จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีสำหรับงานสัมมนา UNLOCK THE FUTURE ปลดล็อคอนาคตสู่การตลาดยุคใหม่ ของ Brand Buffet โดยปีนี้มาในหัวข้อ CHALLENGE of 2024 เพื่ออัพเดทเทรนด์การตลาด โอกาสธุรกิจและความท้าทายในปี 2024
หนึ่งใน Session ที่น่าสนใจคือแนวทางการสร้าง Branding ของภาคการท่องเที่ยวของไทยที่กำลังกลายเป็นกระแสที่มาแรงไปทั่วทุกมุมโลก จนเกิดปรากฏการณ์ต่างๆมากมายที่เกี่ยวข้องทั้งเรื่องอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว จนกลายเป็น Soft Power ที่ถูกพูดถึงในเวลานี้
โอกาสนี้ “คุณนิธี สีแพร” รองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาด ททท. ได้มาร่วมสร้างความกระจ่างกับการสร้างแบรนด์ในแบบฉบับการท่องเที่ยว ในหัวข้อ Future of Thailand Branding กับการปั้นแบรนด์ของประเทศไทยในภาคการท่องเที่ยวที่ Branding คือหัวใจสำคัญในการดึงดูดความสนใจจากผู้คนทั่วโลก
จาก Amazing Thailand สู่การสร้าง Thailand Branding เสริมแกร่งท่องเที่ยว สร้างเม็ดเงินติด Top 5 โลก
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. คือหน่วยงานที่มีบทบาทต่อในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยรับผิดชอบด้านการตลาดโดยเฉพาะในการส่งเสริมชักชวนนักท่องเที่ยวทั้งชาวต่างชาติและชาวไทยให้เที่ยวไทย ตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมาสิ่งที่ ททท.ขับเคลื่อนมาอย่างต่อเนื่องไม่ใช่แค่เรื่องของ “ภาคการท่องเที่ยว” หากแต่คือการปั้น Thailand Branding ที่ต้องพัฒนาแบรนด์ท่องเที่ยว สู่แบรนด์ของประเทศให้ทุกอย่างส่งเสริมซึ่งกันและกันตั้งแต่ระดับชุมชน ผู้ประกอบการขนาดเล็ก และระดับประเทศ ไปจนถึงประชาชนทุกภาคส่วน จนสำเร็จลุล่วงมายาวนาน
ทำให้ “ไทย” กลายเป็นอีกหนึ่งจุดหมายปลายทางในฝันของนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก โดย U.S. News สื่อจากสหรัฐอเมริกา จัดอันดับให้ประเทศไทยขึ้นแท่นติดอันดับที่ 29 ของโลกและเป็นอันดับ 5 ของ เอเชีย ถูกยกให้เป็นประเทศที่มีผู้มาเยือนมากสุดในโลก อาหารอร่อยในดินแดนแห่งรอยยิ้มประจำปี 2023 ขณะที่รายงานของ Expat Insider 2023 ยังจัดให้ไทยได้รับการจัดให้อยู่อันดับที่ 6 ประเทศที่เป็นจุดหมายปลายทางที่น่าอยู่และเหมาะให้ชาวต่างชาติมาทํางานมากที่สุดในโลก จาก 53 อันดับทั่วโลก
เรื่องของ Branding คือสิ่งที่ ททท. พัฒนามาอย่างต่อเนื่องอยู่คู่กับท่องเที่ยวมาเป็นเวลานาน จากจุดเริ่มต้นกับโฆษณการท่องเที่ยว ผ่านแคมเปญ “Visit Thailand year ปีท่องเที่ยวไทย” ครั้งแรกในปี 2523 พัฒนามาต่อเนื่อง ทั้ง ด้านแบรนด์ดิ้งที่ยั่งยืน โลโก้ ตลอดจน Brand Identity ที่สะท้อนเอกลักษณ์ความเป็นไทย จนมาเป็น Amazing Thailand นับตั้งแต่ปี 2541 จนมาถึงปัจจุบันที่มีการปรับกลยุทธ์และรูปแบบที่สะท้อนจุดขายของประเทศ ดังนั้นการที่จะทำให้ Branding Thailand เติบโตได้ในระยะยาวจำเป็นต้องมีการพัฒนาในด้านต่างๆ เพื่อสร้าง Brand DNA ให้แข็งแกร่งผ่าน 4 แนวคิดหลักได้แก่
- Brand Mission แบรนด์เราเกิดมาเพื่ออะไรหรือเกิดมาเพื่อขายอะไร
- Brand Values แบรนด์เราให้คุณค้า หรือช่วยเพิ่มประโยชน์อะไรให้กับลูกค้าของเรา
- Brand Position แบรนด์ของเราถูกมองโดยตลาดว่าอยู่ในจุดไหนของตลาด เช่น เป็นแบรนด์ราคาแพง แบรนด์คุณภาพดี แบรนด์นิสัยดี และอื่นๆ
- Brand Position ถ้าเปรียบเทียบกับคน แบรนด์จะมีบุคลิกภาพอย่างไร
เมื่อนำทั้งหมดมาตีโจทย์และผสมผสานเข้าด้วยกันแล้ว ทำให้ Thailand Branding ถูกถ่ายทอดออกมา โดยมีเอกลักษณ์และจุดแข็งจนเป็นที่น่าจดจำ ผ่านแคมเปญ Amazing Thailand ที่ทุกคนจดจำได้เป็นอย่างดี
เปิดแนวคิด “5 ทิศทาง” สูตรปั้นท่องเที่ยวไทน สู่จุดหมายปลายทางเบอร์ 1 ท่องเที่ยวโลก
