สัตยา นาเดลลา (Satya Nadella) ซีอีโอไมโครซอฟท์ (Microsoft) ประกาศตั้ง Data Center อย่างเป็นทางการในประเทศไทย ในงาน Microsoft Build: AI Day ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ด้านนายกรัฐมนตรีไทยเผย โครงสร้างพื้นฐานไทยมีความพร้อมสูง และมีพลังงานสะอาดรองรับการลงทุนครั้งนี้แล้วเรียบร้อย คาด AI จะช่วยเพิ่มมูลค่า GDP ของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉี
การเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของสัตยา นาเดลลา ประธานกรรมการบริหารและซีอีโอของไมโครซอฟท์ (Microsoft) บริษัทเทคโนโลยีที่มีมูลค่ามากเป็นอันดับหนึ่งของโลกเริ่มต้นขึ้นแล้วในวันนี้ผ่านงาน Microsoft Build: AI Day ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยก่อนหน้าที่จะมาเยือนประเทศไทย สัตยา นาเดลลา ได้เดินทางไปประเทศอินโดนีเซีย และประกาศการลงทุน 1.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในคลาวด์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นระยะเวลา 4 ปี รวมถึงมีการเข้าพบนายโจโก วิโดโด ประธานาธิบดีแห่งอินโดนีเซียด้วย (เม็ดเงินดังกล่าวยังรวมถึงการฝึกอบรมทักษะด้าน AI ให้แก่ชาวอินโดนีเซีย 840,000 คน)
ทั้งนี้ ข้อมูลจาก งานวิจัยโดยบริษัทที่ปรึกษา Kearney คาดการณ์ว่า AI จะช่วยเพิ่มมูลค่า GDP ของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉี
ใจความสำคัญ “สัตยา” เยือนไทย
สำหรับการมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในวันนี้ นอกจากที่สัตยา นาเดลลา จะพบปะกับชุมชนนักพัฒนาและผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมจากเทคโนโลยี AI แล้ว ยังมีในส่วนของการสานต่อความร่วมมือระหว่างไมโครซอฟท์กับรัฐบาลไทยด้วย โดยนายกรัฐมนตรีของไทย นายเศรษฐา ทวีสินได้กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมด้านการรองรับการลงทุนของบริษัทต่างชาติในด้านคลาวด์และ เอไอด้วยว่า ประเทศไทยมีความพร้อมสูงด้านเครือข่ายโทรคมนาคม อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และที่สำคัญที่สุดคือการเตรียมความพร้อมด้านพลังงานสะอาด เพื่อรองรับการลงทุนเหล่านั้น
นอกจากนี้ ไมโครซอฟท์ยังจะทำงานร่วมกับรัฐบาลไทยอย่างใกล้ชิดในการสนับสนุนนโยบาย “Cloud First” ของภาครัฐ ด้วยโครงการพัฒนาทักษะด้าน AI สำหรับข้าราชการและนักพัฒนาที่ทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงการช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของชุมชนนักพัฒนาในประเทศไทย ผ่านโครงการและกิจกรรมอย่าง AI Odyssey ที่มุ่งสนับสนุนให้นักพัฒนาชาวไทยกว่า 6,000 คน ยกระดับทักษะความสามารถขึ้นมาเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน AI ที่ครบเครื่องด้วยทักษะใหม่ ๆ และการรับรองจากไมโครซอฟท์
ในปีที่ผ่านมา ประเทศไทยยังนับว่าเป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็วบน GitHub (แพลตฟอร์มนักพัฒนาของไมโครซอฟท์) เห็นได้จากตัวเลขนักพัฒนาในประเทศไทยรวมกว่า 900,000 รายที่ใช้งาน GitHub หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตถึง 24% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
ความสำคัญของ AI ในโลกการทำงานยุคใหม่
สำหรับความสำคัญของ AI ซึ่งนำไปสู่งาน Microsoft Build : AI Day ในประเทศไทยครั้งนี้ ส่วนหนึ่งอาจมาจากดัชนีแนวโน้มการทำงานประจำปีของบริษัท (เผยแพร่เมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว) ที่พบว่า ผู้นำ 90% ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มองว่า พนักงานของพวกเขาต้องมีทักษะใหม่ ๆ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเติบโตของ AI (เป็นการสำรวจจากพนักงานทั้งหมด 31,000 คนทั่วโลก ซึ่งในจำนวนนี้ มี 6 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม)
