ซีไอเอ็มบี ไทย ชูวิสัยทัศน์ในการเป็น ‘Digital-led Bank with ASEAN Reach’ ‘ธนาคารอาเซียนขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล’ โดยอาศัยเครือข่ายความแข็งแกร่งในฐานะกลุ่มการเงินชั้นนำระดับภูมิภาคของ CIMB Group เข้ามาช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในประเทศไทยด้วยจุดแข็งของซีไอเอ็มบี ไทย ได้แก่ ASEAN, Digitalization, Wealth & ผลิตภัณฑ์การเงินเพื่อลูกค้ารายย่อย และ Sustainability
พอล วอง ชี คิน กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า ปี 2567 ธนาคารยังคงโฟกัส ASEAN เป็นหลัก จากจุดแข็งของเครือข่าย know how ของทีมงานผู้เชี่ยวชาญ และการประสานงานเชื่อมโยงเครือข่ายแบบไร้รอยต่อกับทีมงานประเทศต่างๆ ในเครือข่ายกลุ่ม CIMB ทั่วอาเซียนมาอย่างต่อเนื่องหลายปีจนสามารถพาบริษัทไทยขยายธุรกิจข้ามประเทศได้สำเร็จ ปีนี้ตั้งเป้าหมายปล่อยสินเชื่อในอาเซียนเติบโต 10% เพื่อให้บริการลูกค้าที่ต้องการให้ธนาคารสนับสนุนการขยายธุรกิจในมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และกัมพูชา คู่ขนานไปกับการดูแลธุรกรรมทางการเงินให้แก่ลูกค้าองค์กรและสถาบันการเงินในประเทศ ผ่านสินเชื่อ บริการธุรกรรมจัดการเงิน บัญชีธุรกิจ และบริการชำระเงิน
อีกหนึ่งกลยุทธ์สำคัญคือ Digitalize for Value ที่มุ่งเน้นการใช้ดิจิทัลและเทคโนโลยีมาขับเคลื่อนและยกระดับการให้บริการในโลกยุคใหม่ ผ่านแอพลิเคชั่น CIMB THAI Digital Banking ที่ส่งผลให้ธุรกรรมเติบโตอย่างรวดเร็ว และสามารถขยายฐานบัญชีดิจิตอลเพิ่มเป็น 4 แสนราย ปริมาณธุรกรรมบนแอปที่ทะยานสู่ 90% และธุรกรรมจองซื้อหุ้นกู้และพันธบัตรทั้งตลาดแรกและตลาดรองทะยานเกิน 6.6 หมื่นล้านบาทนับตั้งแต่ปี 2563 ทั้งนี้ การมี Digital Ecosystem ที่ครอบคลุม ส่งผลให้ธนาคารคว้ารางวัล Wealth Management Platform of the Year – Thailand 4 ปีติดต่อกัน ปีนี้ทีม Digital เตรียมปรับโฉม UX/UI และเปิดตัวผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินใหม่ๆ ยกระดับความสะดวกสบายไปอีกขั้น
นอกจากนี้ CIMB Thai ยังตั้งเป้ารักษาความเป็นผู้นำตลาด และที่หนึ่งในใจลูกค้า Wealth Management ท่ามกลางสภาวะตลาดที่มีความท้าทาย ธนาคารจึงให้ความสำคัญกับการแนะนำลูกค้า เลือกลงทุนให้ถูก ‘จังหวะ’ ผ่านการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่ CIMB Thai คัดสรรมาให้ลูกค้า ทั้งหุ้นกู้ในตลาดแรก หุ้นกู้ตลาดรอง หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง เงินฝากดอกเบี้ยสูง เงินฝากสกุลต่างประเทศ (FCD) กองทุน ประกัน บริการ Wealth Credit Line (วงเงินพิเศษเพื่อมอบสภาพคล่องให้ลูกค้าที่มีเงินลงทุนกับธนาคาร) และพร้อมจูงมือลูกค้าไปลงทุน Offshore fund โดยเฉพาะ Alternative Investment มีความน่าสนใจที่ไม่อ้างอิงต่อปัจจัยหลักอย่างทิศทางดอกเบี้ยหรือค่าเงิน แต่อยู่บนสินทรัพย์ที่ไปลงทุน ปีนี้ธนาคารตั้งเป้าหมายขยายธุรกิจและฐานสมาชิก CIMB Preferred (ลูกค้าที่มีเงินฝากหรือเงินลงทุน 3 ล้านบาทขึ้นไป) ให้เติบโตอีก 12% จากปัจจุบันมีลูกค้า 1 แสนราย
นอกจากนี้ ทุกมิติของการทำธุรกิจจะขับเคลื่อนบนแกน Sustainability สอดรับกับเป้าหมายกลุ่ม CIMB ที่จะบรรลุ Green, Social Sustainable Impacted Products and Services (GSSIPS) จำนวน 1 แสนล้านริงกิต หรือ 7.7 แสนล้านบาทในปี 2567 โดยปี 2566 ทีมสินเชื่อรายใหญ่ได้สนับสนุนสินเชื่อความยั่งยืน จำนวน 1.5 หมื่นล้านบาท
ในการทำงานบนวิถีความยั่งยืน Net Zero ปี 2567 ตั้งเป้าหมายจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนลง 36% เทียบกับปี 2562 (scope 1 และ 2) และเพื่อปลุกกระแสสังคมรวมพลังสร้างความยั่งยืนไปด้วยกัน ปีนี้ ธนาคารจะจัดสัมมนา The Cooler Earth Sustainability Series ตลอดทั้งปี ทั้งการฉลองวันสิ่งแวดล้อมโลก, เสวนาโต๊ะกลมสินเชื่อยั่งยืน และสัมมนาใหญ่ร่วมกับ UN ESCAP ขึ้นอีกครั้ง หลังจากจัดขึ้นครั้งแรกปี 2566
“เราโฟกัส ASEAN, Digitalization, Wealth & Consumer Finance Solutions และ Sustainability โดยยึดลูกค้าเป็นหัวใจ (Customer-centric) ส่งผลให้เราได้รับการจัดอันดับจาก Rakuten Group ในปี 2566 ให้เป็นธนาคารที่ลูกค้าให้คะแนนความพึงพอใจเป็นอันดับหนึ่งเมื่อเทียบกับตลาด (คะแนน NPS : Net Promoter Score) ด้วยคะแนน 85 ที่ปรับตัวสูงขึ้นจาก 63 ในปีก่อนหน้า เราตั้งเป้าหมายจะรักษามาตรฐานการเป็นที่หนึ่งในใจลูกค้า จึงมีแผนพัฒนาขั้นตอนการให้บริการดียิ่งขึ้นไปอีก เพื่อส่งมอบบริการที่เป็นเลิศผ่านทุกจุดบริการ (Touchpoint) ผ่านแอป สาขา และ Wealth Center สอดคล้องกับค่านิยมของ CIMB Thai ในการเป็น customer-centric organization” พอล วอง กล่าวปิดท้าย