HomeFinancialSCB WEALTH เปิดผลงานย้อนหลัง 10 ปีตลาดหุ้นสหรัฐฯ โชว์ผลงานโดดเด่นเฉลี่ย 15% ต่อปี จับจังหวะลงทุนเกาหลีใต้ เวียดนามและจีน H-Share

SCB WEALTH เปิดผลงานย้อนหลัง 10 ปีตลาดหุ้นสหรัฐฯ โชว์ผลงานโดดเด่นเฉลี่ย 15% ต่อปี จับจังหวะลงทุนเกาหลีใต้ เวียดนามและจีน H-Share

แชร์ :

SCB WEALTH เผย ผลตอบแทนตลาดหุ้นย้อนหลัง 10 ปี (2555 – 2566) พบตลาดหุ้นสหรัฐฯ สร้างผลตอบแทนดีที่สุดเฉลี่ย 15% ต่อปี มองทิศทางกำไรบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นทั่วโลก มีแนวโน้มเติบโตได้ดี แนะพอร์ตลงทุน ใน Core Portfolio  เน้นลงทุนประมาณ 75 -100 % ควรมีสินทรัพย์ที่หลากหลายและมีสภาพคล่อง  พร้อมมองหาโอกาสลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ  ยุโรป และญี่ปุ่น ส่วนตลาดเกิดใหม่ ที่น่าสนใจ เศรษฐกิจมีอัตราการเติบโตสูง  ได้แก่ อินเดีย  อินโดนีเซีย และจีน  รวมถึงสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคำ เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากสงคราม และเงินเฟ้อ ส่วน Opportunistic Portfolio   สัดส่วนลงทุน 0-25 % มุ่งเน้นไปยังตลาดที่มองเห็นโอกาสในระยะสั้น แนะลงทุนในตลาดหุ้นเกาหลีใต้ เวียดนาม และตลาดหุ้นจีน H-Share

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

คุณชาตรี  โรจนอาภา CFA, FRM Head of Investment Consultant SCB CIO ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผย ในงานสัมมนา  Investment Talk   ภายใต้หัวข้อส่องเศรษฐกิจโลก จับตาสงคราม วางกลยุทธ์ลงทุนที่จัดขึ้นให้แก่กลุ่มลูกค้า High Net Worth ว่า  ในช่วงที่ผ่านมา จะมีสถานการณ์ที่สร้างความกังวลให้กับนักลงทุนหลายอย่างทั้งการแพร่ระบาดของโควิดที่ทั่วโลกต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย สงครามรัสเซียยูเครน และสงครามอิสราเอลฮามาส แต่การลงทุนในตลาดหุ้น ยังให้ผลตอบแทนที่ดี โดยหากพิจารณาผลตอบแทนเฉลี่ยของสินทรัพย์ต่างๆ นับตั้งแต่ปี 2555-2566  พบว่า ตลาดหุ้นสหรัฐฯให้ผลตอบแทนดีที่สุด 15% ต่อปี ส่วนตลาดหุ้นประเทศตลาดเกิดใหม่ ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 5% ต่อปี  และตลาดหุ้นไทย ให้ผลตอบแทน 7.1% ต่อปี ดังนั้น SCB CIO จึงแนะนำให้ผู้ลงทุนเน้นมองการลงทุนเป็นเรื่องระยะยาวที่ต้องใช้เวลา

สำหรับภาพรวมปัจจัยเศรษฐกิจที่มีผลต่อการลงทุนในเวลานี้ ได้แก่ เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์พอสมควร เศรษฐกิจสหรัฐฯ เติบโตแข็งแกร่ง ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น ตัวเลขการจ้างงานภาคการเกษตร ดัชนีราคาผู้บริโภค และยอดขายปลีก ในเดือน มี.. ออกมาดีเกินคาด ขณะที่ การผลิตอุตสาหกรรมส่งสัญญาณฟื้นตัว ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ในระดับใกล้เคียงหรือสูงกว่า 3% ต่อปี ซึ่งเป็นแรงกดดันต่อแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed)  ทำให้อาจปรับลดดอกเบี้ยช้าลงและยังมีผลต่อดอกเบี้ยนโยบายของตลาดการเงินทั่วโลกอีกด้วย

เราคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีโอกาสลดดอกเบี้ยเร็วกว่า Fed โดยอาจปรับลดดอกเบี้ยในเดือน มิ.. นี้ และคาดว่าจะปรับลดประมาณ  3 ครั้ง ในปีนี้ เนื่องจากเงินเฟ้อมีแนวโน้มเข้าสู่เป้าหมายที่ 2.3% ในปี 2567 และเข้าสู่ 2.0% ภายในปี 2568 ขณะที่ Fed จะผ่อนคลายนโยบายการเงินล่าช้ากว่าธนาคารกลางอื่น อาจเลื่อนปรับลดอัตราดอกเบี้ยไปเป็นไตรมาส 3 และปรับลดรวม 2 ครั้งในปีนี้ ส่วนธนาคารกลางอื่นๆ อาจปรับลดดอกเบี้ยครั้งแรกในไตรมาสที่ 3  สำหรับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดว่า จะไม่ปรับลดดอกเบี้ยก่อน Fed เพื่อพยายามรักษาส่วนต่างดอกเบี้ย ทำให้ค่าเงินมีเสถียรภาพ โดยน่าจะได้เห็นภาพการลดดอกเบี้ยในไตรมาสที่ 3 เช่นกัน​​

ทั้งนี้ผลตอบแทนตลาดหุ้นทั่วโลก สิ้นเดือน เม..​ที่ผ่านมา พบว่า ติดลบมากที่สุดในรอบ 7 เดือน จากข้อมูลที่บ่งชี้ถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ชะลอตัว และอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงช้ากว่าที่คาด จากการที่การจ้างงานในไตรมาสแรกยังออกมาแข็งแกร่ง อย่างไรก็ตาม ทิศทางกำไรบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นทั่วโลกส่วนใหญ่มีแนวโน้มเติบโตที่ดี  นำโดยตลาดหุ้นเกาหลีใต้ เวียดนาม และประเทศพัฒนาแล้วทั้งหมด แต่สำหรับทิศทางกำไรบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นจีน ทั้ง A-Share และ H-Share ยังมีแนวโน้มชะลอตัว

ด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่เคยเร่งตัวในช่วงที่ผ่านมา ได้สะท้อนเงินเฟ้อที่ปรับลดลงช้ากว่าคาด  ขณะที่  ตั้งแต่ช่วงต้นเดือน พ..​ที่แรงกดดันเงินเฟ้อและดอกเบี้ยนโยบายเริ่มผ่อนคลายลง จากรายงานการจ้างงานของสหรัฐฯ เดือน เม.. ที่เริ่มชะลอตัว รายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงปรับลดลง  แม้มีความเสี่ยงที่ราคาตราสารหนี้จะปรับลดลง แต่การลงทุนตราสารหนี้ในช่วงนี้ จะได้รับผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยรับ (Coupon Yield) ที่สูงขึ้น สำหรับผู้ที่ถือตราสารหนี้จนครบกำหนดไถ่ถอน นอกจากนี้ เมื่ออัตราผลตอบแทนตราสารหนี้มีแนวโน้มปรับลดลงก็จะทำให้ราคาตราสารหนี้สูงขึ้นทำให้ผู้ลงทุนมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ดี

อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรจัดสรรเงินลงทุนอย่างเหมาะสม แบ่งเงินสำหรับการลงทุนทั้งในระยะยาวและระยะสั้น เพื่อให้พอร์ตโดยรวมไม่ผันผวนมากเกินไป โดยในพอร์ตลงทุนหลัก (Core Portfolio) ซึ่งลงทุนระยะยาว ควรลงทุนในสัดส่วนที่มาก เน้นกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย อาจพิจารณาลงทุนในกองทุนซึ่งมีผู้จัดการกองทุนช่วยดูแลปรับการลงทุนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ส่วนพอร์ตลงทุนเสริม (Opportunistic Portfolio) ก็อาจจะมีไว้เพื่อมองหาโอกาสการลงทุนในแต่ละช่วงเวลา โดยตัวอย่างการจัดพอร์ตลงทุน 2 ส่วนนี้ ได้แก่ แบ่งเงินไว้ใน Core Portfolio 75-100% และลงทุนผ่าน Opportunisitc Portfolio 0-25% หมายความว่า กรณีรับความเสี่ยงได้ต่ำ อาจเน้นลงทุนบน Core Portfolio เพียงอย่างเดียวก็ได้ แต่เมื่อรับความเสี่ยงได้สูงขึ้น ก็สามารถลดสัดส่วนบน Core Portfolio เพื่อไปลงทุนผ่าน Opportunistic Portfolio บ้าง