ด้วยเหตุนี้ Microsoft จึงได้ประกาศในอินโดนีเซียว่า มีแผนที่จะเพิ่มทักษะด้าน AI ให้แก่ผู้คนในภูมิภาคอาเซียนจำนวน 2.5 ล้านคนภายในปี 2568 การฝึกอบรมดังกล่าวจะจัดขึ้นโดยได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาล องค์กรไม่แสวงผลกำไร ธุรกิจ และชุมชน
สำหรับในประเทศไทย แผนงานด้านการเสริมทักษะของไมโครซอฟท์ในระยะแรกจะช่วยยกระดับความสามารถด้าน AI ให้กับคนไทยกว่า 100,000 คนผ่านโครงการ AI Skills for the AI-enabled Tourism Industry มุ่งเสริมทักษะด้าน AI ให้กับผู้ประกอบการและบุคลากรในภาคการท่องเที่ยวโดยเฉพาะ โครงการนี้จัดทำขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงแรงงาน สถาบันฝึกอบรมอาชีวศึกษาด้านเทคโนโลยี และไมโครซอฟท์ ด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับผู้ประกอบการรุ่นใหม่และเยาวชนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการท่องเที่ยวในเมืองรองทั่วประเทศโดยจะมุ่งเน้นเพิ่มขีดความสามารถด้านการใช้งาน AI เพื่อภาคการท่องเที่ยวของผู้ฝึกสอน 500 คนจากสถาบันฝึกอบรมอาชีวศึกษาด้านเทคโนโลยี โดยผู้ฝึกสอนเหล่านี้จะนำความรู้และทักษะที่ได้รับไปเผยแพร่ให้กับเยาวชนและคนทำงานรุ่นใหม่ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการโรงแรม ผู้เข้าอบรมสามารถเข้าถึงเนื้อหาในหลักสูตรได้อย่างสะดวกรวดเร็วผ่านแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้ที่ดูแลโดยพันธมิตรของไมโครซอฟท์ ทั้งยั้งสามารถขยายโครงการและการเรียนรู้ได้ในระยะยาวต่อไป
ถอดประวัติ “สัตยา นาเดลลา”
สัตยา นาเดลลา ร่วมงานกับ Microsoft ในปี 1992 เขากลายเป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็วในฐานะผู้นำที่สามารถขยายเทคโนโลยีและธุรกิจที่หลากหลาย และสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านผลิตภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดของ Microsoft โดยเฉพาะในกลุ่มคลาวด์และ Enterprise ก่อนจะก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Microsoft ในเดือนกุมภาพันธ์ 2014 โดยเขาเป็นซีอีโอคนที่ 3 ต่อจากสตีฟ บอลเมอร์ (ซีอีโอคนแรกคือบิล เกตส์)
สัตยามีพื้นเพมาจากเมืองไฮเดอราบัด ประเทศอินเดีย อาศัยอยู่ที่เมืองเบลล์วิว รัฐวอชิงตัน กับครอบครัว เขาได้รับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าจาก Mangalore University ปริญญาโทสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์จาก University of Wisconsin – Milwaukee และปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจจาก University of Chicago และก่อนหน้าที่จะมาร่วมงานกับไมโครซอฟท์ เขาเคยทำงานให้กับ Sun Microsystems มาก่อน
สัตยา นาเดลลา เริ่มงานวันแรกในฐานะ CEO ของ Microsoft ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2014 ซึ่งราคาหุ้นของ Microsoft ในวันแรกที่เขาเริ่มงานคือ 36.35 เหรียญสหรัฐฯ จากวันนั้นจนถึงวันนี้ หรือก็คือ 10 ปีผ่านไป มูลค่าหุ้นของ Microsoft อยู่ที่ระดับ 389 เหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นราว 10 เท่า โดยอาจกล่าวได้ว่า การเป็น CEO ของสัตยาทำให้ Microsoft รุกไปยังตลาดที่ยังไม่มีใครแตะมากนัก นั่นคือคลาวด์ โดยก่อนหน้าที่จะรับตำแหน่ง CEO เขาเป็นผู้บริหารของฝ่ายที่ดูแลด้านเซิร์ฟเวอร์อยู่แล้ว (สัตยา เข้ารับตำแหน่งประธานฝ่าย Server and Tools ของ Microsoft ตั้งแต่ปี 