เตรียมความพร้อมรับมือ ปี 2024 ที่ยังต้องเจอกับโจทย์ยากในการทำธุรกิจ MI Group ผู้เชี่ยวชาญและให้คำปรึกษาด้านการตลาดและสื่อสารการตลาด ได้จัดทำ The Surfer Kits คู่มือเตรียมความพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงและความท้าทาย เพื่อช่วยให้นักการตลาด ผู้ประกอบการทั้งรายเล็กและรายใหญ่ ฝ่าคลื่นความผันผวนในปี 2024
คู่มือติดอาวุธให้แบรนด์ในโครงการ The Wisdom Kits เพื่อแบ่งปันความรู้และความพร้อมทางธุรกิจสู่ลูกค้าและพันธมิตรของ MI Group ปี 2024 มาในคอนเซ็ปต์ The Surfer Kits โดยร่วมมือกับ dots academy และได้รับการรับรองโดย ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัช คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ (CBS) เพื่อเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจก้าวข้ามอุปสรรค พาธุรกิจและแบรนด์ไปสู่ความสำเร็จในปี 2024
คุณวรินทร์ ทินประภา Chief Growth Officer และคุณวิชิต คุณคงคาพันธ์ Head of International Business Development MI Group สรุปคู่มือแบบทดสอบ The Surfer Kits เปิดให้ผู้สนใจร่วมทดสอบ Brand Personality โดยมี 3 ประเด็นสำคัญที่ต้องรู้ เพื่อนำไปปรับใช้เป็นกลยุทธ์ทำธุรกิจ
1. รู้ตัว : วิเคราะห์สถานการณ์ธุรกิจที่ผ่านมาว่ามีปัจจัยอะไร ที่ต้องประเมินทิศทางในปีต่อไป โดยแบบทดสอบมี 7 หมวดคำถาม เพื่อเจาะลึกและตรวจสุขภาพธุรกิจ ได้แก่ Marketing, Branding, Innovation, Competitor, Operation, People, Future
2. รู้ทัน : การบริหารแบรนด์ เช็ค Brand Performance หรือ Brand Check up เพื่อดูว่าผู้บริโภคมีมุมมองกับแบรนด์อย่างไร เป็นการทำแบบทดสอบเพื่อประเมินผลการบริหารแบรนด์ ทำให้เห็นมุมมองจากผู้บริโภคที่มองแบรนด์ มีความเชื่อและความรู้เกี่ยวกับแบรนด์อย่างไร
3. รู้ทาง : การวางกลยุทธ์การตลาดและสื่อสารแบรนด์
แบบทดสอบ Brand Personality พิจารณาจาก 5 แกนหลัก
1. Brand Perception ภาพรวมที่ผู้บริโภคมองแบรนด์, การรับรู้ต่อแบรนด์, ความเชื่อถือแบรนด์, ความคาดหวังต่อแบรนด์ เพื่อสรุปเป็นประสบการณ์ผู้บริโภคที่มีต่อแบรนด์
2. Brand Value กลุ่มเป้าหมายจะเปรียบเทียบประโยชน์ที่ได้รับจากแบรนด์และราคาว่าคุ้มค่าหรือไม่ ผู้บริโภคแต่ละกลุ่มจะมีมุมมองแตกต่างกัน
3. Market Engagement ดูว่าแบรนด์มีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายระดับไหน สินค้าตามเทรนด์ แคมเปญสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย
4. Customer Relationship การบริหารความสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมาย การดูแลหลังการขาย การซื้อซ้ำ
5. Product Diversity ความยอดเยี่ยมของสินค้า
สรุป Brand Personality สะท้อนผ่านสัตว์ 12 ประเภท
ทีมงาน MI Group ใช้ AI วิเคราะห์แบบทดสอบทั้ง 5 แกนหลัก สรุป Brand Personality ที่สะท้อนออกมาเป็นสัตว์ 12 ประเภท พร้อมจุดแข็ง ข้อควรระวัง และเทรนด์ต้องจับตาปี 2024 ดังนี้
1. ช้าง (Elephant) : เป็นแบรนด์ที่แข็งแกร่ง มีความสามารถยอดเยี่ยม ครอบคลุมและน่าเชื่อถือ เช่น Google ที่มีจุดแข็งโปรดักท์หลากหลายและครอบคลุม
สิ่งที่ควรระวัง
