HomeBrand Move !!เจาะสูตร Brand Power x Brand Love ปั้น Super Brands ครองใจผู้บริโภค 

เจาะสูตร Brand Power x Brand Love ปั้น Super Brands ครองใจผู้บริโภค 

แชร์ :

ผลสำรวจล่าสุดของ VML Thailand เอเยนซี่ที่ให้บริการด้านความคิดสร้างสรรค์ ข้อมูล และเทคโนโลยีแบบครบวงจร ในหัวข้อ Super Brands in APAC: The Rise of Challenging Opportunities เมื่อแบรนด์ระดับโลก (Global Brand) ครองเกมแต่ไม่ครองใจ ในขณะที่แบรนด์ท้องถิ่น (Local Brand) ในเอเชียแปซิฟิกรวมทั้งไทยพยายามเร่งแซง

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

โดยใช้ดัชนีชี้วัดอย่าง Brand Power (แบรนด์ที่แข็งแกร่ง) และ Brand Love (แบรนด์ที่ได้ใจคน) เพื่อทำการศึกษาและค้นหาแนวทางในการปั้น “Super Brands” (Brand Power X Brand Love) ที่ทั้งโดดเด่นทรงพลังและครองใจผู้บริโภคทั่วโลก ด้วย BAV (Brand Asset Valuator) เครื่องมือที่สามารถวิเคราะห์แบรนด์ได้อย่างแม่นยำ

คุณเอกลักษณ์ จรัญวาศน์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ยุทธศาสตร์และ BAV APAC Champion VML Thailand กล่าวว่า “BAV หรือ Brand Asset Valuator เป็นเครื่องมือในการพัฒนากลยุทธ์เพื่อบริหารแบรนด์ลูกค้าของบริษัท VML ทั่วโลก

ภายใต้การเก็บผลสำรวจและศึกษาพฤติกรรมความต้องการของผู้คนทั่วโลกมากกว่า 2.5 ล้านคน ใช้ระยะเวลาเก็บผลสำรวจมานานกว่า 30 ปี ตั้งแต่ปี 1993 ถึงปัจจุบันในกว่า 50 ประเทศ สำรวจในกลุ่มธุรกิจมากกว่า 1,000 กลุ่ม ทำการศึกษาวิจัยแบรนด์ทั่วโลกกว่า 60,000 แบรนด์

คุณเอกลักษณ์ จรัญวาศน์

เครื่องมือ BAV ถือเป็นจุดเด่นที่แตกต่างที่ทำให้เห็นข้อมูลในภาพกว้างของแบรนด์นับพันว่ามีความแข็งแกร่งแค่ไหนและมีแนวโน้มที่จะเติบโตหรือตกลงเมื่อเปรียบเทียบกับแบรนด์ทั้งหมดที่มีในประเทศ

นอกจากนี้ยังสะท้อนอินไซต์ของคนในประเทศได้ผ่านการศึกษาค่านิยมที่มีต่อแบรนด์ที่มีอิทธิพลต่อความคิดและการใช้ชีวิตของคนที่ไม่ได้จำกัดแค่สินค้าบริการแต่ยังรวมไปถึงสื่อ อินฟลูเอนเซอร์ ดารา คนสำคัญ สถาบันองค์กรไปจนถึงระดับประเทศชาติ และเปรียบเทียบข้อมูลกับแบรนด์ในประเทศอื่น ๆ ในโลก ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลทางแบบสอบถามออนไลน์โดยบริษัทวิจัยตลาดชั้นนำและนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อสร้างกลยุทธ์

 

Power x Love สูตรปั้น Super Brands

การปั้น Super Brands ที่โดดเด่นทรงพลังและครองใจผู้บริโภคทั่วโลก ต้องให้ความสำคัญกับการสร้างแบรนด์ 2 มุมมอง

1. Brand Power (Brand Asset) ทำให้แบรนด์มีความแตกต่าง (Differentiation) เป็นที่สนใจพิจารณา (Relevancy) รู้สึกมั่นใจ (Esteem) และเป็นที่รู้จัก (Knowledge)

2. Brand Love ทำให้แบรนด์กลายเป็นตัวเลือกที่ผู้บริโภคชื่นชอบและอยากแนะนำให้คนรอบตัวซื้อใช้ตาม

เมื่อนำข้อมูล Brand Power x  Brand Love มาวิเคราะห์ร่วมกันเพื่อประเมินทิศทางความเป็นไปได้ของแบรนด์ จะทำให้เห็นว่าแบรนด์ยืนอยู่ในตำแหน่งไหนท่ามกลางแบรนด์กว่าพันแบรนด์ที่มีในตลาดของประเทศนั้น ๆ และแบรนด์มีแนวโน้มที่จะเติบโตหรือตกลงต่อไปในอนาคต หรือข้อผิดพลาดบางอย่างที่มองข้ามไปในกลุ่มอุตสาหกรรมนั้น ๆ หรือเมื่อเปรียบเทียบกับแบรนด์ในใจอื่น ๆ ทั้งในระดับโลกและระดับท้องถิ่น

