HomeBrand Move !!แบรนด์แรกใน Digital Valley ยลโฉม “AIS EEC” แหล่งเรียนรู้ “ดิจิทัล” สำหรับอุตสาหกรรม

แบรนด์แรกใน Digital Valley ยลโฉม “AIS EEC” แหล่งเรียนรู้ “ดิจิทัล” สำหรับอุตสาหกรรม

แชร์ :

AIS Business เผยโฉมพื้นที่แห่งใหม่สำหรับเป็นศูนย์เรียนรู้เพื่อภาคอุตสาหกรรมภายใต้ชื่อ “AIS EEC”  หรือ AIS Evolution Experience Center ในฐานะเป็นแบรนด์แรกที่เปิดตัวอย่างเป็นทางการใน Thailand Digital Valley ผลงานการพัฒนาพื้นที่ของ depa 

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

สำหรับ AIS EEC ตั้งอยู่ในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์หลักคือเป็นศูนย์กลางด้านการเรียนรู้ใน 5G, AI, Cloud, Data Analytics ตลอดจน Digital Platform ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักของอุตสาหกรรมยุคใหม่ ภายในแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ Exhibition Area, Meeting Area, Laboratory Area และ Matching Area

บรรยากาศภายใน AIS EEC ที่มีการโชว์นวัตกรรมต่าง ๆ

สำหรับเทคโนโลยีที่นำมาจัดแสดงใน Exhibition Area นั้น พบว่ามีทั้งสิ้น 4 กลุ่มได้แก่

  • Digital Infrastructure & Platform เช่น 5G Network, Cloud, Open API ต่าง ๆ, Analytic Platform
  • Digital Industry Evolution เช่น Smart Manufacturing, Smart Property & Retail
  • Sustainable Nation เช่น เทคโนโลยี Smart City, Smart Agriculture, Smart Health
  • Modern Business Transformation เช่น IoT Solution

4 ความท้าทายภาคธุรกิจไทย

นอกจากการเปิดพื้นที่แห่งใหม่อย่าง AIS EEC แล้ว ยังมีการเปิดอินไซต์ที่ผู้ประกอบการในประเทศไทยมีความกังวลและนำไปสู่การลงทุนที่เปลี่ยนไปด้วย โดยคุณภูผา เอกะวิภาต รักษาการหัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร AIS กล่าวถึงสิ่งที่เป็นความท้าทายหลักของภาคธุรกิจในปี 2024 ว่ามีถึง 4 ประการ นั่นคือ

  • ผลกระทบจาก Digital Disruption
  • สงครามการค้า
  • ภาวะเศรษฐกิจถดถอย
  • ปัญหา Climate Change

คุณภูผา เอกะวิภาต รักษาการหัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร AIS

อย่างไรก็ดี ท่ามกลางความท้าทายเหล่านี้ คุณภูผาเผยว่า มีอีกหลายบริษัทที่มีการลงทุนในดิจิทัลและ 5G เพื่อสร้างความแตกต่าง เช่น การทำ 5G Private Network ของ Midea แบรนด์ผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศยักษ์ใหญ่สัญชาติจีน, การทำ Smart Factory ของบริษัท Yawata, การนำ 5G ไปใช้ควบคุมรถ Forklift – การทำ Smart Mining ของ SCG หรือการสร้าง Active Cockpit ของ Bosch เป็นต้น

พร้อมกันนั้น คุณภูผายังได้ยกความสามารถของแพลตฟอร์มพารากอนที่เอไอเอสพัฒนาขึ้นสำหรับบริหารจัดการเครือข่าย 5G, Edge และคลาวด์ ว่าเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยภาคธุรกิจด้วยเช่นกัน พร้อมยกตัวอย่างการใช้งานให้เห็นภาพชัดขึ้น เช่น กรณีการจัดคอนเสิร์ตที่ผู้ชมมีจำนวนมาก และทุกคนต่างต้องการแชร์ภาพบรรยากาศพร้อม ๆ กัน  เป็นต้น ซึ่งในภาคอุตสาหกรรม ปัจจุบันพบว่าก็มีการเข้าใช้งานแพลตฟอร์มพารากอนแล้วประมาณ 17 บริษัท เช่น มิตซูบิชิ อิเล็กทริค, ZTE, Siemens, Schneider Electric ฯลฯ ซึ่งคุณภูผาระบุว่าเป็นการเติบโตขึ้นจากหลายปีก่อน

ผู้บริหารเอไอเอสยังกล่าวอีกด้วยว่า องค์กรต่าง ๆ สามารถแสดงความจำนงใช้ศูนย์ GSA Data Center ขนาด 20 เมกะวัตต์ของบริษัทได้แล้วเช่นกัน โดยศูนย์ดังกล่าวเป็นการนำพลังงานสะอาดมาใช้งาน และจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในปี 2025

“จากการลงทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง ทำให้เรามั่นใจว่า จะสามารถใช้ศักยภาพของดิจิทัลเทคโนโลยีมาสนับสนุนและช่วยทรานส์ฟอร์มภาคอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านเครื่องมือ และโซลูชันที่ตอบโจทย์ ซึ่งแน่นอนว่าเป้าหมายการทำงานครั้งนี้ไม่เพียงขับเคลื่อนการเติบโตเท่านั้น แต่ต้องเป็นการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับประเทศด้วย” คุณภูผากล่าวทิ้งท้าย

 


แชร์ :

You may also like