ขณะที่ในปี 2567 เป็น ปีที่ ททท. จะผลักดันอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ให้เคลื่อนไปข้างหน้า มุ่งสู่การเป็นประเทศที่สร้างรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติสูงที่สุดติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก โดยตั้งเป้าหมายสร้างรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในประเทศอยู่ที่ 1.92 ล้านล้านบาท และวางเป้าหมายเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2567 เป็น 35 ล้านราย จากสิ้นปีนี้ที่คาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามา 25 ล้านราย
สำหรับแนวทางการพัฒนาเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่จะมาเยือนนั้นจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาจุดแข็งในด้านต่างๆ ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น แหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมที่หลากหลาย การเป็นศูนย์กลางในภูมิภารอาเซียน ความโดดเด่นด้านอาหาร (Gastronomy) ทั้งประเภท Street Food และอาหาร Fine Dinning การเป็นศูนย์กลาง Medical and Wellness Tourism และการเป็นประเทศอันดับต้นๆ ของโลกที่ Digital Nomad ให้ความสนใจ
นอกจากนี้ยังมีกลยุทธ์หลักที่จะผลักดันให้สามารถสร้างรายได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ก็คือการโฟกัสไปที่กลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพสูงใน 10 ประเทศหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ จีน เกาหลี อินเดีย ฯลฯ และเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ททท. ได้วางกรอบความสำเร็จไว้ต่างๆ ผ่านนโยบาย 5 ทิศทาง สู่เป้าหมายเบอร์ 1 ท่องเที่ยวโลกในอนาคต ได้แก่
- การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน และรับผิดชอบ ตั้งแต่การจัดงานแฟร์ การเปิดตัวอแหล่งท่องเที่ยวและสินค้าจากประเทศไทย ตลอดจนการพัฒนาอย่างยั่งยืน Sustainable Development Goals (SDGs) ตามแนวทางของ UNDP เพื่อเป็นเครื่องการันตีถึงความมุ่งมั่นตั้งใจของ ททท.ในการขับเคลื่อนอย่างรับผิดชอบและขยายผลไปสู่การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างแท้จริง ไปจนถึงกระดับรางวัล Kinnaree หรือรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย
- การรุกตลาดเปิดใหม่ ยุโรปตะวันออก ตลาดซาอุดิอาระเบีย เพื่อเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพที่มีกำลังซื้อสูง
- ขยายความร่วมมือกับคู่ค้ารายใหญ่ ในด้านต่างๆ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในทุกมิติ
- เชื่อมโยงการสัญจรทางบก ทั้งรถยนต์ รถไฟ เชื่อมต่อเขตต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกมากขึ้น หลังเที่ยวบินเข้าไปยังสถานที่ต่างๆมีข้อจำกัดมากขึ้น
- ดิจิทัลคอนเทนต์ (Digital Content) การประยุกต์ใช้เทคโนโลนยีใหม่ๆ ด้วยการใช้ Vitual Influencer อย่างน้อง “Rozy“ นำเสนอ ประสบการณ๋ท่องเที่ยว เพื่อจับนักท่องเที่ยว Gen Y และ Gen Z ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในปัจจุบันและในอนาคตเพิ่มเติม
นอกจากนี้ยังนำเรื่อง Soft Power มาใช้ในการโปรโมทการท่องเที่ยว ผ่าน 11 Soft Power ตามนโยบายของภาครัฐ ได้แก่ 1.แฟชั่น 2.หนังสือ 3.ภาพยนตร์ 4.เฟสติวัล 5.อาหาร 6.กีฬา 7.ออกแบบ 8.ท่องเที่ยว 9.ดนตรี 10.เกม 11.ศิลปะ
ทั้งหมดคือแนวทางการสร้าง Future of Thailand Branding กับการปั้นแบรนด์ของประเทศไทยในภาคการท่องเที่ยว ที่ไม่ใช่แค่มัดใจนักท่องเที่ยวให้อยู่หมัด หากแต่คือการสร้าง Branding ที่สะท้อนเอกลักษณ์และตัวตนจนนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน สู่เมืองแห่งการท่องเที่ยวลำดับต้นๆของโลก