HomePR Newsร่วมสัมผัสมหัศจรรย์แห่งการเดินทางระหว่างคนกับช้าง ที่เครือสหพัฒน์ตั้งใจมอบเป็นสมบัติแห่งการเรียนรู้ที่มีชีวิต ให้กับสุรินทร์และแผ่นดินประเทศไทย กับ “พิพิธภัณฑ์ช้างสุรินทร์” (Surin Elephant Museum)

ร่วมสัมผัสมหัศจรรย์แห่งการเดินทางระหว่างคนกับช้าง ที่เครือสหพัฒน์ตั้งใจมอบเป็นสมบัติแห่งการเรียนรู้ที่มีชีวิต ให้กับสุรินทร์และแผ่นดินประเทศไทย กับ “พิพิธภัณฑ์ช้างสุรินทร์” (Surin Elephant Museum)

แชร์ :

มูลนิธิ ดร.เทียม โชควัฒนา และบริษัทในเครือสหพัฒน์ สนับสนุนการบูรณะพิพิธภัณฑ์ช้างสุรินทร์ (Surin Elephant Museum) ส่งมอบให้เป็นสมบัติแห่งการเรียนรู้ของชาวสุรินทร์ นักเรียน นักศึกษา รวมถึงนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ  โดยมี บุญเกียรติ โชควัฒนา ประธานกรรมการ บริษัท เอส แอนด์ เจ อินเตอร์เนชั่นแนล เอนเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) เป็นประธานในพิธีเปิด ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ โดย พรชัย มุ่งเจริญพร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ 

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

พิพิธภัณฑ์ช้างสุรินทร์แห่งนี้ ถูกบูรณะขึ้นด้วย วัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งการเรียนรู้ที่มีชีวิต เป็นการเล่าเรื่องเสมือนการออกเดินทางร่วมกันระหว่างคนกับช้าง เรียงร้อยประวัติและความรู้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันอย่างเข้าใจง่าย  ไม่ว่าจะเป็น ประวัติเจ้าเมืองสุรินทร์ การทำพิธีคล้องช้างโบราณ และวิถีชีวิตของกลุ่มคนเลี้ยงช้าง หรือที่คนท้องถิ่นมักเรียกว่า “ชาวกูย”  เพื่อส่งต่อเรื่องราวเหล่านี้ให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ได้สัมผัสถึงตัวตนของจังหวัดสุรินทร์.. เมืองของช้าง ที่มีช้างเลี้ยงมากที่สุดในโลกอย่างแท้จริง นอกจากนี้พื้นที่บริเวณโดยรอบพิพิธภัณฑ์ยังสามารถใช้เพื่อการทำงานร่วมกัน ระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน อีกด้วย 

ในส่วนของการออกแบบ พิพิธภัณฑ์ช้างสุรินทร์เป็นสถาปัตยกรรมที่ก่อสร้างจากอิฐแดงโบราณ มีลักษณะตัวอาคารที่ซับซ้อนขนาดใหญ่ เพื่อเป็นฟังก์ชันเปิดสำหรับช้าง ตัวโครงสร้างอาคารประกอบกันด้วยผนังแนวโค้งที่ดูยืดหยุ่น ไม่แข็งกระด้าง กลมกลืนไปกับภูมิทัศน์โดยรอบอย่างงดงาม ออกแบบโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุญเสริม เปรมธาดา อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผสานการเรียงร้อยลำดับขั้นของประวัติศาสตร์ ความเป็นมา ไปจนถึงการจำลองวิถีชีวิตกลุ่มคนที่อยู่ร่วมกับช้าง และการจำลองช้างเสมือนจริง ทั้งภาพและเสียง ของช้างหลากหลายสายพันธุ์ รวมไปถึงการจัดแสดงภาพวาง “ช้าง” อย่างน่าสดใจ

พิธีเปิดพิพิธภัณฑ์ช้างสุรินทร์  เริ่มต้นขึ้นด้วย การแสดงช้างศึกและศิลปวัฒนธรรมที่สื่อถึงวิถีชีวิตของคนกับช้าง แสดงโดย ทหารจาก ร.23 พัน 3 ค่ายวีรวัฒน์โยธิน และนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ และ โชว์พิเศษจาก พลายทองคำ-พลายทองแท่ง ช้างแฝดเพศผู้คู่แรกของโลก  นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจาก พลตรี วันชนะ สวัสดี หรือที่รู้จักในนาม เสธเบิร์ด ผู้รับบทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในหนังไทยฟอร์มยักษ์ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และ บัวขาว บัญชาเมฆ ยอดนักมวยอดีตแชมป์ K-1 ชาวจังหวัดสุรินทร์ พร้อมด้วย พัศญา จิรมณีกุล หรือ มิ้นท์ อรรถวดี เจ้าของบทเพลง “รักเธอที่สุด” จากค่าย GMM Grammy พิจิตร บุญทัน ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ บุญชัย โชควัฒนา ประธานกรรมการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) ทิพาภรณ์ โชควัฒนา ประธานกรรมการ บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรีส์ จำกัด พิศณุ โชควัฒนา กรรมการ มูลนิธิ ดร.เทียม โชควัฒนา  ร่วมเป็นแขกรับเชิญพิเศษอีกด้วย

ภายในพิพิธภัณฑ์ช้างสุรินทร์ (Surin Elephant Museum) นักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวจะได้พบกับแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับช้างในโซนต่างๆ ทั้งหมด 4 โซน ประกอบด้วย 

