HomeSponsoredแสนสิริ ขับเคลื่อน Green Supply Chain ผนึกพาร์ตเนอร์ทั้งระบบ มุ่งหน้าสู่ความยั่งยืน สร้างโอกาส – เตรียมปรับตัวรับยุค ESG

แสนสิริ ขับเคลื่อน Green Supply Chain ผนึกพาร์ตเนอร์ทั้งระบบ มุ่งหน้าสู่ความยั่งยืน สร้างโอกาส – เตรียมปรับตัวรับยุค ESG

แชร์ :

ในฐานะผู้นำตลาดธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และแบรนด์อสังหาฯ อันดับ 1 ด้วยแผนการเปิดตัว 46 โครงการใหม่ มูลค่า 61,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าที่สูงที่สุดในธุรกิจอสังหาฯ คงปฏิเสธไม่ได้ว่า การดำเนินงานและห่วงโซ่อุปทานของ ‘แสนสิริ’ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภาคอุตสาหกรรม และยังเชื่อมโยงทั้งภาคการขนส่งและภาคพลังงาน ที่อยู่ใน Top 3 ของกลุ่มที่ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงที่สุด  ตลอดจนเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหา Climate Change ที่หลายฝ่ายกำลังกังวลอยู่ในปัจจุบัน

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

จึงเป็นที่มาของเวที SANSIRI ECOLEADERSHIP FORUM : Change Today, Chance Tomorrow โดย บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ​เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ของไทยสู่การเป็น Green Ecosystem โดยเฉพาะการเปลี่ยนผ่านร่วมกับพันธมิตรภายในห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งถือเป็นฟันเฟืองสำคัญ​  เพื่อรับมือความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นทั้งจากผลกระทบจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งเงื่อนไขหรือกฏเกณฑ์ทางธุรกิจที่จะมีเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ทำให้การเติบโตจากนี้ไปต้องคำนึงทั้งมิติของสังคมและสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วย ไม่อย่างนั้นอาจจะทำให้ ธุรกิจที่ไม่ปรับตัวจะไม่มีที่ยืนในอนาคตอีกต่อไป

สร้าง Green Supply Chain เตรียมรับกติกาใหม่

แสนสิริ ​นับเป็นอสังหาริมทรัพย์รายแรกของไทย ที่ปักหมุด​ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net-Zero ภายในปี 2050 ในปี 2023 การคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของการดำเนินธุรกิจกว่า 2 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ​ซึ่งจำนวนนี้เกิดขึ้นจากการดำเนินงานขององค์กรเองเพียงแค่ 2%​ ขณะที่อีก​ 98% เกิดจากกระบวนการต่างๆ ภายในห่วงโซ่อุปทาน ดังนั้น การทำให้พันธมิตรที่มีกว่า 4,000 ราย เปลี่ยนผ่านสู่การเป็น Green Supply Chain ให้ขับเคลื่อนธุรกิจโดยคำนึงถึงผลกระทบ​ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ตามกรอบ ESG (Environment, Social, Governance) จะเป็น Key Success ที่ช่วยให้แสนสิริสามารถบรรลุเป้าหมาย Net – Zero ในปี 2050 ได้ในที่สุด

คุณอุทัย อุทัยแสงสุข  กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่า ​​แสนสิรินำเรื่องความยั่งยืนมาเป็นกลยุทธ์ขับเคลื่อนธุรกิจอย่างจริงจัง ​โดยเป้าหมายสูงสุดคือ การร่วมมือกับพันธมิตร​และสนับสนุน Green Partner ให้เติบโตไปด้วยกัน เพื่อผลักดันทั้งระบบอุตสาหกรรมและประเทศไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน  เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมมี​สัดส่วนราว 5% ของ GDP  ขับเคลื่อนมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 1 ล้านล้านบาท  ซึ่งหากรวมความเชื่อมโยงตลอดทั้งห่วงโซ่แล้ว  คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกกว่า 3 เท่าตัว เป็นไม่ต่ำกว่า 15% หรือ 3 ล้านล้านบาท  ดังนั้น หากผลักดัน​  Green Ecosystem  ​ในภาคก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์​  ก็จะเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ผลักดันประเทศไทยให้เป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050 และ Net Zero​ ในปี 2065 ได้​ตามเป้าหมาย