ทั้งนี้ ในการกระจายเงินลงทุนบน Core Portfolio ผู้ลงทุน ยังต้องมีเงินสดไว้ใช้จ่าย หรือเป็นสภาพคล่อง มีตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนค่อนข้างสม่ำเสมอ มีสินทรัพย์ผสม  หรือกองทรัสต์ที่ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์​ (​REIT) เพื่อสร้างรายได้ที่เป็นกระแสเงินสดเข้ามารวมถึงมีการลงทุนในตลาดหุ้นเพื่อคาดหวังการเติบโตทั้งหุ้นไทยและหุ้นต่างประเทศซึ่งเราแนะนำว่าผู้ลงทุนควรมองหาโอกาสนอกประเทศไทยเน้นกระจายเงินลงทุนไปยังตลาดหุ้นประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น ที่เป็นประเทศหลักๆในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกรวมถึงลงทุนผ่านตลาดเกิดใหม่ของประเทศที่เศรษฐกิจมีอัตราการเติบโตสูง เช่น อินเดีย อินโดนีเซีย และจีน ที่เศรษฐกิจฟื้นตัว ขณะเดียวกันก็ควรมีสินค้าโภคภัณฑ์เช่นทองคำเพื่อป้องกันความเสี่ยงในช่วงสงครามและเงินเฟ้อ

เรามอง ดัชนี S&P500 ของสหรัฐฯที่ปรับลดลงเดือน เม.. ​สะท้อนความเสี่ยงเงินเฟ้อ และการเร่งตัวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปี พอสมควรแล้ว ขณะที่กำไรไตรมาสแรกดีกว่าคาด ทำให้ Valuation เริ่มกลับมาอยู่ในระดับที่น่าสนใจส่วนดัชนี STOXX600 ของยุโรป มีแนวโน้มที่กำไรบริษัทจดทะเบียนไตรมาสแรกออกมาดีกว่าคาด อีกทั้งมีแนวโน้มการซื้อหุ้นคืนและจ่ายเงินปันผลมากขึ้น จึงมีความน่าสนใจ ส่วนดัชนี TOPIX ของญี่ปุ่น มีแนวโน้มรายงานผลประกอบการไตรมาส 4 ปีงบประมาณ 2566 (ไตรมาสแรก ปี 2567 ตามปีปฏิทิน) ดีกว่าคาด แต่ยังมีความเสี่ยงถูกปรับลดประมาณการกำไรปีงบประมาณ 2567 หลังผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจของญี่ปุ่น (Tankan) พบว่า บริษัทใหญ่ของญี่ปุ่นคาดการณ์กำไรสุทธิปีงบประมาณ 2567 ลดลง และมองเงินเยนสิ้นปีนี้แข็งค่ามากกว่าปัจจุบัน ตลาดจึงอาจปรับฐาน ซึ่งหากเกิดขึ้น ก็เป็นโอกาสลงทุนระยะยาวนายชาตรี กล่าว

ส่วนการลงทุนบน Opportunistic Portfolio ควรมุ่งเน้นไปยังตลาดที่มองเห็นโอกาสในระยะสั้น ซึ่งในเวลานี้ เราแนะนำลงทุนในตลาดหุ้นเกาหลีใต้ เวียดนาม และตลาดหุ้นจีน H-Share สำหรับตลาดหุ้นเกาหลีใต้ เรามองว่า มีพัฒนาการด้านปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดี จากการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ กลับมาสู่วัฏจักรการฟื้นตัว ประกอบกับการประกาศใช้นโยบายเพิ่มมูลค่าบริษัทจดทะเบียน (Corporate Value Up) มีแนวโน้มส่งผลบวกต่อตลาดหุ้น อีกทั้งยังเป็นตลาดหุ้นที่มีราคาต่อกำไรต่อหุ้น (P/E) อยู่ที่ 9 10 เท่า ซึ่งถือว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว และต่ำกว่าภูมิภาคอื่นๆ เพียงแต่ระยะสั้น ดัชนีฯ อาจเผชิญความผันผวนจากความเสี่ยงสงครามอิสราเอลอิหร่านที่เพิ่มขึ้นบ้าง