– การผสมผสานทางวัฒนธรรม ควรใช้ความระมัดระวังในการผสมผสานทางวัฒนธรรมหรือองค์ประกอบที่หลากหลาย โดยพยายามสร้างความสมดุลระหว่างการรับสิ่งใหม่และการรักษาสิ่งเดิมเพื่อรักษาเอกลักษณ์ของแบรนด์ให้ชัดเจนและสม่ำเสมอ
เทรนด์ที่ควรจับตามอง
– การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน: พัฒนาแบรนด์ให้เป็นผู้นำในการปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน สื่อถึงความรับผิดชอบ ใส่ใจ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในปัจจุบัน
– การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล: ปรับใช้นวัตกรรมเพื่อพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาทางเทคโนโลยีให้ทันกับสถานการณ์การใช้เทคโนโลยีของผู้บริโภคในปัจจุบัน แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการปรับตัวและความน่าเชื่อถือในสภาพแวดล้อมทางดิจิทัลสมัยใหม่
2. สิงโต (Lion): ความแข็งแกร่ง มีพลัง โดดเด่นและเป็นผู้นำ เช่น Apple มีแบรนด์แข็งแกร่ง ขึ้นชื่อว่าเป็นสินค้าคุณภาพ ราคาสูง แต่ลูกค้าพร้อมจ่ายเงิน
สิ่งที่ควรระวัง
– การยึดติดธรรมเนียมเดิมมากเกินไป: แม้ว่าการปฏิบัติตามสิ่งดั้งเดิมเป็นสิ่งสำคัญ แต่การยึดติดมากเกินไปอาจขัดขวางความสามารถในการปรับตัวและการรับนวัตกรรมใหม่ๆ ทำให้แบรนด์ตามไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดที่กำลังพัฒนา
เทรนด์ที่ควรจับตามอง
– การเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัล: เปิดรับความก้าวหน้าด้านดิจิทัล โดยวางตำแหน่งแบรนด์ให้เป็นผู้นำในการปรับใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้บริโภคให้สะดวกสบายและล้ำสมัยยิ่งขึ้น
– การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน: แสดงความเป็นผู้นำของแบรนด์ในการส่งเสริมความยั่งยืนในการท่องเที่ยว สะท้อนถึงความมุ่งมั่นในแนวทางปฏิบัติที่มีความรับผิดชอบและมีความคิดก้าวหน้าในธุรกิจ
3. เหยี่ยว (Hawk): มีกลยุทธ์ มุ่งเน้น และแม่นยำ เช่น แบรนด์ The North Face ที่โฟกัสชัดเจนในกลุ่มสินค้าและลูกค้า
สิ่งที่ควรระวัง
– การผสมผสานองค์ประกอบต่างๆ: ถึงแม้ว่าการผสมผสานองค์ประกอบในด้านต่างๆ เพื่อการพัฒนาจะมีประโยชน์ แต่แบรนด์ควรระมัดระวังและคำนวณถึงผลลัพธ์อย่างรอบคอบ โดยควรรักษาความต่อเนื่องและความสอดคล้องของภาพลักษณ์แบรนด์ และหลีกเลี่ยงการผสมผสานอันหลากหลายที่ทำให้แบรนด์นำเสนอสาระสำคัญอย่างไม่ตรงจุด
เทรนด์ที่ควรจับตามอง
– การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน: สอดคล้องกับการเน้นย้ำของผู้บริโภคที่มีมากขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการเดินทางอย่างมีความรับผิดชอบของแบรนด์ ทำให้ผู้บริโภคเห็นว่าแบรนด์มีกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับค่านิยมสมัยใหม่และมีแนวปฏิบัติที่มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม
– การสื่อสารการตลาดโดยใช้ AI: การสื่อสารการตลาดที่ใช้เครื่องมือ AI ขั้นสูงสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าเชิงลึก คาดการณ์แนวโน้ม ปรับแต่งการสื่อสารรายบุคคล รวมถึงหากลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสม แสดงให้เห็นถึงการมองการณ์ไกลด้านกลยุทธ์และแนวทางในการสื่อสารตลาดขั้นสูงของแบรนด์