2011) และในปี 2013 ฝ่ายของเขาสร้างรายได้ให้กับบริษัทถึง 20,300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของ Microsoft ในยุคของสัตยา นาเดลลา ก็คือ การประกาศลงทุนอย่างน้อย 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ใน OpenAI ของ Sam Altman และมี ChatGPT เป็นกุญแจสำคัญในการบุกตลาดปัญญาประดิษฐ์ยุคใหม่ นอกจากนั้น Microsoft สามารถนำ AI มาปรับเข้ากับธุรกิจของตนเองได้อย่างไร้รอยต่อ และได้ทดลองใช้งานในภาคธุรกิจกับบริษัทยักษ์ใหญ่บางรายด้วย
เมื่อ ChatGPT เติบโตและเริ่มทำรายได้เป็นกอบเป็นกำ Microsoft ก็ได้เปิดตัวบริการ Subscriptions รายเดือน สำหรับการใช้ AI ของทางค่ายร่วมกับบริการ Office365 และทำให้หุ้นของ Microsoft ปรับตัวเพิ่มขึ้นทันทีเช่นกัน
ยกกรณีศึกษาการใช้ AI ของไทยและอินโดนีเซีย
ในการเยือนประเทศอินโดนีเซีย สัตยา นาเดลลา ยังได้โพสต์ถึงการนำ AI มาใช้ของบริษัท eFishery ที่ช่วยให้การจับสัตว์น้ำอย่างปลามีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นด้วย สำหรับประเทศไทย คุณสัตยา ยังได้ยกกรณีของบริษัทต่าง ๆ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐที่มีการใช้เอไอในองค์กรด้วยเช่นกัน ดังนี้
- บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ได้นำ Copilot for Microsoft 365 มาประยุกต์ใช้เพื่อให้พนั
กงานทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิ ภาพมากยิ่งขึ้น โดยเข้ามามีบทบาทในหน่วยงานต่ าง ๆ มากมาย เช่น ฝ่ายกฎหมาย นอกจากนี้ เอไอเอสยังได้นำ GitHub Copilot บริการ AI สำหรับช่วยเขียนโค้ด และ Azure OpenAI Service แพลตฟอร์มเพื่อการพัฒนา AI ในองค์กร มาใช้งานต่อยอดเพื่อสร้างสรรค์ แอปพลิเคชันและผู้ช่วย AI ด้วยตนเอง
- สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่
งชาติ (สปสช.) ได้พัฒนาแพลตฟอร์มใหม่ที่นำนวั ตกรรม AI มาขับเคลื่อนภารกิจเพื่อสุ ขภาพที่ดีกว่าของคนไทย โดยแพลตฟอร์มดังกล่าวนำบริการ Azure OpenAI Service, Azure Machine Learning และเทคโนโลยีอื่น ๆ ของไมโครซอฟท์มาพัฒนาเป็นช่ องทางให้ประชาชนทั่ วไปสามารถทำความเข้าใจนโยบายด้ านสาธารณสุขได้ง่ายขึ้น ทั้งยังสามารถให้คำแนะนำด้ านการดูแลรักษาสุขภาพที่ตรงกั บความต้องการของแต่ละคน พร้อมด้วยข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิ การรักษาพยาบาลและบริ การทางการแพทย์ที่เหมาะสม เพื่อให้คนไทยกว่า 66 ล้านคนมีโอกาสเข้าถึงข้อมู ลการรักษาพยาบาลได้ทั่วถึงมากยิ่ งขึ้น - บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCBX นำบริการ Azure OpenAI Service มาเป็นรากฐานของการสร้างสรรค์
นวัตกรรมในองค์กร เช่น การนำ Azure OpenAI Service มาใช้สนับสนุนการทำงานของแชทบอท “มณี” ให้ทำความเข้าใจคำถามของลูกค้ าได้ชัดเจนและแม่นยำยิ่งขึ้น ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการบริ การลูกค้าได้ถึง 400,000 เหรียญสหรัฐ (ราว 14.8 ล้านบาท) ต่อปี ขณะที่อีกหนึ่งธุรกิจในเครืออย่ าง InnovestX ก็ได้นำ Azure OpenAI Service มาใช้รวบรวมข้อมู ลผลประกอบการของบริษัทจดทะเบี ยนในต่างประเทศ พร้อมด้วยบทวิเคราะห์ จากหลากหลายแหล่ง มาสรุปเป็นรายงานที่อ่านง่ ายและแม่นยำ
- สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา หน่วยงานในสังกัดสำนักนายกรั
ฐมนตรีที่มีภารกิจในการร่วมพิ จารณาและจัดทำร่างกฎหมาย ให้ความเห็นเชิงกฎหมายกับหน่ วยงานของรัฐ ได้ประกาศว่าจะนำ Copilot for Microsoft 365 เข้ามาสนับสนุนการทำงานของนั กกฎหมายที่ทำงานให้กับภาครัฐ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านอื่น ๆ ภายในองค์กร