3 แบรนด์ ขึ้นแท่น Super Brands  เอเชียแปซิฟิก

ในปี 2567 นี้ VML Thailand ได้วิเคราะห์ศึกษา Super Brands in APAC กับกลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 18 – 65 ปี ในเอเชียแปซิฟิก (APAC) 8 ประเทศ ได้แก่ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย จำนวน 104,308 กลุ่มตัวอย่าง ระหว่างปี 2022 – 2024 (ทำการสำรวจวิจัยเสร็จสิ้นเดือนเมษายน 2567)

โดยประเมินพลังความแข็งแกร่งของแบรนด์ (Brand Power) และความรักที่มีในแบรนด์ (Brand Love) เพื่อค้นหา Super Brands ในใจคนเอเชียแปซิฟิก โดยศึกษาทั้งในกลุ่ม Global Brand และ Local Brand

สรุป Super Brands ที่มีความโดดเด่นในแทบทุกประเทศ คือ Google, YouTube และ Samsung ซึ่งเป็นแบรนด์เดียวจากเอเชียที่ติดอยู่ใน 3 อันดับนี้

ในขณะที่ iPhone และ Apple เป็นแบรนด์ที่เก่งทรงพลังสูงสุดอันดับหนึ่งแต่ยังมีความท้าทายเรื่องความเป็นที่รักในใจคนเอเชียแปซิฟิก โดยแบรนด์เหล่านี้ส่วนใหญ่มักจะมีบทบาทเป็น “ตัวช่วย” ให้คนสามารถเชื่อมต่อกับข้อมูลข่าวสารความบันเทิง ซัพพอร์ตการใช้ชีวิตไลฟ์สไตล์ต่าง ๆ ในทุกวัน ส่วนใหญ่เป็นแบรนด์ระดับโลก

แม้ว่าแบรนด์ที่มีความโดดเด่นติด Top10 ด้านพลังความแข็งแกร่งส่วนใหญ่จะเป็นแบรนด์ระดับโลก (Global Brand) แต่แบรนด์ที่เป็นอันดับหนึ่งหรืออยู่ในลำดับที่สูงกว่า ส่วนใหญ่กลับเป็น “แบรนด์ประเทศ”  (Country Brand) ของคนชาตินั้น ๆ อย่างประเทศจีน อินเดีย เกาหลีใต้ เวียดนาม สิงคโปร์ โดยแบรนด์ประเทศทั้งหมดยังมีความโดดเด่นติด Top5 ด้านความรักในแบรนด์อีกด้วย

ข้อมูลเหล่านี้สะท้อนถึงค่านิยมความรักชาติที่แข็งแรงของคนในเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างจีน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ออสเตรเลีย และพบบ้างในประเทศกำลังพัฒนาอย่างอินเดีย เวียดนาม และไทย ตามลำดับ

“ด้วยความรักชาติที่มีในประเทศตนเอง ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลให้ แบรนด์ระดับท้องถิ่นสามารถมีความโดดเด่นใน Top10 ของซูเปอร์แบรนด์ที่ทรงพลังและยิ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นใน 10 อันดับความโดดเด่นด้านความเป็นที่รักในแบรนด์ด้วย”

สรุปผลการศึกษา Super Brands ที่แข็งแกร่งและเป็นที่รักในใจคนเอเชียแปซิฟิก พบว่ามีเพียง 3% เท่านั้นที่สามารถขึ้นแท่นเป็น Super Brands ได้ ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงโอกาสที่ท้าทายในการปั้น Super Brands เมื่อแบรนด์ระดับโลกครองเกมแต่ยังไม่ครองใจ ในขณะที่แบรนด์ท้องถิ่นในเอเชียแปซิฟิกและไทยพยายามเร่งแซงขึ้นมา

แบรนด์นอกครองเกม “แบรนด์ประเทศไทย” กำลังไต่อันดับ

สำหรับผลการสำรวจวิจัยล่าสุดในปีนี้ของประเทศไทยพบว่า Super Brands ที่ทรงพลังและเป็นที่รักในใจคนไทย 5 อันดับ คือ Google, YouTube, Samsung, TrueMoney และ 7-11

