HomeFinancial4 กลยุทธ์ “กรุงศรี คอนซูมเมอร์” ลุยทุกกลุ่มเจาะตลาดบัตรเครดิต ตอกย้ำเจ้าแห่งพันธมิตร King of Partner

4 กลยุทธ์ “กรุงศรี คอนซูมเมอร์” ลุยทุกกลุ่มเจาะตลาดบัตรเครดิต ตอกย้ำเจ้าแห่งพันธมิตร King of Partner

แชร์ :

กรุงศรี คอนซูมเมอร์ (Krungsri Consumer) บริษัทให้บริการบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล ซึ่งอยู่ภายใต้เครือธนาคารกรุงศรี และ MUFG  โดยปัจจุบันมี 4 กลุ่มบัตรหลัก คือ  ธนาคารกรุงศรี (KCC) , บัตรเครดิตเซ็นทรัลเดอะวัน , บัตรเครดิตโลตัส , บัตรกรุงศรี First choice เป็นต้น ได้ประกาศผลการดำเนินงานของปี 2566 และ ผลกลยุทธ์สำหรับปี 2567 ในการเจาะตลาดบัตรเครดิตในประเทศไทย

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ผลการดำเนินงาน กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ในปี 2566  มียอดบัตรใหม่รวม 339,000 บัตร  (เติบโต 25%)  ยอดใช้จ่ายผ่านบัตร 365,000 ล้านบาท (เติบโต 10%) ยอดสินเชื่อใหม่ 92,000 ล้านบาท (เติบโต 6%) เมื่อเทียบกับปีก่อน  โดยสินค้าหรือบริการที่ใช้จ่ายมากที่สุด 5 อันดับแรก (ยอดค่าใช้จ่าย) คือ  ประกันภัย , ปั๊มน้ำมัน , ช้อปปิ้งออนไลน์และกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ ,  ตกแต่งบ้านและเครื่องใช้ในครัวเรือน  และ ไฮเปอร์มาร์ท-ซุปเปอร์มาร์เก็ต  ส่วนประเภทที่มีการเติบโตสูงที่สุด  คือ กลุ่มตัวแทนท่องเที่ยว  สายการบิน  และ โรงแรม-รถเช่า

อธิศ รุจิรวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจเนอรัล คาร์ด เซอร์วิสเซส จำกัด ในฐานะตัวแทนบัตรเครดิตในเครือกรุงศรี คอนซูมเมอร์ กล่าวเสริมว่า  “สำหรับตลาดบัตรเครดิตที่ผ่านมายังเป็นรูปแบบการแข่งขันเน้นโปรโมชั่น  เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ใช้บัตรเครดิตของแต่ละแบรนด์(สถาบัน) รวมถึงพยายามให้กลายเป็นบัตรหลักที่ผู้บริโภคหยิบออกมาใช้จ่ายอยู่ทุกวัน โดยทั้งเจาะไปที่กลุ่มร้านอาหาร  การท่องเที่ยว  ห้างสรรพสินค้า และอื่นๆ  ทั้งนี้ไตรมาสแรก (ม.ค.-ก.พ. 2567) ยอดใช้จ่ายอยู่ที่ 62,000 ล้านบาท (เติบโต 10%) เป็นเพราะมาตรการกระตุ้นจากทางภาครัฐ และ เทศกาลต่างๆ”

อธิศ รุจิรวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจเนอรัล คาร์ด เซอร์วิสเซส จำกัด

4 กลยุทธ์เจาะตลาด ปี 2567  ตอกย้ำ King of Partner

1. Grow Core Business  เพราะเดิมกรุงศรี คอนซูเมอร์เดิมเป็นเป็นธุรกิจ  Payment and Lending  แม้ว่าจะพยายาม Diversify ไปในหลายทางๆ แต่ก็ต้องหันกลับมาโฟกัสที่ Payment and Lending โดยเฉพาะโปรดักช์อย่าง “สินเชื่อบุคคลและบัตรเครดิต” มากกว่าเดิม

2. Expand Partnership Ecosystem ขยายระบบนิเวศพันธมิตร นอกจากหาพันธมิตรใหม่แล้วยังจะต่อยอดพันธมิตรเดิมให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า

3. Foster Product Innovations  ส่งเสริมนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าเดิมและคนรุ่นใหม่ ผ่านเทคโนโลยีหรือเครื่องมือใหม่ๆ  ไม่ว่าจะเป็น Mobile Payment , Buy Now Pay Later เป็นต้นเพื่อมอบทางเลือกใหม่ให้ลูกค้า   ปัจจุบันมีการศึกษา Face Payment และ Biometric Payment