ด้านตลาดหุ้นเวียดนาม เผชิญความผันผวนจากปัจจัยทั้งภายนอกและภายใน ได้แก่ สถานการณ์ในตะวันออกกลางที่ตึงเครียดมากขึ้น ส่งผลลบต่อค่าเงินดองของเวียดนาม และยังมีข่าวผลกระทบจากการทุจริตในภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่กระทบต่อ Sentiment นักลงทุน แต่ด้วยปัจจัยพื้นฐานที่ดีขึ้น และความคืบหน้าในการยกระดับตลาดหุ้นเวียดนามจากตลาดชายขอบ (Frontier Market) สู่ตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) มีแนวโน้มดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติกลับมาลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนามอีกครั้ง

ขณะที่ ตลาดหุ้นจีน H-Share (ตลาดหุ้นฮ่องกง) ที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น หลังผลการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคคอมมิวนิสต์ของจีน (Politburo) ออกมาส่งสัญญาณออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ เพิ่มเติม โดยเราคาดว่า หลังจากนี้ ทางการอาจเน้นบังคับใช้มาตรการผ่อนคลายที่มีอยู่มากขึ้น รวมทั้งในการประชุมคณะกรรมการกลางแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 3 (3rd Plenum) ที่จะเกิดขึ้นช่วงเดือนก..นี้ เราคาดว่า อาจมีการเปิดเผยรายละเอียดมาตรการต่างๆ เกี่ยวกับทิศทางการปฏิรูปของจีน โดยเฉพาะระบบการคลัง ระบบการเงิน และรัฐวิสาหกิจ ขณะที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ​(...) ของจีน มีมาตรการสนับสนุนการพัฒนาตลาดหุ้น H-Share ออกมาต่อเนื่อง อีกทั้งหุ้นจีนใน H-Share มีแนวโน้มเพิ่มผลตอบแทนผู้ถือหุ้น ผ่านการจ่ายเงินปันผลเพิ่มขึ้น และการเพิ่มซื้อหุ้นคืน ซึ่งจะช่วยหนุนแนวโน้มการฟื้นตัวของอัตราผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้นของดัชนี H-Share

สำหรับผู้ลงทุนที่มีศักยภาพ มีเงินลงทุนสูง แต่ไม่ชำนาญในการจัดพอร์ตลงทุน หรือคัดเลือกผลิตภัณฑ์ด้วยตนเอง SCB WEALTH มีที่ปรึกษาทางการเงินคอยช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ และคัดเลือกการลงทุนที่เหมาะสมสำหรับแต่ละท่าน เนื่องจากเรามีผลิตภัณฑ์การลงทุนในสินทรัพย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศครอบคลุมทุกประเภทสินทรัพย์ เช่น ตราสารหนี้ หุ้นในประเทศ หุ้นต่างประเทศ กองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล เงินฝากสกุลเงินตราต่างประเทศ (FCD) ตราสารอนุพันธ์ที่อ้างอิงกับผลิตภัณฑ์การเงินต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ ครอบคลุมตราสารอนุพันธ์ที่มาพร้อมคุณสมบัติรองรับการลงทุนในช่วงที่ตลาดมีความผันผวน นอกจากนี้ยังมีทางเลือกลงทุนที่น่าสนใจอื่นๆ เช่น ตราสารหนี้นอกตลาด (Private credit) รวมทั้งบริการสินเชื่อ Lombard loan ที่สามารถนำสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น หุ้นกู้ และกองทุนรวม มาใช้เป็นหลักประกัน ขอวงเงินสินเชื่อไปลงทุน หรือบริการ Property backed loan ที่ให้นำที่ดินอสังหาริมทรัพย์มาเป็นหลักประกันขอสินเชื่อเพื่อการลงทุนได้อีกด้วย


แชร์ :

You may also like