HomeBrand Move !!ผลวิจัยชี้ “มาเลย์-อินโด-ฟิลิปปินส์” บริโภคไมโครพลาสติกสูง เทียบเท่ากินบัตรเครดิต 3 ใบต่อเดือน

ผลวิจัยชี้ “มาเลย์-อินโด-ฟิลิปปินส์” บริโภคไมโครพลาสติกสูง เทียบเท่ากินบัตรเครดิต 3 ใบต่อเดือน

แชร์ :

ผลการศึกษาของมหาวิทยาลัย Cornell ชี้ว่า ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์บริโภคไมโครพลาสติกมากที่สุด จากบรรดาประเทศที่ทำการสำรวจทั้งหมด 109 ประเทศ ขณะที่ประเทศไทยอยู่อันดับ 6 ของการสำรวจ พร้อมชี้ว่า ชาวอินโดนีเซียมีการบริโภคไมโครพลาสติกราว 15 กรัมต่อเดือน หรือเทียบเท่ากับบัตรเครดิต 3 ใบเลยทีเดียว

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

สำหรับที่มาของปัญหาดังกล่าวพบว่า เกิดจากการจัดการกับขยะอย่างไม่ถูกต้อง เช่น การทิ้งขยะในหลุมแบบเปิด ฯลฯ โดยพบว่ามีขยะพลาสติกที่ได้รับการจัดการอย่างไม่ถูกต้องมากกว่า 30,000 ตันต่อปี

เมื่อไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม พลาสติกเหล่านี้จึงอาจถูกฝนชะไปรวมในแหล่งน้ำ และถูกกินโดยแพลงก์ตอน ซึ่งเป็นอาหารของปลาและสัตว์น้ำอีกต่อหนึ่ง ส่งผลให้ผู้คนบริโภคพลาสติกเข้าไปโดยไม่รู้ตัวเมื่อรับประทานอาหารทะเลนั่นเอง

นอกจากผลการศึกษาข้างต้น อีกหนึ่งผลการศึกษาของมหาวิทยาลัย New Mexico ที่ศึกษาลูกอัณฑะของมนุษย์ 23 คน และสุนัข 47 ตัวก็พบไมโครพลาสติกและนาโนพลาสติกด้วยเช่นกัน (มีการพบสารโพลิเอทิลีนที่ใช้ในถุงพลาสติกและขวดพลาสติก เป็นพลาสติกที่พบได้บ่อยที่สุดในเนื้อเยื่อของมนุษย์และสุนัข) ซึ่งทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความสามารถในการเจริญพันธุ์ด้วย

นอกจากนี้ จำนวนตัวอสุจิในอัณฑะของสุนัขที่มีไมโครพลาสติกยังพบว่าลดลง (อย่างไรก็ดี รายงานวิจัยเผยว่า จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์ว่าไมโครพลาสติกทำให้จำนวนอสุจิลดลงได้จริงหรือไม่)

ไมโครพลาสติกในอากาศ

ไม่เฉพาะในอาหาร แต่ในอากาศที่มีไมโครพลาสติกก็อันตรายเช่นกัน โดยการศึกษาซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Environmental Science & Technology เมื่อวันที่ 24 เมษายน พบว่าชาวจีนและมองโกเลียสูดไมโครพลาสติกมากที่สุดในบรรดา 109 ประเทศที่ทำการศึกษา โดยหายใจเข้าไปมากกว่า 2.8 ล้านอนุภาคต่อเดือน

การศึกษาพบว่าไมโครพลาสติกที่มีลักษณะคล้ายฝุ่นในอากาศส่วนใหญ่เกิดจากการเสียดสีของวัสดุพลาสติก เช่น ในยางรถยนต์ สิ่งทอสังเคราะห์ โดยการปล่อยไมโครพลาสติกออกสู่อากาศเกิดขึ้นได้ในหลายช่วงเวลา เช่น ระหว่างการผลิต หรือเมื่อถูกซักหรือสวมใส่

ไมโครพลาสติกจึงอาจเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่รอการจัดการขยะพลาสติกอย่างเหมาะสม ตลอดจนการหาโซลูชันที่สามารถลดการใช้พลาสติกเพื่อปกป้องสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมในระยะยาว ไม่เช่นนั้น ผลกระทบที่จะเกิดกับสุขภาพของมนุษย์อาจมีมากกว่าที่เราจะรับมือไหวก็เป็นได้

Source

Source

Source

 


แชร์ :

You may also like