4. แพนด้า (Panda) : เป็นแบรนด์ที่มีเสน่ห์ให้ความสำคัญกับลูกค้า นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ยอดเยี่ยม มีความแข็งแรงของโปรดักท์ที่คนชื่นชอบ มีความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า ซื้อซ้ำตลอดเวลา เช่น แบรนด์ Oreo ที่ลูกค้าชื่นชอบและซื้อซ้ำตลอดเวลา
สิ่งที่ควรระวัง
– แฟลชเซลล์หรือส่วนลดที่มากเกินไป: กลยุทธ์ดังกล่าวอาจทำให้ผู้บริโภคกังวลเกี่ยวกับคุณภาพของแบรนด์และมีมุมมองต่อแบรนด์ที่เปลี่ยนไป
– การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างรวดเร็ว: การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างรวดเร็วและต่อเนื่องอาจทำให้ลูกค้ารู้สึกเบื่อ และไม่เห็นคุณค่าของผลิตภัณฑ์
เทรนด์ที่ควรจับตามอง
– งานฝีมือ: โชว์ความทุ่มเทของแบรนด์ต่อคุณภาพและการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ยอดเยี่ยม โดยเน้นผลิตภัณฑ์ที่ทำด้วยมือ ผลิตภัณฑ์ที่ทำตามความต้องการของลูกค้าแบบเฉพาะรายบุคคล และผลิตภัณฑ์ที่มีจำนวนจำกัด
– รีวิวจากลูกค้า: นำเสนอรีวิวจริงจากประสบการณ์ของลูกค้าเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับผู้บริโภคและเป็นการเน้นย้ำเสน่ห์หรือจุดเด่นของแบรนด์
5. หงส์ (Swan) : แบรนด์ที่โดดเด่น น่าจดจำ เป็นเลิศทางด้านความสัมพันธ์ มีความแข็งแรงเรื่อง Branding เมื่อกลุ่มเป้าหมายซื้อสินค้าหรือใช้บริการจะมีความมั่นใจกับแบรนด์ เช่น Starbucks เป็นบรนด์ที่มีเมนูหลากหลาย ลูกค้าซื้อซ้ำต่อเนื่อง
สิ่งที่ควรระวัง
– การเข้าถึงคนทั่วไป: การเจาะตลาดไปที่กลุ่มผู้บริโภคทั่วไปอาจทำให้ภาพลักษณ์เฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์เสียหาย โดยต้องโฟกัส Brand Value ทำให้ลูกค้ายินดีที่จะจ่ายมากขึ้น เพื่อสินค้าพรีเมียม
เทรนด์ที่ควรจับตามอง
– การสร้างประสบการณ์ระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภค: ปรับตัวให้เข้ากับความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคในด้านการสร้างประสบการณ์กับแบรนด์ แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของแบรนด์กับฐานผู้บริโภค
– การสร้างประสบการณ์ส่วนบุคคล: ออกแบบสินค้าหรือบริการที่ตรงตามความต้องการสำหรับผู้บริโภครายบุคคล แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจของแบรนด์ต่อความชอบหรือความต้องการของผู้บริโภคที่แตกต่างกัน
6. ลาบราดอร์ (Labrador) : แบรนด์เป็นมิตร คุ้นเคย สบายใจ เข้าถึงง่าย เน้นรักษาความสัมพันธ์ พร้อมจ่ายเงินให้แบรนด์ที่เรารัก เช่น Disney เป็นแบรนด์ที่ลูกค้าเติบโตมาด้วยกันและคุ้นเคย พร้อมซื้อตั๋วชมราคาแพง เพื่อได้ให้ได้ประสบการณ์ที่ดี
สิ่งที่ควรระวัง
– การผสมผสานวัฒนธรรม: ในขณะที่การผสานวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ควรนำมาปรับใช้ แต่แบรนด์ควรระมัดระวังในเรื่องของความสอดคล้อง โดยต้องไม่ให้ขัดกับภาพรวมของแบรนด์ และยังคงรักษาเอกลักษณ์ของแบรนด์ให้ชัดเจนดังเดิม โดยต้องตอกย้ำแบรนด์ว่าเป็นมิตรกับผู้บริโภคเสมอ
เทรนด์ที่ควรจับตามอง
– การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน: สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบ สอดคล้องกับทิศทางของแบรนด์ที่ตอบสนองต่อเทรนด์การรักษ์โลกและรับผิดชอบต่อสังคม
