HomeSponsoredผ่าวิสัยทัศน์ CEO ใหม่ GC ผลักดัน “มาบตาพุด” สู่ Hub ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ผ่าวิสัยทัศน์ CEO ใหม่ GC ผลักดัน “มาบตาพุด” สู่ Hub ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แชร์ :

หลังจาก คุณณะรงค์ศักดิ์ จิวากานันต์ เข้ามารับตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) อย่างเป็นทางการในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ซีอีโอคนใหม่ แต่ “มาก” ประสบการณ์มากว่า 30 ปีคนนี้  ได้พบปะสื่อมวลชนเพื่อแสดงวิสัยทัศน์สร้างการเติบโตที่ยั่งยืนของ GC ด้วยการเดินหน้าสานต่อกลยุทธ์ 3 Steps Plus รักษาฐานให้แข็งแรง เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน สร้าง Synergy ปรับพอร์ตโฟลิโอ มุ่งสู่กลุ่มธุรกิจที่มีมูลค่าสูงและคาร์บอนตํ่า (High Value & Low Carbon Business) รุกธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ  สร้างโอกาสการเติบโตของมาบตาพุด และพัฒนา Strategic Partnership เพื่อตอบสนองเมกะเทรนด์ของอุตสาหกรรมแห่งอนาคตสู่การเป็น Hub ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

“มาบตาพุด” บ้านและฐานการผลิตของ GC 

คุณณะรงค์ศักดิ์ ซีอีโอ GC เริ่มต้นด้วยการกล่าวว่า “ก้าวต่อไปในการสร้างความเติบโตที่ยั่งยืนของ GC เราพร้อมสานต่อกลยุทธ์ 3 Steps Plus – ประกอบด้วย Step Change – Step Out – Step Up เพื่อเสริมศักยภาพในการแข่งขันและการเติบโตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดยเรานำความพร้อมด้านนวัตกรรม ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ และศักยภาพในการผลิตผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์และพลาสติกชีวภาพ มาต่อยอดและตอบสนองแนวโน้มความต้องการของอุตสาหกรรมใหม่ตามเทรนด์โลก”

หลังจากนั้น ซีอีโอยังฉายภาพให้เห็นถึงสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของ GeoPolitics ก็สร้าง “ความท้าทาย” (Threats) ที่ทำให้ GC ต้อง “ปรับตัว” โดย 3 ปีที่ผ่านมา GC ก็ดำเนินการมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงโรงงานให้มีความยืดหยุ่น สามารถรองรับวัตถุดิบที่หลากหลาย ตามราคาวัตถุดิบที่ผันผวน รวมทั้งตอบสนองความต้องการของลูกค้า พัฒนาโปรดักต์ตามเทรนด์ตลาด ลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ๆ

นายใหญ่ของ GC ยังมองว่า “การปรับตัว” จะยังเป็นสิ่งสำคัญต่อไปนับจากนี้ และยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้น ด้วยศักยภาพของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ว่า เป็นพื้นที่ที่มีประชากรรวมกันกว่า 686 ล้านคน เป็นรองเพียงจีนและอินเดีย มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) เติบโต 4.6% ขณะที่อัตราการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีเคมีภัณฑ์ในแถบนี้มีอัตราอยู่ที่ 13.5 KTon ต่อล้านคน เมื่อเทียบกับ อเมริกาเหนือ ที่มีอัตราการใช้อยู่ที่ 32 Kton ต่อล้านคน ส่วน ยุโรปตะวันตก ตัวเลขอยู่ที่ 27  KTon ต่อล้านคน อีกทั้งยัง “นำเข้า” มากกว่า “ส่งออก” สะท้อนให้เห็นว่า ภูมิภาคนี้ ยังมี “โอกาส” (Opportunity) ในการเติบโตอีกมาก และโรงงานมาบตาพุด ประเทศไทย มีความพร้อมที่จะเป็น Hub ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมุ่งเน้นผลิตภัณฑ์ในตลาดเคลือบผิวในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มเติบโตสูง ได้แก่ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์และเซมิคอนดักเตอร์ บรรจุภัณฑ์ โลหะอุตสาหกรรม เฟอร์นิเจอร์และการตกแต่งเคลือบผิวอาคารแบบพิเศษ (Special Decoration)