4. Cross Group Synergy ผนึกกำลังบริษัทในเครือไม่ใช่เพียงแค่กรุงศรีคอนซูเมอร์ แต่รวมไปถึงกลุ่มธนาคารกรุงศรีและ MUFG จากฝั่งญี่ปุ่น เพื่อให้เกิดสินค้าและบริการใหม่ๆที่แตกต่างและตอบโจทย์ลูกค้าในกลุ่มเซกเม้นต่างๆ

สำหรับปี 2567 นี้ตั้งเป้ายอดบัตรเครดิตใหม่ 365,000 บัตร  ยอดใช้จ่าย 393,000 ล้านบาท  ยอดสินเชื่อใหม่ 100,000 ล้านบาท  และยอดสินเชื่อคงค้าง  151,000 ล้านบาท

 

ญี่ปุ่นยังฮิต !! ดันแคมเปญต่อ ” เรื่องญี่ปุ่นต้องกรุงศรี ” 

 “จากข้อมูลยอดใช้จ่ายบัตรในเครือปี 2566 พบว่า จากสัดส่วนยอดใช้จ่ายผ่านบัตรในต่างประเทศ ญี่ปุ่นเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมของลูกค้าของเราและมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของตลาดดังกล่าว บัตรเครดิตในเครือ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ในฐานะบริษัทในเครือกรุงศรี หนึ่งในเครือของมิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป (MUFG) จึงเตรียมต่อยอดแคมเปญ “เรื่องญี่ปุ่น ต้องกรุงศรี” ที่เปิดตัวไปเมื่อปีที่ผ่านมา โดยในปีนี้บริษัทได้ขยายความร่วมมือกับเครือข่ายทางธุรกิจที่แข็งแกร่งของ MUFG และพันธมิตรทั้งในญี่ปุ่นและไทยเพิ่มเติม รวมกว่า 600 แบรนด์ นำเสนอสิทธิประโยชน์ที่หลากหลายยิ่งขึ้น เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้บัตรที่ดียิ่งขึ้น” สมหวัง โตรักตระกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท บัตรกรุงศรีอยุธยา จำกัด กล่าว

สมหวัง โตรักตระกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท บัตรกรุงศรีอยุธยา จำกัด

ในปีที่ผ่านมา 2566 มียอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในเครือกรุงศรี คอนซูมเมอร์ที่ญี่ปุ่น 2,200  ล้านบาท (+250% เทียบกับปีก่อน) หมวดใช้จ่ายสูงสุด เรียงตามยอดใช้จ่าย ได้แก่ 1. ห้างสรรพสินค้า 2. โรงแรม ที่พัก 3. สินค้าแฟชั่น เครื่องแต่งกาย  4. เครื่องสำอาง สินค้าเบ็ดเตล็ด  5. สนามบินและสินค้าปลอดภาษี โดยลูกค้าส่วนใหญ่ราว 80% เป็นกลุ่ม Gen X และ Gen Y มียอดใช้จ่ายต่อคน เฉลี่ย 32,000 บาท หรือ เติบโต 10% เทียบกับปี 2565

และในปีนี้ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ขับเคลื่อนเซกเม้นญี่ปุ่นนี้ด้วย 4 แนวทางหลัก ได้แก่ 1. ขยายความร่วมมือโดยเพิ่มจำนวนพันธมิตร เพิ่มสิทธิประโยชน์ เสริมหมวดหมู่ใหม่ ๆ ภายใต้ระบบนิเวศธุรกิจเพื่อคนรักญี่ปุ่น 2. นำเสนอทางเลือกในการชำระเงินที่หลากหลาย อำนวยความสะดวกให้ลูกค้า 3. เสริมประสบการณ์ให้หลากหลาย ครบทุกเรื่องญี่ปุ่น ทั้งในและต่างประเทศ เช่น เพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านร้านอาหาร การช้อปปิ้ง และบริการ งานอีเวนต์ที่เกี่ยวข้องกับญี่ปุ่น 4. ใช้ข้อมูลและนวัตกรรม เสริมประสิทธิภาพการตลาด ทั้งนี้ คาดว่า สิทธิประโยชน์ที่ครบ จบ ทุกประสบการณ์เรื่องญี่ปุ่น และเครือข่ายพันธมิตรที่แข็งแกร่ง โดยบริษัทตั้งเป้ายอดใช้จ่ายผ่านบัตรที่ญี่ปุ่น 2,950 ล้านบาทในปี 2567 (เติบโต 50% เทียบกับปีก่อน)” นายสมหวัง กล่าวสรุป

 

 


แชร์ :

You may also like