HomeSponsored“บัวหลวงเอสเอ็มอีแฟร์” พื้นที่ต่อยอดสู่ตลาดใหม่ รวมกลุ่มแชร์ความรู้ ช่วยปลดล็อคข้อจำกัดให้คนทำธุรกิจ

“บัวหลวงเอสเอ็มอีแฟร์” พื้นที่ต่อยอดสู่ตลาดใหม่ รวมกลุ่มแชร์ความรู้ ช่วยปลดล็อคข้อจำกัดให้คนทำธุรกิจ

แชร์ :

“งานแฟร์” นับเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์สำหรับผู้ประกอบการระดับเอสเอ็มอี ที่สามารถช่วยเปิดตลาดใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็ว เพราะนับเป็นโอกาสสำคัญที่จะได้แนะนำสินค้าหรือบริการของตนเองให้ตลาดได้รู้จัก ทดลองใช้ และสามารถสร้าง “ความประทับใจ” ให้แก่ลูกค้าในเบื้องต้นได้ หนทางที่จะพาธุรกิจให้เติบโตไปจนถึงประสบความสำเร็จ ก็ขยับใกล้เข้าไปแล้วอีกหนึ่งก้าว

เช่นเดียวกัน งาน “บัวหลวงเอสเอ็มอีแฟร์” ก็ถือกำเนิดขึ้นจากไอเดียของ “คุณโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์” อดีตประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ ตั้งแต่ปี 2552 ด้วยเป้าประสงค์เดียวกันนี้ที่จะรวบรวมบรรดาผู้ประกอบการเอสเอ็ม ระดับคุณภาพที่เป็นลูกค้าของธนาคารกรุงเทพและชมรมบัวหลวงเอสเอ็มอี มาร่วมกันเปิดตลาดให้ลูกค้าได้รู้จัก และลิ้มลองสินค้าคุณภาพส่งตรงจากผู้ผลิตสู่มือผู้บริโภค นอกจากจะได้โอกาสเปิดตลาดใหม่ ได้เจรจาธุรกิจธุรกิจแล้ว ยังช่วยบทบาท และลดต้นทุนที่ต้องจ่ายให้แก่ “คนกลาง” ออกไป ทำให้ราคาขายจะถูกลงจนโดนใจลูกค้า และผู้ขายก็ยังคงได้กำไรสมน้ำสมเนื้อเช่นเดิม

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

นายทัฬห์ สิริโภคี ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สายลูกค้าธุรกิจรายปลีก ธนาคารกรุงเทพ เล่าว่า งาน “บัวหลวงเอสเอ็มอีแฟร์ 2566 ครั้งที่ 14 @Bangkok Bank” ที่เพิ่งจัดไปเมื่อวันที่ 8 ธันวาคมที่ผ่านมา ธนาคารได้เปิดพื้นที่ลานหน้าธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ สีลม ต้อนรับ 85 ผู้ประกอบการมาร่วมออกร้าน โดยคัดสินค้าเด่นคุณภาพดีกว่า 200 รายการ ทั้งสินค้าอุปโภคบริโภค ของแต่งบ้าน อาหารสด อาหารแปรรูป มาให้เลือกซื้อใช้เอง หรือเป็นของขวัญของฝากในช่วงเทศกาลปีใหม่ได้อีกด้วย เรียกว่าเป็นนาทีทอง สำหรับชาวสีลม-สาทร และพื้นที่ใกล้เคียงที่จะได้ช้อปสินค้าราคาเป็นมิตรโดยตรงจากผู้ประกอบการเช่นนี้“ที่ผ่านมาเศรษฐกิจเติบโตไม่ดีนัก ทั้งยังมีปัญหาเรื่องโควิด-19 อีก ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่มีอยู่ 3-4 ล้านราย ถือว่าได้รับผลกระทบหนักมาก และเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วย เพราะเอสเอ็มอีเหล่านี้จ้างงานรวมกว่า 17-18 ล้านราย หลายธุรกิจดิ้นรนปรับตัวให้อยู่รอดและช่วยกันประคับประคองจนผ่านวิกฤตมาได้ ธนาคารจึงตั้งใจสร้างสรรค์งานบัวหลวงเอสเอ็มอีแฟร์ในปีนี้อย่างเต็มที่ ด้วยหวังว่าจะเป็นอีกหนึ่งแรงสนับสนุนและกำลังให้ผู้ประกอบการเดินหน้าต่อไปได้ และมีธนาคารกรุงเทพ ที่เป็นเหมือน “เพื่อนคู่คิด” เคียงข้างกันในทุกสถานการณ์ ดูแลกันในทุกเรื่อง เพื่อเติบโตไปด้วยกันอย่างมั่นคง” นายทัฬห์ กล่าว

ในปีนี้ ยังเป็นครั้งแรกที่ได้จัดกิจกรรมสัมมนา “Digital Transformation for SME” เพื่อส่งเสริมความรู้และประสบการณ์ให้แก่สมาชิกชมรมบัวหลวงเอสเอ็มอี และยังเปิดให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั่วไปเข้าฟังได้อีกด้วย โดยได้รับเกียรติจากผู้บริหารองค์กรชั้นนำ ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) มาร่วมให้ความรู้และเสริมศักยภาพธุรกิจ ตลอดจนการออกบูธให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการอีกด้วย

