอีกต่อไป แน่นอนหากมี Customer Journey ที่ดีอาจจะมี New Product อยู่ในนั้นก็ได้” คุณโอลิเวอร์ กิตติพงษ์ กล่าว

ท้ายที่สุดในอนาคตนักการตลาดต้องตัดสินใจว่าต้องการให้แบรนด์ของตนเป็นอย่างไรต่อไป เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่และตรงตามโพซิชั่นให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น  Mass Market Brands , Convenience Brands , Gravity Brands และ Boutique Brands

ติดตามพวกเราได้ที่ LINE 


แชร์ :

You may also like