คุณทศพร บุณยพิพัฒน์ ผู้จัดการใหญ่ (President) กล่าวถึงแนวทางที่สำคัญในการยกระดับความสามารถในการแข่งขัน และการรักษาฐานทางธุรกิจที่แข็งแกร่งอย่างรอบด้านของ GC  ที่จะเน้นการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดต้นทุนการผลิตและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม เชื่อมโยง Value Chain ให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าที่สุด รวมถึงสามารถรองรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์เคมีมูลค่าสูงที่เกิดจากความร่วมมือกับพันธมิตรต่าง ๆ ในอนาคตได้เป็นอย่างดี

allnex อาวุธลับ สร้างการเติบโตด้วยธุรกิจที่มีมูลค่าสูงและคาร์บอนต่ำ (High Value & Low Carbon Business)

ฮับที่”มาบตาพุด” ซึ่งเป็นฐานการผลิตของ GC จะมี allnex เป็นอาวุธลับสำคัญบริษัทที่มี ความชำนาญในการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์กลุ่มสารเคลือบ (Coating Resins) ที่ใช้ได้วัสดุทุกประเภท เช่น ไม้ เหล็ก พลาสติก โดยนวัตกรรม Coating Resins มีความหลากหลายและครอบคลุมการใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น เหล็ก ยานยนต์ และบรรจุภัณฑ์ ผ่านเทคโนโลยีชั้นสูง สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ ทำให้ได้เปรียบในการแข่งขันทั้งในระดับภูมิภาคไปจนถึงระดับโลก รองรับลูกค้า High-Value Business ได้

ปัจจุบัน allnex มีโรงงานและฐานธุรกิจสารเคลือบผิว (Coating Resins) อยู่ใน 34 แห่งทั่วโลก   ประสบความสำเร็จมาแล้วในการพัฒนา ที่ China Hub ซึ่งจะนำเอาองค์ความรู้ที่ได้มาต่อยอดขยายฐานผลิตในกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพอื่นๆ ต่อไป ไม่ว่าจะเป็น โรงงาน Mahad 
รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย และแห่งใหม่ในอนาคต โรงงานมาบตาพุด ประเทศไทย

นครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์

นอกเหนือจาก “มาบตาพุด” แล้ว โปรเจ็กท์ นครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ (Nakhonsawan Bio Complex – NBC) โดย GC ถือหุ้น 50% ร่วมกับ Cargill อยู่ระหว่างการก่อสร้างโรงงานผลิต PLA ครบวงจรแห่งใหม่ มีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2568 ใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพชนิดย่อยสลายได้ สามารถนำไปใช้ในหลากหลาย

แอปพลิเคชัน เช่น แคปซูลกาแฟ ถุงชา และ วัสดุสำหรับการพิมพ์ 3 มิติ (3D Printing)  ซึ่งจะเป็น Bio Complex แห่งแรกของประเทศไทย โดยใช้น้ำตาลจากอ้อยเป็นวัตถุดิบหลักเพื่อผลิต Lactic Acid ซึ่งนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต PLA มีกำลังการผลิต 75,000 ตันต่อปี ช่วยเสริมความแข็งแกร่งด้าน Bio และ Green ของประเทศ สร้างโอกาสแก่ภาคเกษตรกรรมและพัฒนาเศรษฐกิจไปอีกขั้น จะทำให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตและส่งออกเพื่อตอบสนองความต้องการวัสดุเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Material) สู่ตลาดโลก ก็เป็นอีกหนึ่งโครงการที่สะท้อนแนวคิดของ GC ได้เป็นอย่างดี

ในส่วนของกลยุทธ์ Step Up หรือการสร้างความยั่งยืนทางธุรกิจ GC สานต่อแนวทางการบูรณาการหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ภายใต้กรอบของ ESG ( Environmental – Social – Governance สิ่งแวดล้อม สังคม ธรรมาภิบาล) พร้อมเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Target) ภายในปี 2593 แนวปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม ได้แก่ การทำงานร่วมกับบริษัทในกลุ่ม ปตท. ในโครงการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ Carbon Capture and Storage (CCS) ทั้งในการศึกษาเรื่อง Carbon Capture Technology ผ่านการลงทุนใน Corporate Venture Capital (CVC) และการศึกษาโอกาสในการนำไฮโดรเจนคาร์บอนต่ำ (Blue/Green Hydrogen) ไปใช้และพัฒนาโมเดลธุรกิจเพื่อต่อยอดเป็นธุรกิจแห่งอนาคต

ก็คงต้องเอาใจช่วย GC ให้ผลักดันธุรกิจปิโตรเคมีของประเทศไทย ให้กลายเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามที่วางเป้าหมายไว้ เพราะนั่นเท่ากับเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจและการจ้างงานภายในประเทศไทยด้วยเช่นกัน


แชร์ :

You may also like