แบรนด์ที่โดดเด่น 10 อันดับแรกในด้านพลังความแข็งแกร่ง (Brand Power) และความรัก (Brand Love) ส่วนใหญ่ 8 ใน10 เป็นแบรนด์ระดับโลก (Global Brand) มีเพียง 2 แบรนด์ท้องถิ่น (Local Brand) เช่น TrueMoney ของไทย ที่เข้ามาติดอันดับนี้ ถือเป็นสัดส่วนค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วในเอเชียแปซิฟิก อย่างจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้

จากการวิเคราะห์แบรนด์ทั้งหมดกว่า 1,200 แบรนด์ในไทยพบว่ามีเพียงประมาณ 3% ของแบรนด์ในไทยเท่านั้นเช่นกันที่สามารถเป็น Super Brands ที่มีความโดดเด่นทั้งพลังความแข็งแกร่งและความเป็นที่รักในใจของคนไทยได้ ซึ่ง Super Brands ส่วนใหญ่มากกว่า 2 ใน 3 เป็นแบรนด์ระดับโลก

แต่ผลสำรวจก็พบว่าคนไทยมีความรู้สึกดีที่มีต่อความเป็นไทยมากขึ้นผ่าน “แบรนด์ประเทศไทย” (Country Brand) ที่กำลังไต่อันดับขึ้นมาเป็นอันดับ 5 ของแบรนด์ที่คนไทยรักมากที่สุด

รวมทั้งแบรนด์ระดับท้องถิ่นอีกหลายร้อยแบรนด์ที่มีพลังความแข็งแกร่งและความเป็นที่รักเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจน จนใกล้เคียงกับแบรนด์ระดับโลกที่เป็นผู้นำของตลาดอย่างในกลุ่มสินค้าอาหาร สุขภาพและความงาม บริการด้านการเงิน การท่องเที่ยวเดินทาง เช่น แบรนด์ Bangkok Airways, Cute Press, Roza, เทพไท เป็นต้น

นอกจากนี้ในผลสำรวจยังพบว่า คนไทย 83% ยอมจ่ายแพงมากขึ้นเพื่อสนับสนุนสินค้าของประเทศ และ 93% รู้สึกภูมิใจเมื่อเห็นแบรนด์ของไทยไปเติบโตในตลาดต่างประเทศด้วย ดังนั้นการต่อยอดความรู้สึกผูกพันและความภูมิใจในชาติอาจเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้แบรนด์ท้องถิ่นเพิ่มพลังจนสามารถแข่งขันกับแบรนด์ระดับโลกได้

 

5 กลยุทธ์ก้าวสู่ Super Brands

สำหรับปัจจัยสำคัญและแนวคิดเชิงกลยุทธ์ในการปั้น  Super Brands ด้วยการยกระดับทั้งพลังความแข็งแกร่ง (Brand Power) และความเป็นที่รักของแบรนด์ (Brand Love) มี 5 แนวทาง ดังนี้

1.สร้างความเป็นสากล

แบรนด์ระดับโลกอย่าง Google, YouTube และ Samsung ประสบความสำเร็จจากการมีอยู่ทั่วโลกและการมีบทบาทเป็นตัวช่วยให้คนสามารถเชื่อมต่อกับข้อมูลข่าวสารความบันเทิง ซัพพอร์ตการใช้ชีวิตไลฟ์สไตล์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่แบรนด์ขนาดใหญ่ระดับท้องถิ่นสามารถเรียนรู้และนำมาพัฒนาเพื่อเป็นหนึ่งใน  Super Brands จากเอเชียแปซิฟิกที่ครองใจคนได้อย่าง Samsung เป็นต้น

2.ใช้ความภาคภูมิใจในชาติเป็นแรงกระตุ้น

คนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมักมีความรักในแบรนด์ประเทศของตนเองสูง และมักจัดอันดับให้สูงกว่าแบรนด์ระดับโลก แบรนด์ท้องถิ่นควรใช้ความภาคภูมิใจนี้ในการเสริมสร้างความผูกพันในแบรนด์กับคนในประเทศและการมีส่วนช่วยสนับสนุนการสร้างชื่อเสียงจากสินค้าบริการของประเทศในเวทีการค้าโลก ในขณะที่แบรนด์ระดับโลกก็มีส่วนร่วมได้ด้วยการเข้าไปเป็นหนึ่งในองค์กรที่เข้าไปช่วยเหลือคนและชุมชนในท้องถิ่นอย่างจริงจังจนกลายเป็นแบรนด์ที่คนในท้องถิ่นให้การชื่นชมยอมรับ เช่น Red Cross หรือสภากาชาดไทย Unilever เป็นต้น