– การสื่อสารทางการตลาดที่เสริมด้วย AI: ใช้เครื่องมือ AI เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าเชิงลึก การคาดการณ์แนวโน้ม การสื่อสารที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล และการปรับปรุงกลยุทธ์การตลาด แสดงให้เห็นถึงการมองการณ์ไกลและความล้ำสมัยในการสื่อสารการตลาดของแบรนด์
7. ชีต้า (Cheetah) : แบรนด์ที่เคลื่อนไหวคล่องแคล่ว รวดเร็ว และการมีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมาย มีความแข็งแรงและสง่างาม พรีเมียม มีปฏิสัมพันธ์กับผู้บริโภคสูง เป็นสินค้าที่นำเทรนด์ ตอบสนองความต้องการผู้บริโภคเสมอ เช่น Samsung ผู้บริโภครับรู้ว่าเป็นแบรนด์ที่มีคุณภาพ ทำสินค้าตอบโจทย์ตลาดได้ดี
สิ่งที่ควรระวัง
– ความซับซ้อน: การรักษาความชัดเจนและความกระชับในการสื่อสารของแบรนด์เป็นสิ่งสำคัญ การผสมผสานองค์ประกอบหรือแนวคิดต่างๆ ที่ซับซ้อนมากเกินไปอาจทำให้ข้อความของแบรนด์ที่ต้องการสื่อไปยังผู้บริโภคมีความคลุมเครือ ไม่ชัดเจน ทำให้ผู้บริโภคสับสนได้ โดยต้องทำให้สินค้าตอบสนองได้ตามความคาดหวังของผู้บริโภค
เทรนด์ที่ควรจับตามอง
– การเติบโตของดิจิทัล: ใช้ประโยชน์จากการเติบโตของดิจิทัลเพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมและการโต้ตอบกับผู้บริโภค โดยสื่อให้ผู้บริโภคเห็นถึงการปรับตัวที่คล่องแคล่วเข้ากับกระแสหรือการใช้งานดิจิทัลของผู้บริโภคเป็นสำคัญ
– การให้คุณค่าทางด้านจิตใจ: ผสานความคิดริเริ่มที่สะท้อนถึงการตระหนักและการตอบสนองของแบรนด์ต่อความต้องการ ข้อกังวล หรือความรู้สึกของผู้บริโภค เผยให้ผู้บริโภคเห็นถึงความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของแบรนด์
8. ม้า (Horse) : แบรนด์ที่เต็มไปด้วยพลัง นำหน้า เชื่อถือได้ มีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายตลอดเวลา สร้าง Brand Value ได้ดีทำให้ลูกค้าอยากจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้า เช่น IKEA เป็นแบรนด์ที่ตอบโจทย์คนซื้อตลอดเวลา ลูกค้าอยากได้สินค้า
สิ่งที่ควรระวัง
– ความพยายามที่จะฉูดฉาด: การมีส่วนร่วมในกระแสระยะสั้นที่หวือหวาไม่เกี่ยวข้องกับอัตลักษณ์ของแบรนด์อาจทำให้ชื่อเสียงของแบรนด์เสื่อมเสียคุณค่าในด้านของความยั่งยืน โดยเน้นไปที่ Brand Perception สื่อสารแบรนด์ว่าดีอย่างไรนอกเหนือจากสินค้า
เทรนด์ที่ควรจับตามอง
– การเป็นผู้นำด้านความยั่งยืน: แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในแนวทางปฏิบัติต่อความยั่งยืน และเป็นผู้นำให้แก่แบรนด์ต่างๆได้ปฏิบัติตาม
– ขับเคลื่อนแบรนด์ด้วยเทคโนโลยี: ปรับตัวให้สอดคล้องกับนวัตกรรมทางเทคโนโลยี เน้นย้ำถึงคุณค่าที่ไม่หยุดนิ่งของแบรนด์ในยุคดิจิทัล
9. ผีเสื้อ (Butterfly) : แบรนด์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ความสดใส แปลกตา เป็นแบรนด์ที่มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มเป้าหมายอย่างมาก ออกแบบสินค้านำเทรนด์ตลอดเวลา เช่น H&M ลูกค้าซื้อสินค้าด้วยราคาที่ยอมรับได้ มีแบบและแฟชั่นหลากหลาย
สิ่งที่ควรระวัง