“การปรับตัว​สู่เศรษฐกิจสีเขียวไม่เพียงช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังเป็นการรับมือต่อความเสี่ยงและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันช่วงเปลี่ยนผ่าน​สู่ Green Economy ​ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบจากปัญหาโลกเดือดที่ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติขาดแคลนจนกระทบราคาวัตถุดิบ หรือความเข้มข้นในการใช้มาตรการควบคุมปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งในเชิงนโยบายด้านภาษี หรือรูปแบบเงื่อนไขทางการค้าต่างๆ ซึ่งในการขับเคลื่อนไม่สามารถทำให้สำเร็จได้เพียงคนเดียว แสนสิริจึงให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมและสนับสนุนคู่ค้าที่มี DNA เรื่องความยั่งยืนเช่นเดียวกับแสนสิริในการเปลี่ยนผ่าน​ ซึ่งการดำเนินงานในช่วงแรกอาจมีต้นทุนเพิ่มขึ้น แต่ในอนาคตเมื่อเกิด Economy of Scale ที่เหมาะสมก็จะทำให้ต้นทุนลดลง และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและสร้างการเติบโตร่วมกันได้อย่างยั่งยืน”

ด้าน ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ ให้รายละเอียดถึงร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ หรือ ร่าง พ.ร.บ.โลกร้อน ที่อยู่ระหว่างผลักดันเพื่อเตรียมประกาศใช้ เพื่อ​กำหนด​กติกาขับเคลื่อนธุรกิจยุคใหม่ ที่ไม่สามารถมองแค่มิติการสร้างให้ธุรกิจเติบโต โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมได้ ภายใต้ 14 หมวดที่เชื่อมโยงกับการขับเคลื่อนระบบนิเวศธุรกิจคาร์บอนต่ำ​ และส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายและแผนขับเคลื่อน Decarbonization คณะทำงานขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่าน การพัฒนาเครื่องมือ​สนับสนุนการเปลี่ยนผ่าน รวมทั้ง​มิติต่างๆ เช่น​ คาร์บอนเครดิต หรือมาตรการทั้ง​ระดับประเทศและตลาดโลก ซึ่งภาคธุรกิจที่ไม่​ปรับตัวอาจได้รับผลกระทบจากค่าธรรมเนียมต่างๆ ทำให้ต้นทุนเพิ่มและเสียโอกาสในการแข่งขัน จึงจำเป็นต้องรู้เท่าทันเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน ​

Change Today, Chance Tomorrow

เมื่อ Key Success การเปลี่ยนผ่านจำเป็นต้องขับเคลื่อน​ Green Ecosystem ​ทั้งระบบ แต่ด้วยโครงสร้างเศรษฐกิจของไทยที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่​ 99% หรือกว่า 3.2 ล้านราย เป็นกลุ่มขนาดกลางและเล็กหรือ SME โดยเฉพาะภาคการก่อสร้างที่มี SME ​ราว 9 หมื่นราย แต่​หากรวมทั้งอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์​จะมีถึงกว่า 2 แสนราย​ และ​มีข้อจำกัด​ทั้งองค์ความรู้ ทุนทรัพย์ และทรัพยากร ที่อาจส่งผลต่อการเปลี่ยนผ่าน ทำให้​ภาคธุรกิจขนาดใหญ่อย่างแสนสิริ ต้องเข้ามาเป็นตัวกลาง​เชื่อมโยงพันธมิตรใน Ecosystem ที่ราวครึ่งหนึ่งก็​เป็นผู้ประกอบการ SME เช่นกัน ให้เกิดความตระหนัก พร้อมเริ่มต้นปรับเปลี่ยน​ผ่านบนเวทีสัมมนา SANSIRI ECOLEADERSHIP FORUM: Change Today, Chance Tomorrow เพื่อพัฒนาให้ทั้งห่วงโซ่​ปรับเปลี่ยนแนวทางมาสู่ความยั่งยืน

คุณแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย กล่าวว่า กลุ่ม SME ถือเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อน​เศรษฐกิจของประเทศ ทั้งสัดส่วน​ 71% ของการจ้างงานทั่วประเทศ ​และยังขับเคลื่อนเศรษฐกิจ​ 35% ของ GDP ประเทศ ดังนั้น การเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวและแข่งขันของ SME คือกุญแจสร้างศักยภาพการแข่งขันให้ประเทศ โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนสู่กา​รดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

“ธุรกิจ SME เป็นส่วนหนึ่งของหลายกลุ่มธุรกิจ โดยเฉพาะกลุ่ม S-curve ทั้ง BCG, Creative Economy เช่นเดียวกับ​ภาคการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งใน Ecosystem ของบริษัทขนาดใหญ่ทำให้ได้เรียนรู้ทั้ง Best Practice องค์ความรู้และแนวทางพัฒนาธุรกิจตามเทรนด์โลก เพื่อมาปรับใช้ในองค์กร โดยเฉพาะการเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจที่มีความยั่งยืนและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต ขณะที่ข้อจำกัดในการปรับตัวของ SME ส่วนใหญ่ยังเป็นเรื่องการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี การเข้าถึงแหล่งทุน การพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆ รวมทั้งยกระดับมาตรฐานสินค้าและบริการให้แข่งขันได้ในตลาดที่กว้างขึ้น โดยการมาอยู่ในซัพพลายเชนจะช่วยเชื่อมโยง​และขับเคลื่อนการพัฒนาไปทั้ง Ecosystem ​เป็นอีกหนึ่งแนวทางสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านให้ SME ได้อีกทางหนึ่ง”

คุณศรีอำไพ รัตนมยูร ประธานผู้บริหารสายงานการตลาด บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ตลอด 40 ปีที่ผ่านมา แสนสิริให้ความสำคัญในการออกแบบที่โอบรับความยั่งยืน​เพราะถือเป็นต้นน้ำในการพัฒนาโครงการ และเป็นจุดเริ่มต้น​กำหนดทิศทางและมาตรฐานของโครงการ ซึ่งไม่เพียงแค่ทำให้โครงการประสบความสำเร็จ แต่ยังสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้ในทุกกระบวนการตั้งแต่การวางแผน การก่อสร้าง การขายและการดูแลรักษาอีกด้วย

“การออกแบบของแสนสิริ ขับเคลื่อนตามแนวทาง Design for Future ที่ต้องส่งมอบได้มากกว่าแค่ความสวยงาม แต่เป็นการออกแบบเพื่ออนาคต เป็นนวัตกรรมการดีไซน์ที่มอง​ผู้อยู่อาศัยเป็นศูนย์กลาง​และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ ภายใต้ 3 แกนหลัก​ คือ​ Design for Aesthetic Living เพื่อส่งมอบคุณภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ใส่ใจรายละเอียดการอยู่อาศัยเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าได้มากที่สุด Design for Space Optimization การอกแบบพื้นที่ให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงและหลากหลาย ทั้งกลุ่มคนรักสัตว์เลี้ยง ครอบครัวเล็ก ครอบครัวใหญ่ รวมทั้งแกนสำคัญอย่าง Design for Sustainability เพื่อให้การดีไซน์แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยใช้ความสร้างสรรค์ผสานความเข้าใจธรรมชาติ การเลือกใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและใช้งานได้จริง คำนึงถึงการลด Waste การประหยัดพลังงาน และส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด เพื่อตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านการออกแบบที่มีเป้าหมายมุ่งสู่ความยั่งยืน”​

คุณองอาจ สุวรรณกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายพัฒนาโครงการแนวสูง บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงกรณีที่ภาคอสังหาริมทรัพย์มักถูกตั้งคำถามว่าเป็นกลุ่มที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง ​เนื่องจากภายในห่วงโซ่คุณค่าของแสนสิริ จำเป็นต้องมีการใช้พลังงานต่อเนื่อง​ และเป็นประเด็นที่แสนสิริให้ความสำคัญ รวมทั้งพยายามขับเคลื่อนให้เกิดกระบวนการก่อสร้างที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด

