HomePR Newsแจ่มจรัส เปิดภูมิทัศน์ใหม่ Cultural Brand Insight รุกตลาดภูธรปี 67 ตั้งเป้าพาแบรนด์เจาะใจตลาดมวลชนไร้พรมแดน [PR]

แจ่มจรัส เปิดภูมิทัศน์ใหม่ Cultural Brand Insight รุกตลาดภูธรปี 67 ตั้งเป้าพาแบรนด์เจาะใจตลาดมวลชนไร้พรมแดน [PR]

แชร์ :

นายธนพล ทรัพย์สมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วายดีเอ็ม (ไทยแลนด์) จำกัด

บริษัท แจ่มจรัส จำกัด ในเครือ บริษัท วายดีเอ็ม (ไทยแลนด์) จำกัด เผยจุดเปลี่ยนตลาดภูธรปี 67 ชี้วัฒนธรรม ภูมิภาคทางความคิด คือตัวแปรสำคัญ เกิดคำนิยามใหม่ “Cultural Brand Insight” ดึงข้อมูลอินไซด์ผู้บริโภคเป็นเข็มทิศนำพาแบรนด์และนักการตลาดรุกครองใจมวลชน บนโจทย์ท้าทาย เปิดโรดแมปเดินเกมตลาดอย่างมีกลยุทธ์ เชื่อมการสื่อสารอย่างไร้พรมแดน เจาะตลาดภูธรเฉพาะกลุ่มบุคคล ก้าวข้ามข้อจำกัดการสื่อสารระหว่างคนในเมืองกับคนต่างจังหวัด ปั้นคอนเทนต์สดใหม่ บนครีเอทีฟสตอรี่ที่หลากหลายตรงจริตผู้บริโภค หนุนแบรนด์เติบโตรับดีมานด์ตลาด เข้าใจอินไซด์ผู้บริโภคภูธร

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

นายธนพล ทรัพย์สมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วายดีเอ็ม (ไทยแลนด์) จำกัด เผยว่า การสร้างแบรนด์ท่ามกลางตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนับเป็นความท้าทายของแบรนด์และนักการตลาดอย่างไม่มีจุดสิ้นสุด จากความเป็นอยู่ พฤติกรรม ความต้องการ และค่านิยมของผู้บริโภคที่สามารถเปลี่ยนได้ทุกชั่วโมง ทุกวัน แต่หนึ่งสิ่งที่แทบจะไม่เปลี่ยน คือ “รากฐานชีวิต” หรือความเชื่อและค่านิยมจากถิ่นกำเนิด  เช่นเดียวกับแนวคิดของ แจ่มจรัส ซึ่งเป็นหัวหอกหลักของ YDM ในการพาแบรนด์จับผู้บริโภคตลาดภูธรอย่างมีกลยุทธ์ พร้อมมองทิศทางและแนวโน้มตลาดภูธรในปี 2567 ที่ต่างออกไป บนคำนิยามใหม่ โจทย์ใหม่ พาแบรนด์ก้าวข้ามข้อจำกัดการสื่อสารเฉพาะพื้นที่แบบเดิม ๆ มุ่งสื่อสารระหว่างคนในเมืองกับคนต่างจังหวัดแบบวงกว้างไปพร้อมกัน แต่สามารถจับผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ ย้ำจุดแข็งการเป็น Marketing Partner ร่วมขับเคลื่อนธุรกิจลูกค้าให้ประสบความสำเร็จบนเส้นทางการตลาด

นายสมยศ ชัยรัตน์ กรรมการผู้จัดการและผู้บริหาร บริษัท แจ่มจรัส จำกัด ในเครือ YDM Thailand กล่าวว่า ช่วงหลายปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยเผชิญกับสถานการณ์ที่ส่งผลให้พฤติกรรมและความต้องการผู้บริโภคในตลาดเกิดการเปลี่ยนแปลงที่หลากหลายในระยะเวลาอันสั้น เป็นเหตุฉนวนให้ “ตลาดภูธร” เกิดการปรับตัวเช่นกัน นับเป็นโจทย์ความท้าทายที่แบรนด์และนักการตลาดต้องเริ่มกลับมาวิเคราะห์กันใหม่ ก้าวออกจากกรอบความคิดเดิม ๆ ที่เคยยึดติดว่า ตลาดภูธรเป็นพื้นที่ตลาดในต่างจังหวัดที่ถูกกำหนดตามภูมิศาสตร์เป็นภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งอาจใช้ไม่ได้อีกต่อไป เพราะตลาดภูธรในปี 2567 ควรถูกนิยามใหม่ให้สอดรับตามพฤติกรรมและความเป็นอยู่ของกลุ่มผู้บริโภค ดังนั้น พื้นที่ไม่ควรเป็นข้อจำกัดขอบเขตการสื่อสาร ด้วยปัจจัยที่หลากหลายในการใช้ชีวิต ทั้งการเรียน การทำงาน ทำให้การย้ายถิ่นพักอาศัยเป็นเรื่องปกติ คนที่อาศัยในพื้นที่ อาจไม่ใช่คนพื้นที่โดยกำเนิดอีกต่อไป เช่น คนภาคตะวันออกเฉียงเหนือกระจายตัวอาศัยอยู่ทั่วประเทศ รวมถึงไปอยู่อาศัยรวมทั้งทำงานในหลายประเทศทั่วโลก