– การเน้นย้ำที่มากเกินไปในเรื่องของศิลปะ: แม้ว่าความสวยงามและความน่าดึงดูดของสื่อจะเป็นสิ่งสำคัญ แต่การเน้นที่มากเกินไปอาจทำให้เอกลักษณ์หรือมุมมองของผู้บริโภคที่มีต่อแบรนด์ลดลง
เทรนด์ที่ควรจับตามอง
– การเน้นความสำคัญของจิตใจ: แบรนด์ควรปรับตัวให้มีความสอดคล้องกับจิตใจของผู้บริโภค สะท้อนถึงความเข้าใจในผู้บริโภคของแบรนด์
– การผสมผสานวัฒนธรรม: การรวมองค์ประกอบทางวัฒนธรรมที่หลากหลายเข้ากับการแสดงออกของแบรนด์ แสดงให้เห็นถึงความสามารถของแบรนด์ในการผสานองค์ประกอบจากหลายๆ ด้าน
10. ปลาโลมา (Dolphin) : เป็นแบรนด์ที่สนุกสนาน ดึงดูด มีความเยี่ยมยอดที่หลากหลายด้านผลิตภัณฑ์ เช่น Burger King จากเมนูหลากหลาย มีสินค้าใหม่ออกอย่างต่อเนื่อง จึงตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายได้ดี
สิ่งที่ควรระวัง
– การเน้นนวัตกรรมที่มากเกินไป: แม้ว่านวัตกรรมจะสำคัญ แต่การตามหานวัตกรรมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องอาจทำให้ค่านิยมหลักและวิสัยทัศน์ระยะยาวของแบรนด์ถูกบดบัง ซึ่งอาจนำไปสู่การแสดงตัวตนของแบรนด์ที่ไม่สอดคล้องกัน โดยต้องสร้าง Brand Value ให้เกิดการซื้อซ้ำต่อเนื่อง
เทรนด์ที่ควรจับตามอง
– รูปแบบการทํางานที่ยืดหยุ่น: วางตำแหน่งแบรนด์ให้เป็นผู้นำในการปรับตัวสนับสนุนอิสระในการทํางานรูปแบบใหม่จากการทํางานที่สถานที่ใดก็ได้ สะท้อนถึงความหลากหลายและการก้าวไปข้างหน้าของแบรนด์
– การสื่อสารการตลาดที่เสริมด้วย AI: นำเครื่องมือ AI ขั้นสูงมาใช้เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลผู้บริโภค คาดการณ์แนวโน้ม และปรับแต่งการสื่อสารเฉพาะบุคคล แสดงให้เห็นถึงความเยี่ยมยอดและนวัตกรรมที่หลากหลายของแบรนด์
11. เต่า (Turtle) : แบรนด์ที่มั่นคง น่าเชื่อถือ มุ่งเน้นในเรื่องผลิตภัณฑ์ สินค้ามีความแข็งแรงไม่ว่าถูกหรือแพงลูกค้ายินดีจ่าย เช่น Toyota เป็นแบรนด์ที่อยู่มานาน ผู้บริโภคยอมรับโปรดักท์ ยินดีซื้อ
สิ่งที่ควรระวัง
– การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว: แม้ว่าการพัฒนาสิ่งต่างๆให้ทันสมัยเป็นสิ่งสำคัญ แต่การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่กะทันหันหรือมากเกินไปอาจทำให้เกิดความขัดแย้งกับภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่น่าเชื่อถือและมั่นคง ซึ่งอาจทำให้ผู้บริโภคที่ต้องการความสม่ำเสมอและความน่าเชื่อถือรู้สึกไม่สบายใจ จึงต้องโฟกัสไปที่ Branding ให้คนซื้อแล้วรู้สึกดีกับแบรนด์
เทรนด์ที่ควรจับตามอง
– ประชากรที่สูงอายุ: ปรับแบรนด์ให้สอดคล้องกับความต้องการและความชอบของประชากรสูงอายุ สะท้อนถึงความไวและความสามารถในการปรับตัวไปสู่ความหลากหลายของประชากรในวัยต่างๆ แสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือและความน่าดึงดูดของแบรนด์ให้กับผู้ชมกลุ่มใหญ่ขึ้น
– ตลาดงานฝีมือและผู้ผลิตสินค้าท้องถิ่น: วางตำแหน่งแบรนด์ให้เป็นแบรนด์ที่สนับสนุนงานฝีมือและสินค้าท้องถิ่น สะท้อนถึงความมุ่งมั่นต่อคุณภาพ ความมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และการสนับสนุนชุมชน ก่อให้เกิดการสร้างความสัมพันธ์กับผู้บริโภคผ่านการให้คุณค่ากับงานฝีมือท้องถิ่น
