HomeReal Estate & Condoศาลแพ่งฯ สั่ง ‘แอชตัน อโศก’ คืนเงินผู้ซื้อห้องชุด 7 ราย 78 ล้าน ‘อนันดา’ ยื่นอุทธรณ์คดี

ศาลแพ่งฯ สั่ง ‘แอชตัน อโศก’ คืนเงินผู้ซื้อห้องชุด 7 ราย 78 ล้าน ‘อนันดา’ ยื่นอุทธรณ์คดี

แชร์ :

หลังจากเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2566 ศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษาให้ “เพิกถอน” ใบอนุญาตก่อสร้างโครงการ “แอชตัน อโศก” (Ashton Asoke) ซึ่งเป็นโครงการของ บมจ. อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ ร่วมทุนกับ “มิตซุย ฟูโดซัง” ประเทศญี่ปุ่น เป็นคอนโดสูง 51 ชั้น มีห้องพัก 783 ยูนิต ตั้งอยู่ริมถนนอโศก มูลค่าโครงการ 6,481 ล้านบาท

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ประเด็นของคดีเนื่องจาก “ที่ดินทางเข้า-ออก” อาคารแอชตัน อโศก เป็นที่ดินของ รฟม. ที่ได้มาจากการเวนคืน จึงไม่อาจนำมาให้เอกชนใช้ในการประกอบการได้

จากคดีดังกล่าวจึงได้มี ผู้ซื้อห้องชุดโครงการแอชตัน อโศก 7 ราย ยื่นฟ้อง บริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัด  (เจ้าของโครงการแอชตัน อโศก) ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เพื่อขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายห้องชุดระหว่างโจทก์ทั้ง 7 ราย และให้บริษัทอนันดาฯ คืนเงินค่าซื้อห้องชุด พร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2567 ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ได้มีคำพิพากษาคดีที่เจ้าของห้องชุดโครงการ “แอชตัน อโศก” 7 ราย ยื่นฟ้อง บริษัท อนันดา เอ็มเอฟ อโศก จำกัด ให้คืนเงินตามสัญญาจะซื้อจะขายให้โจทย์ทั้ง 7 ราย เป็นจำนวนรวม 78 ล้านบาท 

“อนันดา” แจ้งว่าน้อมรับและเคารพในคำพิพากษาของศาลแพ่งกรุงเทพใต้  คำพิพากษาดังกล่าวเป็นของศาลขั้นต้น โดยคดียังไม่ถึงที่สุด “อนันดา” จึงขอใช้สิทธิอุทธรณ์คดีต่อไป 

การแก้ไขปัญหาคดีแอชตัน อโศก  “อนันดา” ได้ให้ความร่วมมือในการดำเนินการของหน่วยงานภาครัฐอย่างเต็มที่ และมั่นใจในการดำเนินงานของภาครัฐ โดยเชื่อว่าจะสามารถแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชนได้ และปัญหาน่าจะมีทางออกที่เป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

ปัจจุบันคดีของโครงการแอชตัน อโศก ซึ่งเกี่ยวกับทางเข้าออกของโครงการ เรื่องดังกล่าวอยู่ระหว่างการดำเนินการแก้ไขของกระทรวงคมนาคม ซึ่งได้แต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาแก้ไขปัญหาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชลแห่งประเทศไทย (รฟม.)

ย้อนประเด็นคำพิพากษาเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างแอชตันอโศก

– ประเด็นสำคัญที่ศาลปกครองวินิจฉัย คือ ที่ดินทางเข้า-ออกอาคารแอชตัน อโศก เป็นที่ดินของ รฟม. มาจากการเวนคืน จึงไม่อาจนำมาให้เอกชนใช้ในการประกอบการได้

– เมื่อไม่สามารถนำที่ดินทางเข้า-ออกมาใช้ได้ ดังนั้นการที่หน่วยงานของรัฐ (กทม.) ออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร จึงขัดกับ พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ที่อาคารสูงต้องมีด้านใดด้านหนึ่งของที่ดินยาวไม่น้อยกว่า 12 เมตร ติดถนนสาธารณะที่มีทางกว้างไม่น้อยกว่า 18 เมตร

– ส่งผลให้ใบอนุญาตก่อสร้าง “แอชตัน อโศก” ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลปกครองสูงสุด จึงยืนตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง ให้ “เพิกถอน” คำสั่งอนุญาตก่อสร้างอาคารแอชตัน อโศก โดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ออกใบอนุญาต

อ่านเพิ่มเติม


แชร์ :

You may also like