“ในฐานะพี่ใหญ่ในธุรกิจ เราพยายามพัฒนาโครงการที่ยั่งยืน เพื่อกระตุ้นให้ทั้งซัพพลายเชนเข้ามามีส่วนร่วม โดย​กำหนดแนวทางหรือวางไบเบิลที่ช่วยทำให้ภาคอสังหาฯ ไม่ถูกมองเป็นกลุ่มหลักในการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกอีกต่อไป ทั้งการบุกเบิกโรงงานพรีคาสท์สีเขียวตามมาตรฐาน ISO9001 & ISO14001 วางระบบบริหารงานคุณภาพและระบบจัดการสิ่งแวดล้อม โดยสามารถลดขยะภายในโรงงานได้ถึง 98% โดย​​ไม่สร้างมลพิษทางเสียงและทางอากาศ และยังนำแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปมาใช้ก่อสร้างได้ 3,700 ยูนิตต่อปี จากกำลังผลิต​​ 1.5 ล้านตารางเมตร พร้อมพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อรากฐานการก่อสร้างที่ยั่งยืน ใช้ทรัพยากรให้มี​ประสิทธิภาพสูงสุด ลดการเกิดของเสีย ทั้งในการทำแบบก่อสร้างและการวางแผนก่อสร้าง รวมถึงติดตามความก้าวหน้าและการบริหารจัดการทรัพยากรของโครงการ เลือกใช้วัสดุที่ไม่กระทบสิ่งแวดล้อม และสามารถวัด​เป้าหมายตามที่ระบุไว้ใน TOR ของโครงการ เช่น การลดขยะในไซต์ก่อสร้างลง 15% การใช้วัสดุ Low Carbon 30% รวมทั้งการจัดทำแดชบอร์ดเพื่อเก็บข้อมูลและการจัดการขยะ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการ​วิเคราะห์ และวัดผล และจัดการขยะภายในไซต์ก่อสร้างได้ด้วย”​​

คุณประเสริฐ ตระการวชิรหัตถ์ รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อส่วนโครงการ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า หนึ่งในกลยุทธ์สำคัญในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของแสนสิริ คือการนำโมเดล Green Supply Chain มาประยุกต์ใช้ร่วมทำงานกับคู่ค้า และเน้นการพัฒนาต่อยอดเพื่อคัดสรรผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด และผลักดันให้คู่ค้าพัฒนาวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อต่อยอดการพัฒนาที่อยู่อาศัยอย่างยั่งยืน

“การมี Green Ecosystem ที่แข็งแรงไม่เพียงช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม​ แต่ยังเป็นการเพิ่มโอกาสและความสามารถในการแข่งขัน เนื่องจากเป็นโอกาสถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรมใหม่ๆ​​​ พร้อมร่วมยกระดับพัฒนาให้เกิดมาตรฐาน​ที่มากขึ้น เช่น ​การเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานคาร์บอนต่ำ รวมทั้งในขั้นตอนดำเนินงานอื่นๆ ซึ่งทางแสนสิริตั้งเป้าหมายการจัดซื้อวัสดุที่มีการรับรอง Self-Certified 30% และสามารถขับเคลื่อนได้มากกว่าเป้าหมายถึง 53% พร้อมทั้งการวัดผลและติดตามผลอย่างจริงจัง เพื่อคำนวณประสิทธิภาพในการลดคาร์บอนขององค์กร​ ซึ่งไม่ใช่เป็นการขับเคลื่อนเพียงแค่องค์กรเดียว แต่เป็นการส่งเสริมร่วมกับคู่ค้าและพันธมิตรในทุกมิ​ติ ซึ่งนอกจากเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม ยังเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจ ขณะเดียวกัน การขับเคลื่อนทั้งระบบนิเวศยังทำให้เกิดเป็น Economy of Scale ซึ่งจะช่วยสามารถควบคุมต้นทุนโดยรวมไม่ให้สูงมากจนเกินไปได้ด้วย” ​​

 #Sansiri #SansiriNo1Brand #แสนสิริแบรนด์อันดับหนึ่ง

#Sansiri40years  #YouAreMadeForLife

#SansiriSustainability #SustainabilityForum #ClimateAction


แชร์ :

You may also like