ปัจจุบันเป็นยุคของการเปลี่ยนแปลง Generational Diversity ในประเทศไทย จากตัวเลขจำนวนประชากร ปี 2567 อยู่ที่ 71 ล้านคน ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมสูงวัยแล้ว โดยอายุเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 73.16 ปี ส่วนไทยอยู่ที่ 80 ปี นอกจากนี้อัตราการเกิดลดลงต่อเนื่อง ปี 2563 อยู่ที่ 1.46 คน คาดปี 2568 อยู่ที่ 1.42 คน แม้มีจำนวนครัวเรือนเพิ่มขึ้น แต่คนในบ้านลดลง ปี 2566 อยู่ที่ 2.7 คนต่อครัวเรือน
จากการเปลี่ยนแปลงของประชากรในประเทศไทย ส่งต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในแต่ละวัย (Generation) รวมทั้งกลยุทธ์การตลาดและการสื่อสารเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในแต่ละ Gen
“สปา-ฮาคูโฮโด” เอเจนซี่โฆษณา อัพเดทการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์สำคัญของ 5 Generations ในประเทศไทย
1. Baby Boomer : วัยแห่งการกลับมาใช้ชีวิตของตัวเอง (Reborneration)
– อายุ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวน 16.5 ล้านคน สัดส่วน 25% ของประชากรไทย
– พฤติกรรมกลุ่มสูงวัย Baby Boomer ยุคก่อนใช้ชีวิตอยู่บ้านดูแลหลาน
– หลังจากดูแลคนอื่นมาทั้งชีวิต Baby Boomer ยุคนี้จึงมองชีวิตหลังวัย 60 ปี เป็นชีวิตของตัวเอง ต้องการใช้เวลาสร้างความสุขให้ตัวเอง เริ่มบอกลูกๆ ว่าไม่ขอเลี้ยงหลาน เพราะต้องการเวลาออกไปใช้ชีวิตกับกลุ่มเพื่อนวัยเดียวกัน
– เป็น Gen ที่หัวใจกลับมาผลิบานอีกครั้ง โฟกัสที่ตัวเองเป็นหลัก พร้อมทดลองเริ่มต้นอะไรใหม่ๆ ในชีวิต เป็น Gen ที่ออกไปตามล่าความฝันในอดีตอีกครั้ง
– เป็นน้องใหม่ในโลกโซเชียล เรียนรู้และเทคโนโลยีต่างๆ ทุกรูปแบบ เพื่ออัพเดทตัวเองให้ทันโลก ปัจจุบันจึงเห็นอินฟลูเอนเซอร์กลุ่ม Baby Boomer เกิดขึ้นจำนวนมาก เรียกว่าป็น Oldfluencer หรือ TikToker แบรนด์ดังอย่าง “ลอรีอัล” ใช้ KOL มาสอนกลุ่ม Baby Boomer แต่งหน้า
– หาตัวช่วยที่ทำให้ร่างกายแข็งแรง ทำให้มีสุขภาพดีทั้งกลายและใจ เพื่อเติมเต็มไลฟ์สไตล์ ได้ลองเล่นกีฬาผาดโผน เดินทางไปในที่ที่ไม่เคยไป หรือค้นพบตัวเองในเวอร์ชั่นใหม่ๆ
– กลยุทธ์การตลาดและสื่อสาร : ต้องสร้างแรงบันดาลใจให้กลุ่มนี้ออกไปใช้ชีวิตตามที่สนใจ ผ่านสื่อออนไลน์และ KOL ที่เข้าถึงกลุ่มนี้ สื่อสารด้วยการทำให้กลุ่ม Baby Boomer ภูมิใจกับการเป็นคนสูงวัยที่ไม่ตกเทรนด์ สะท้อนภาพลักษณ์เชิงบวก
2. Gen X : ผู้แบกทุกคนด้วยความใส่ใจ (Caretaker & Carrier)
– อายุ 45-59 ปี มีจำนวน 11.3 ล้านคน สัดส่วน 17% ของประชากรไทย
– Gen X ยุคเดิมหน้าที่หลักคือใช้ชีวิตในวัยทำงานอย่างหนัก เรียกว่าเป็น “เดอะแบกของแทร่” ที่ดูแลแบกทุกคนไว้ด้วยความรัก ทั้งพ่อแม่ ลูกหลาน รวมทั้งลูกน้องที่ทำงาน
– ยุคนี้ไลฟ์สไตล์เปลี่ยนไป คือ ใช้ชีวิตทุกด้านอย่างสมดุล (Work Life Balance) ทั้งงาน ครอบครัว สุขภาพ และความสวยงาม ใช้เวลาในเรื่องต่างๆ ที่สนใจ ไม่ใช่แค่เรื่องงานเท่านั้น แต่ใช้เวลากับครอบครัวมากขึ้น จึงเป็นบริหารจัดการเก่งระดับมืออาชีพ
– เป็นวัยที่ชอบหวนรำลึกถึงวันวานที่ยังไม่มีความกังวล จึงเป็นความสุขในอดีต
– กลยุทธ์การตลาดและการสื่อสาร : Gen X เป็นกลุ่มที่มีความภักดี (Loyalty)กับแบรนด์สูง การเข้าถึงความสนใจของกลุ่มนี้ คือ การตลาดแบบย้อนวัย (Nostalgia) ตัวอย่าง การจัดคอนเสิร์ตของ Grammy x RS ยุค 90
3. Gen Y : ตามหาประสบการณ์เพราะคือสิ่งล้ำค่าในชีวิต (Experience Explorer)
– อายุ 29-44 ปี มีจำนวน 15.5 ล้านคน สัดส่วน 23.5% ของประชากรไทย
– พฤติกรรมเดิมเป็นกลุ่มที่มีพลัง ทำงานข้ามวัน แต่ยุคนี้มีมุมมองที่ต้องการมีความสุขกับการออกไปใช้ชีวิตให้เต็มที่