3.สร้างพันธมิตรเพื่อความสำเร็จ

สำหรับแบรนด์ระดับโลก การสร้างพันธมิตรกับแบรนด์ท้องถิ่นเป็นกุญแจสำคัญในการเจาะตลาดที่มีความภาคภูมิใจในชาติสูง การทำงานร่วมกันนี้สามารถผสานนวัตกรรมระดับโลกกับความเข้าใจเชิงวัฒนธรรมในท้องถิ่นได้ และช่วยให้เกิด Win Win ที่สร้างผลดีให้กับทั้งสองแบรนด์ได้

4.ความผสานเข้ากับวัฒนธรรม

ทั้งแบรนด์ระดับโลกและท้องถิ่นควรนำความเข้าใจทางวัฒนธรรมท้องถิ่นมาสอดประสานเข้ากับการพัฒนาสินค้าบริการรวมไปถึงการทำการตลาดและการสื่อสารของแบรนด์ เช่น KFC กับการนำเสนอสินค้าใหม่ ๆ และเมนูรสชาติใหม่ ๆ ที่เข้ากับจริตคนไทย ผสานการทำแคมเปญการตลาดออกโปรโมชันที่ใช่ในช่วงเทศกาลต่าง ๆ ของประเทศ โดยกลยุทธ์นี้จะช่วยสร้างความเชื่อมโยงและความรักในแบรนด์ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

5.คุณภาพเป็นสะพานเชื่อม

ในขณะที่แบรนด์ระดับโลกส่วนใหญ่มักจะมีภาพลักษณ์ที่โดดเด่นด้านความน่าเชื่อถือ พรีเมียม ทันสมัย มากกว่าแบรนด์ท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่จะมีความโดดเด่นอีกด้านเรื่อง การซัพพอร์ตคอยช่วยเหลือ และความผูกพันทางใจกับคนในชาติที่ดี ซึ่งการผสานจุดแข็งเหล่านี้สามารถยกระดับการรับรู้ความสนใจในแบรนด์ โดยเฉพาะในตลาดที่กำลังพัฒนา ซึ่งแบรนด์ระดับท้องถิ่นยังคงมีความยากลำบากในการแข่งขันกับสินค้าที่ผลิตในต่างประเทศ

ข้อเสนอแนะเหล่านี้มาจากผลสำรวจของ BAV ช่วยชี้ให้เห็นถึงการผสมผสานอย่างมีกลยุทธ์ระหว่างการเข้าถึงระดับโลก ความเกี่ยวข้องในท้องถิ่น และความร่วมมือที่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นเส้นทางไปสู่ความสำเร็จในการเป็น  Super Brands ชั้นนำในตลาดภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้

คุณปรัตถจริยา ชลายนเดชะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร VML Thailand กล่าวว่าเครื่องมือ BAV ที่ใช้เป็นดัชนีชี้วัด Brand Power และ Brand Love เพื่อค้นหาแนวทางในการปั้น Super Brands จะเป็นอีกหนึ่งกลไกและกลยุทธ์ที่ช่วยให้แบรนด์ต่างๆ เจาะอินไซต์ให้เข้าใจถึงความต้องการที่แท้จริง วางแผนและเป้าหมายทางธุรกิจได้ชัดเจนมากขึ้น

เป็นจุดตั้งต้นที่เมื่อผสานกับเครื่องมืออื่น ๆ ของ VML Thailand ทำให้การบริการที่ครบวงจรแบบ End-to-End Creative Solution Service สามารถเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเป็นการผสานความแข็งแกร่งของ นักกลยุทธ์ ครีเอทีฟ และนักวิเคราะห์ข้อมูลและเทคโนโลยีระดับโลก

ภายใต้วัฒนธรรม One Team คือ การเป็นพาร์ทเนอร์ทีมเดียวกับลูกค้า ตั้งแต่เริ่มสู่ความสำเร็จไปด้วยกัน พร้อมทั้งการค้นหามุมมองความคิดใหม่ ๆ ที่เจาะลึกอินไซด์ความต้องการและความคิดของผู้บริโภคผ่านเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพต่าง ๆ ก่อนที่จะนำมาวิเคราะห์และสร้างสรรค์เป็นกลยุทธ์และความคิดสร้างสรรค์ที่ผสานผ่านการดำเนินงานด้านข้อมูล หรือ ‘ศาสตร์’ แห่งการใช้ Big Data เข้ากับ ‘ศิลป์’ ความคิดไอเดียที่สดใหม่ และถ่ายทอดสู่แพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่ทันสมัยรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเจาะตลาดและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์และผู้บริโภค ก่อให้เกิดการเติบโตของแบรนด์ (Creative Brand Growth Strategy)

ติดตามพวกเราได้ที่ LINE


แชร์ :

You may also like