12. จิ้งจอก (Fox) : เป็นแบรนด์ใหม่ที่มีความเฉลียวฉลาดและศักยภาพสูงที่จะเติบโต เช่น Spotify มีทิศทางเติบโตได้หลายช่องทาง
สิ่งที่ควรระวัง
– การผสมผสานทางวัฒนธรรม: แม้ว่านวัตกรรมจะเป็นกุญแจสำคัญ แต่การผสมผสานนวัตกรรมที่หลากหลายมากจนเกินไปอาจทำให้เอกลักษณ์ของแบรนด์จืดจางลง ดังนั้นจึงควรรักษาสมดุลของการประยุกต์ใช้นวัตกรรมให้สอดคล้องพอดีกัน
เทรนด์ที่ควรจับตามอง
– การเติบโตของดิจิทัล: ใช้ความก้าวหน้าของนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความสามารถในการปรับเปลี่ยนและพัฒนาแบรนด์ให้เติบโตมากยิ่งขึ้น
– การใช้ AI สำหรับการสื่อสารการตลาด: การนำ AI มาใช้เพื่อปรับแต่งกลยุทธ์สามารถแสดงให้เห็นถึงแนวทางที่ก้าวหน้าและความมุ่งมั่นในการใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเพื่อการเติบโตของแบรนด์
MI Group สรุป 12 เทรนด์ 2024 ที่น่าจับตามอง
1. การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน: เน้นในเรื่องของการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสนับสนุนชุมชนท้องถิ่น
2. การเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล: การเพิ่มขึ้นและการพัฒนาของเทคโนโลยี และการมีส่วนร่วมของแพลตฟอร์มที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ
3. ประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้น: อายุเฉลี่ยที่สูงขึ้นของประชากร ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบและความต้องการใหม่ๆ
4. การเปลี่ยนแปลงของสังคมเมืองทางดิจิทัล: การบูรณาการและการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อยกระดับคนเมือง, บริการ, และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ
5. งานฝีมือและช่างฝีมือในตลาดท้องถิ่น: งานฝีมือ สินค้าทำมือ และงานจากช่างฝีมือในตลาดท้องถิ่นมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น
6. เทคโนโลยีสื่อการสารในทางการแพทย์: การพัฒนาและนำมาใช้ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ดิจิทัล และโทรคมนาคม สำหรับการบริการด้านสุขภาพจากระยะไกล
7. เกษตรกรรมในเมืองและการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน: การนำหลักปฏิบัติด้านการเกษตรมาปรับใช้ในพื้นที่เขตเมือง และการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ไปสู่ความยั่งยืน
8. การเพิ่มขึ้นของนักเดินทางตามแหล่งท้องถิ่น: ความต้องการของการเดินทางเพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้นกว่าการเดินทางระหว่างประเทศ
9. การผสมผสานทางวัฒนธรรม: เกิดการรวมและการผสมผสานของจุดเด่นต่างๆของแต่ละวัฒนธรรม เช่น ร้านอาหาร, ศิลปะ, และประเพณี
10. การให้ความสำคัญทางสุขภาพจิต: ผู้คนเกิดการรับรู้ถึงความสำคัญและปัญหาด้านสุขภาพจิต รวมไปถึงแนวทางการรักษาอย่างกว้างขวางขึ้น
11. สภาพแวดล้อมการทำงานแบบไฮบริด: เกิดการทำงานที่ผสมผสานระหว่างการทำงานจากระยะไกลและทำงานในสถานที่ทำงาน
12. การใช้ AI ในการสื่อสารทางการตลาด: เกิดการใช้ AI ในการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารทางการตลาด
สำหรับผู้ที่สนใจ The Surfer Kits ร่วมทำแบบทดสอบ MI BRAND TEST ผ่านทางลิ้งค์ https://mibrandtest.migroup.agency/