– Gen นี้มี Motto ว่า “ชีวิตมีครั้งเดียวใช้ซะ” (YOLO) มองว่าสมบัติล้ำค่าคือ “ประสบการณ์ชีวิต”
– เป็นกลุ่มนี้จึงทำงานหนัก เพื่อได้มีเงินไปใช้ชีวิตได้เต็มที่ในทุกด้าน จากเดิมจ่ายเงินเพื่อซื้อสิ่งของหรือแบรนด์เนม แต่ยุคนี้จ่ายเงินเพื่อเดินทางสะสมประสบการณ์ ท่องเที่ยวหรือทำกิจกรรมเอ็กซ์ตรีม เห็นได้จาก Blogger อินฟลูเอนเซอร์ กลุ่มท่องเที่ยว จะทำคอนเทนต์ท่องเที่ยวสถานที่เดิมให้ไม่เหมือนเดิม เป็นการท่องเที่ยวเชิงลึกที่แปลกใหม่มากขึ้น แบบ Explore to Experience
– สุขภาพดีคือ ไลฟ์สไตล์ เพราะเมื่อใช้ชีวิตหนักในทุกด้าน การดูแลสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญและยอมลงทุนเพื่อสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง
– ภาพลักษณ์บนโลกโซเชียลมีค่า (Social Currency) เลี้ยงสัตว์เป็นครอบครัว (Petocnomy)
– ผู้หญิงหรือผู้ชายก็เป็น “ผู้นำ” การเลี้ยงลูกได้ ยุคนี้ผู้ชายหลายคนออกจากงานมาดูแลลูกเป็นหลัก
– กลยุทธ์การตลาดและการสื่อสาร : ต้องโฟกัสมากกว่าสินค้าที่มีคุณภาพ มีขั้นตอนพิเศษเหนือใคร แต่ต้องเป็นสินค้าที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์กลุ่มนี้ด้วย
4. Gen Z : ผู้กล้าเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งที่ดีกว่า (Conscious Activist)
– อายุ 14-28 ปี มีจำนวน 12.9 ล้านคน สัดส่วน 19.5% ของประชากรไทย
– เดิมถูกมองเป็นแบบเหมารวม (Stereotype) ว่าเป็นคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ที่สนใจเหมือนๆ กัน
– แต่ยุคนี้ Gen Z เป็นกลุ่มที่ไม่มีคำจำกัดความ เป็นวัยที่กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก กล้าแตกต่าง ในทุกเรื่องทั้งการแต่งตัวและความคิดเห็น
– เป็นกลุ่มที่เรียกร้องและต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมในสังคม พร้อมจะสร้างโลกที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน เชื่อมั่นว่าทุกคนสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้
– ยอมรับความหลากหลายทุกด้านตั้งแต่เรื่องอาหาร วัฒนธรรม ภาษา เพศ โดยเปิดกว้างเรื่องความหลากหลายของเพศภาพอย่างอิสระ
– มีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในโลกดิจิทัลมากกว่าโลกความจริง ไว้ใจเพื่อนบนโลกดิจิทัล แชร์เรื่องราวต่างๆ ได้ ภาพลักษณ์บนโซเชียลสำคัญ
– กลยุทธ์การตลาดและการสื่อสาร : ใช้พรีเซนเตอร์ที่แสดงถึงความเข้าใจในหัวใจนักสู้หน้าใส ที่เต็มไปด้วยความมั่นใจในตัวเอง ทำให้ Gen Z รู้สึกว่ามีคนเข้าใจและเชื่อมั่นในตัวพวกเขา
5. Gen Alpha : นักเรียนยุคเอไอ (Digital Native Learning)
– อายุต่ำกว่า 14 ปี มีสัดส่วน 9.8 ล้านคน สัดส่วน 15% ของประชากรไทย
– เกิดมาพร้อมกับเทคโนโลยี AI ที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต มีประสบการณ์สูงในโลกดิจิทัลและเทคโนโลยี ทำให้เข้าถึงข้อมูลทั่วโลกได้ง่ายแค่ปลายนิ้ว เรียนรู้ Interactive มากกว่า Gen อื่นๆ
– เข้าใจในความแตกต่างไม่ใช่แค่ผิวเผินแต่ลึกซึ้งไปถึงบริบทวัฒนธรรม การเป็นอยู่ ความเชื่อ และความนึกคิด
– ติดต่อผู้คนผ่านโซเชียลและโลกเสมือน เรียนรู้ผ่านโสตประสาทสัมผัสทั้งหลาย
– การเป็นประชากร AI เติบโตมากับเทคโนโลยี ทำให้ต้องปรับตัวในโลกจริงมากกว่าโลกดิจิทัล
– กลยุทธ์การตลาดและการสื่อสาร : ผู้ใช้สินค้าและบริการอาจเป็น Alpha Gen แต่ผู้จ่ายเงินคือพ่อแม่ Gen Y ดังนั้นการสื่อสารที่สะท้อนถึงความเข้าใจการเรียนรู้ของเด็กกยุคใหม่และเป็นทางเลือกที่ช่วยให้พ่อแม่ปลดปล่อยศักยภาพของลูกได้อย่างเต็มที่จะทำให้แบรนด์ได้ทั้งใจและเงินกับคนทั้ง 2 Gen
ติดตามพวกเราได้ที่ LINE