คุณระมิล ดีสวาทธร กรรมการบริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด ดอกไม้ไทย บาย สำเนียง ผู้ประกอบการเครื่องดื่มจากดอกไม้ 100% คือ 1 ในผู้ประกอบการที่เข้าร่วมออกบูธในงาน บัวหลวงเอสเอ็มอีแฟร์ ในครั้งนี้เป็นปีแรก เล่าว่า สิ่งที่คาดหวังในการเข้าร่วมออกบูธในครั้งนี้ คือการต่อยอดการประชาสัมพันธ์สินค้าของตนเอง เพราะสำหรับผู้ประกอบการรายเล็ก ๆ สิ่งสำคัญ คือ ช่องทางการโปรโมทสินค้าทั้งจากภาครัฐและเอกชน เพื่อขยายตลาดให้เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค แม้จะมั่นใจในตัวสินค้าว่ามีคุณภาพ แต่หากขาดการสนับสนุนด้านการประชาสัมพันธ์ โอกาสที่สินค้าจะเพิ่มยอดขายได้ก็ค่อนข้างลำบาก

“ธรุกิจเราเป็นธุรกิจเล็ก ๆ เริ่มจากคุณแม่ ขายน้ำสมุนไพรในตลาดน้ำอัมพวา จนได้รับโอกาสให้พัฒนาสูตรน้ำจากดอกไม้ ร่วมกับมหาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยาที่ได้วิจัยออกมาจนพบดอกไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง 5 ชนิด และได้เริ่มมาขยายเป็นโรงงานผลิตสินค้าจริงจังในช่วงโควิดที่ผ่านมา หรือประมาณ 3 ปีเท่านั้น ซึ่งตอนนี้เรามีสินค้าดี ที่ได้รับการการันตีคุณภาพด้วยงานวิจัย ที่มั่นใจว่าจะมัดใจผู้บริโภคได้ แต่เรายังเข้าไม่ถึงผู้บริโภคอย่างที่คาดหวัง ดังนั้นการออกงานแฟร์แบบนี้ โดยเฉพาะงานที่รวมผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไว้ด้วยกัน ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการประชาสัมพันธ์สินค้าและคาดว่าจะสามารถต่อยอดไปได้ถึงการเจรจาธุรกิจร่วมกันได้ในอนาคต”

เธอยังเห็นด้วยอย่างเต็มที่และสนับสนุนให้ผู้ประกอบการนำ “เทคโนโลยี และ นวัตกรรม” เข้ามาสนับสนุนเพื่อต่อยอดการทำธุรกิจและช่วยเพิ่มขีดความสามารถแข่งขันในยุคดิจิทัล แต่จากประสบการณ์ของเธอก็พบเจอปัญหาเรื่องนี้ไม่น้อย แม้ภาครัฐจะส่งเสริมแนวทางการปรับตัวดังกล่าวก็จริง แต่ในทางปฏิบัติกลับยังพบว่า การทำงานของแต่ละหน่วยงานยังไม่สอดคล้องกันเท่าที่ควร เช่น ผลิตภัณฑ์จากดอกไม้ แม้จะมีงานวิจัยรองรับไปแล้ว แต่เมื่อนำไปจดทะเบียนกับองค์การอาหารและยา หรือ อย. กลับพบว่ายื่นจดไม่ได้เนื่องจากไม่อยู่ในหมวดหมู่สินค้าอาหาร เป็นต้น ผู้ประกอบการจึงต้องลงทุนลงแรงมาก มีต้นทุนทั้งค่าใช้จ่ายและเวลา หากได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจังน่าจะผลักดันให้ธุรกิจเอสเอ็มอีเติบโตได้อีกมหาศาล

ขณะเดียวกัน การมีหน่วยงานหรือองค์กรเอกชน หรือการรวมกลุ่มกัน จะช่วยเพิ่มพื้นที่สำหรับการแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ ตลอดจนการสร้างสรรค์โอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ได้มากขึ้น ช่วยปลดล็อคข้อจำกัดต่าง ๆ ให้แก่ธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการหาตลาดใหม่ การได้แนะนำสินค้าหรือประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้ารู้จักมากขึ้น อันจะเป็นช่วยเพิ่มโอกาสเติบโตให้แก่ธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว ดังเช่นที่เธอได้เข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งใน “บัวหลวง เอสเอ็มอีแฟร์” ครั้งนี้นั่นเอง
ปี 2566 กำลังจะผ่านไป และ 2567 กำลังจะเริ่มต้นขึ้น พร้อมกับ “ความหวัง” ว่าเศรษฐกิจน่าจะสดใสมากขึ้น และยังประโยชน์ให้แก่ชาวเอสเอ็มอีทุกคน ขณะเดียวกัน ก็ต้องไม่ลืม “ความมุ่งมั่น” ที่จะดิ้นรน หาความรู้ ปรับตัว และต่อสู้ เพื่อให้ก้าวเดินบนเส้นทางธุรกิจต่อไปได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน และเชื่อมั่นว่าปีหน้า งาน “บัวหลวงเอสเอ็มอีแฟร์” จะได้นำเสนอสินค้าคุณภาพจากฝีมือคนไทยและต้อนรับผู้ประกอบการรายใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นอีกด้วย


แชร์ :

You may also like