นายสมยศ ชัยรัตน์ กรรมการผู้จัดการและผู้บริหาร บริษัท แจ่มจรัส จำกัด ในเครือ YDM Thailand

ทั้งนี้ ตลาดภูธรในปี 2567 ถูกกำหนดด้วยคำนิยามใหม่ “Cultural Brand Insight” ไม่ได้ถูกจำกัดด้วยพื้นที่ทางภูมิศาสตร์อีกต่อไป แต่ถูกขับเคลื่อนด้วย “ภูมิภาคทางความคิด” หรือค่านิยม วัฒนธรรม ความเชื่อ และความคิดเฉพาะบุคคลที่แบรนด์และนักการตลาดจะพบโจทย์ท้าทาย ในการจับกลุ่มเป้าหมายอย่างไร้พรมแดน ซึ่งการจับกลุ่มผู้บริโภคที่มีวัฒนธรรมต่างกัน แต่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน จากมุมของ แจ่มจรัส แบรนด์จำเป็นต้อง ปลดล็อกการสร้างคอนเทนต์ที่เน้นความครีเอทีฟ สดใหม่ ตอบโจทย์สถานการณ์แบบเรียลไทม์ บนสตอรี่ที่ หลากหลาย แปลกใหม่ เข้าใจอินไซด์ผู้บริโภค สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกของผู้บริโภคในแต่ละพื้นที่ เพื่อวางกลยุทธ์ที่ตรงจุด ใช้พลังของ “คน” สร้างทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญ เข้าใจบริบทของพื้นที่ เพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารอย่างไร้พรมแดน เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายผ่านภาษา อาหาร การแต่งกาย และเลือก KOL ที่ใช่ เพื่อพิชิตตลาดภูธรแบบไร้พรมแดนที่วัดผลได้ในยุคนี้

กลยุทธ์เจาะตลาดภูธร เน้นจับผู้บริโภคกลุ่มบุคคล เข้าใจ “ตัวตน” ของผู้บริโภค สื่อสารอย่างจริงใจ เน้นใช้ภาษาพื้นบ้าน จะช่วยเพิ่มโอกาสเข้าถึงผู้บริโภค ร่วมถึงเสียงดนตรี วัฒนธรรม และเลือก KOL ที่ตรงใจ ดึงดูด สร้างประสบการณ์ที่ดีร่วมกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อนำพาแบรนด์พิชิตหัวใจตลาดมวลชนบนนิยามใหม่ “Cultural Brand Insight” เป็นกลยุทธ์สำคัญที่แจ่มจรัสจะพาแบรนด์เข้าถึงใจผู้บริโภคยุคใหม่ ผ่านหัวใจสำคัญของการสื่อสาร คือ การเข้าใจ “แก่นแท้” ของผู้บริโภค เข้าถึง “ตัวตน” ผู้บริโภคอย่างจริงใจ โดยไม่ต้องเขินอายกับการใช้ภาษา อาหาร หรือการแต่งกายท้องถิ่น เช่น การวางกลยุทธ์ใช้ภาษา เน้นภาษาพื้นบ้าน ดนตรี เสียงร้อง ที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละภาค กลยุทธ์อาหาร นำเสนออาหารพื้นบ้านที่ผู้บริโภคคุ้นเคยและภาคภูมิใจ ร่วมด้วยกลยุทธ์ใช้บุคคลที่มีอิทธิพลในการสื่อสาร ผ่านการเลือกใช้ KOL ที่มีบ้านเกิดในท้องถิ่น มีความคิดและความเชื่อบนพื้นฐานวัฒนาธรรมเดียวกับกลุ่มเป้าหมาย ผลลัพธ์ที่ได้จะทำให้สามารถ ดึงดูดความสนใจ สร้างความใกล้ชิด ทำให้ผู้บริโภคคุ้นเคยกับแบรนด์ ด้วยการการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เพื่อมุ่งสร้างความผูกพันระยะยาว ขับเคลื่อนแบรนด์สู่เป้าหมายความสำเร็จในตลาดภูธรในปัจจุบัน และอนาคต” นายสมยศ กล่าวทิ้งท้าย


แชร์ :

You may also like