โซนที่ 1 ช้างหลวง ช้างป่า ช้างบ้าน นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับช้างในประวัติศาสตร์ไทย ช้างป่า ช้างบ้าน ตลอดจนวิถีชีวิตคนกับช้าง รวมถึงประวัติของชาวกูย และการคล้องช้าง

โซนที่ 2 เรื่องน่ารู้ของช้าง นำเสนอเรื่องราวของความรู้เกี่ยวกับช้างซึ่งมี 2 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์เอเชีย และ สายพันธุ์แอฟริกา 

โซนที่ 3 ช้างดึกดำบรรพ์ ต้อนรับเข้าสู่ยุคดึกดำบรรพ์ด้วยการบอกเล่าเรื่องราวของช้างในยุคก่อนประวัติศาสตร์ 

โซนที่ 4 แกลเลอรีช้าง พบกับงานศิลป์เกี่ยวกับช้างที่งดงาม แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 

แกลเลอรี A จัดแสดงภาพฝีพระหัตถ์ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี จัดแสดงภาพจากศิลปินที่มีชื่อเสียง นักธุรกิจ ศิลปินท้องถิ่นของจังหวัดสุรินทร์และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

แกลเลอรี B ห้องจัดแสดงผลงานและจัดกิจกรรมหมุนเวียนเพื่อรองรับผลงานศิลปะและการจัดประชุมต่างๆ      

Highlight ที่สำคัญของพิพิธภัณฑ์ช้างสุรินทร์ (Surin Elephant Museum)  

    1. สถาปัตยกรรมจากอิฐแดงโบราณ มีลักษณะเป็นตัวอาคารที่ซับซ้อนขนาดใหญ่ เพื่อเป็นฟังก์ชันเปิดพื้นที่สำหรับช้าง ตัวโครงสร้างอาคารประกอบกันด้วยผนังแนวโค้งที่ดูยืดหยุ่น ไม่แข็งกระด้าง กลมกลืนไปกับภูมิทัศน์โดยรอบอย่างงดงาม สามารถติดตั้งจอแสดงผลบนผนังและพื้นที่ด้านนอกได้ พื้นที่ด้านในใช้เป็นสถานที่สำหรับผ่อนคลายและเพลิดเพลินไปกับห้องแสดงต่าง ๆ โดยที่ผู้เยี่ยมชมสามารถเดินจากห้องจัดแสดงหนึ่งไปยังอีกห้องหนึ่งผ่านช่องว่างระหว่างกำแพงที่ล้วนเชื่อมต่อกับเส้นทางหลักที่เป็นวงกลม ออกแบบโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุญเสริม เปรมธาดา อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    2. ประวัติต้นกำเนิดของช้างสุรินทร์ ชาวกูย คนคล้องช้าง และช้างหลากหลายสายพันธุ์  
    3. ภาพฝีพระหัตถ์ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  • พบการตกแต่งบริเวณโดยรอบด้วยโมเดลช้างตัวโต ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะของพิพิธภัณฑ์ช้างสุรินทร์ สร้างสรรค์จากเอกลักษณ์เฉพาะตัว สดใส น่ารัก สะท้อนรูปแบบที่ทันสมัย สื่อถึงวิถีคนกับช้างของหมู่บ้านเลี้ยงช้างที่ใหญ่ที่สุดในโลก บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์

เครือสหพัฒน์ได้ช่วยช้างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา  โดยเริ่มจาก

ปี 2546

  • โครงการคืนสู่ธรรมชาติ จากพระราชดำริ ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
  • โครงการอย่าทำช้างเจ็บ Don’t Hurt me เพื่อหารายได้สมทบทุนให้องค์กรหน่วยงานที่อนุรักษ์และดูแลช้างไทย

ปี 2547

  • โครงการสถานีอนามัยช้างแห่งแรกที่จังหวัดสุโขทัย

ปี 2550

  • โครงการ Arrow ช่วยช้างกลับบ้าน ร่วมกับ มูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติ (ตั้งแต่ปี 2550-2554)

ปล่อยช้างคืนสู่ป่าทั้งหมด 13 ตัว

ทูลเกล้าเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ในวโรกาสฉลองครบรอบ 80 พรรษา

  • โครงการอนุรักษ์ช้างชรา (ตั้งแต่ปี 2550 – ปัจจุบัน)

ปี 2554

  • โครงการคลินิกช้าง จังหวัดกาญจนบุรี

ปี 2555 

  • โครงการช่วยเหลืออาหารช้าง
  • โครงการปลูกกล้วยช่วยช้าง จ.กาญจนบุรี
  • ไถ่ชีวิต “พังวาสนา” ช้างเชือกแรก จ.กาญจนบุรี

ปี 2559

  • โครงการคลินิกช้าง จ.ตาก

ปี 2562

  • โครงการช่วยเหลืออาหารช้างจังหวัดต่างๆ อาทิ จ.เชียงใหม่ ลำปาง สุรินทร์ และ ชลบุรี (พัทยา)

ปี 2567 

  • โครงการบูรณะพิพิธภัณฑ์ช้างสุรินทร์ (Surin Elephant Museum)
  • ปัจจุบันสามารถไถ่ชีวิตช้าง 13 เชือก และ สนับสนุนเงินเดือนควาญช้าง 13 คน (กาญจนบุรี 3 เชือก สุรินทร์ 10 เชือก)

 


แชร์ :

You may also like