HomeBrand Move !!“ไทยเบฟ” กางแผน PASSION 2030 สร้าง “Reach Competitively – Digital for Growth” ยึดผู้นำ F&B ในอาเซียน

“ไทยเบฟ” กางแผน PASSION 2030 สร้าง “Reach Competitively – Digital for Growth” ยึดผู้นำ F&B ในอาเซียน

ทุ่ม 1.8 หมื่นล้าน (ปี 68) ขยายอาณาจักรไทย-ต่างประเทศ

แชร์ :

ขับเคลื่อนธุรกิจสู่ PASSION 2030 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว สำหรับ ไทยเบฟ (ThaiBev)  ซึ่งเป็นการต่อยอดการดำเนินงานของกลุ่มในการเสริมความแข็งแกร่งสถานะผู้นำที่มั่นคงและยั่งยืนของอาเซียนในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มและอาหาร พร้อมทั้งวางเป้าหมายและแผนการเติบโตในช่วง 6 ปีข้างหน้าเพื่อ ‘สรรสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน’ (Enabling Sustainable Growth) 

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ตลอดช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา “ไทยเบฟ” ประสบความสำเร็จในฐานะยักษ์อาหารและเครื่องดื่มสัญชาติไทยที่กลายเป็นแบรนด์ระดับภูมิภาค มียอดขายหลักแสนล้านบาทใน 4 สายธุรกิจ ได้แก่ สุรา เบียร์ เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ และอาหาร โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 ไทยเบฟมีรายได้จากการขายรวม 217,055 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าใช้จ่ายตัดบัญชี (EBITDA) 38,595 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.2% โดยได้รับแรงหนุนจากธุรกิจเบียร์และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ อันเป็นผลจากการบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ

 

เปิด Passion 2030 ยึดตำแหน่งผู้นำในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มแห่งอาเซียน

เพื่อเป็นการสานต่อการเติบโตของอาณาจักร “ฐาปน สิริวัฒนภักดี” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ในฐานะแม่ทัพใหญ่ผู้ขับเคลื่อน ได้นำทัพผู้บริหารไทยเบฟกล่าวถึงการเปิดวิสัยทัศน์ใหม่ Passion 2030  อย่างเป็นทางการในปีนี้ มีเป้าหมายเพื่อยึดตำแหน่งผู้นำในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มแห่งอาเซียนไว้ให้ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน พร้อมสร้างการเติบโตในน่านน้ำใหม่ๆ

“แม้เราจะมีการประกาศ Passion 2030 หรือเป้าหมายระยะยาวอีก 6 ปีข้างหน้า แต่เราจะมีการปรับแผนธุรกิจทุกๆ 3 ปี 2 รอบ (จนถึงปี 2030) เพราะว่าทุกอย่างเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาไปจึงต้องมีการคิดแผนสองปี หรือแผนระยะสั่นกึ่งระยะยาว ทั้งนี้เพื่อรองรับพฤติกรรม ความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา”

คุณฐาปน บอกว่าเพื่อให้แผนงานบรรลุเป้าหมาย จะต้องเดินตาม 2 แกนกลยุทธ์หลักๆ (Reinforcing) ที่ทางไทยเบฟที่ให้ความสำคัญ ได้แก่ Reach Competitively และ Digital Forgrowth โดยภายในปี 2030 จะต้องเชี่ยวชาญทั้ง 2 เรื่องนี้และต้องมีขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดสากลเพิ่มมากขึ้น 

-ในส่วนของ Reach Competitively การส่งมอบสินค้าและบริการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อให้มั่นใจว่าสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในช่องทางต่างๆได้อย่างทั่วถึงและขยายขอบเขตให้ครอบคลุมทุกช่องทางรวมทั้งเจาะตลาดได้อย่างครบวงจรไร้รอยต่อพร้อมแข่งขันทั้งในด้านต้นทุนและการให้บริการที่มีคุณภาพทั่วอาเซียน

-Digital Forgrowth ความตั้งใจที่จะขยายการนำเทคโนโลยีและระบบดิจิทัลมาใช้รวมถึงประยุกต์ใช้ระบบขายอัตโนมัติ (sales automation) เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันเพิ่มความรวดเร็วและประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตการดำเนินงานรวมถึงการกระจายสินค้านอกจากนี้ยังมีแผนที่จะพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ตอบโจทย์ต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้าอีกทั้งเตรียมพร้อมสำหรับการเติบโตในอนาคต

 

คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี

คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี

ประเดิมปี 2568 อัดงบลงทุนเพิ่มเท่าตัว 18,000 ล้านบาท สยายปีกไทยอาเซียน

นอกจากนี้ภายใต้แผนงาน PASSION 2030 จะประเดิมการลงทุนครั้งใหญ่ตามปีงบประมาณ 2568 (ต.ค.67-ก.ย.68) ไว้ที่ 18,000 ล้านบาท ซึ่งมากเป็นเท่าตัวจากทุกปีที่ใช้อยู่ราว 5,000-7,000 ล้านบาท  โดยจะโฟกัสการลงทุนหลักๆ ออกเป็น 

งบประมาณราว 8,000 ล้านบาท จะถูกใช้ในการลงทุนโครงการ  “Agri Valley Farm”  ในมาเลเซียซึ่งเป็นฟาร์มโคนมขนาดใหญ่ที่ได้มาจากการแลกหุ้นนำธุรกิจเฟรเซอร์แอนด์นีฟ (F&N) เข้ามาอยู่ในพอร์ตของไทยเบฟโดยคาดการณ์ว่าจะผลิตน้ำนมได้ 200 ล้านลิตรต่อปี

การลงทุนก่อสร้างโรงงานใน “กัมพูชา” (เป็นโครงการต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา) ด้วยลงทุนกว่า 2,500 ล้านบาทในการผลิต “นมข้นหวาน” ชาเขียวพร้อมดื่ม “โออิชิ” และใช้ในการผลิต “เบียร์ช้าง” โดยคาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการผลิตอย่างเป็นทางการได้ในต้นปี 2569 และมีกำลังการผลิตที่ 50 ล้านลิตรต่อปี

“กัมพูชาเป็นตลาดเบียร์ที่เติบโตเร็วที่สุดและใหญ่เป็นอันดับ 4 ของอาเซียนเมื่อวัดจากปริมาณขาย โดยมีปริมาณการบริโภครวมต่อปีประมาณ 10 ล้านเฮกโตลิตร ดังนั้น เราจึงเล็งเห็นโอสาสและได้เริ่มก่อสร้างโรงงานผลิตเบียร์ในกัมพูชา”

ส่วนอีก 1,300 ล้านบาทจะเป็นการลงทุนใน “กลุ่มธุรกิจอาหาร” ไม่ว่าจะเป็นการขยายสาขาเพิ่ม 69 แห่งแบ่งเป็นการขยายสาขา KFC 45 แห่งส่วนที่เหลือ 24 สาขาจะเป็นๆในเครือนอกจากนี้ยังมีแผนรีโนเวทร้านโออิชิชาบูชิในรูปแบบใหม่เพิ่มเติมแผนงานดังกล่าวจะทำให้ปีหน้ามีไทยเบฟมีกลุ่มผลิตร้านอาหารในเครือทั้งสิ้น 888 สาขา

 

เบียร์” สู่การเติบโตเป็นอันดับ 1 กับการมีผู้ท้าชิงรายใหม่

เมื่อโฟกัสมาในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 กลุ่มธุรกิจที่เติบโตสูงสุดอย่างกลุ่มธุรกิจเบียร์ พบว่า มีกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย (EBITDA) ฯลฯ เติบโต 10.2% อันเป็นผลจากการลงทุนตราสินค้า และกิจกรรมทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพ การเติบโตดังกล่าวสะท้อนภาพของไทยเบฟ ในฐานะผู้เล่นหลักในตลาดเบียร์เมืองไทยได้เป็นอย่างดี แม้จะมีผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาเพิ่ม ทว่ากลับทำให้การแข่งขันในตลาดมูลค่ากว่า 2.6 แสนล้านบาทเข้มข้นมากยิ่งขึ้น

คุณฐาปน  ยังบอกอีกว่า การที่ตลาดเบียร์มีผู้เล่นใหม่เข้ามาถือเป็นเรื่องที่ดี หากแต่ละแบรนด์ประสบความสำเร็จ ก็พร้อมจะปรับกลยุทธ์เพื่อมองหาแนวทางใหม่ๆ เพื่อรักษาความเป็นผู้นำตลาด แต่ต้องยอมรับว่าการแข่งขันในช่วงแรกของผู้เล่น (หน้าใหม่) ที่เข้ายังไม่สามารถ Penetrate และสร้างมาร์เก็ตแชร์ได้มากนัก ส่วนในระยะยาวต้องจับตาดูว่าแต่ละแบรนด์จะมีจุดยืนมากน้อยเพียงใดในการทำตลาด

“การทำตลาดเบียร์เมืองไทยไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะตลาดช่วงหลายปีที่ผ่านมาก็มีหลายแบรนด์จากต่างประเทศเข้ามาทำตลาด เฉพาะผู้เล่นรายหลัก (แบรนด์ไทย) ทั้ง 3 แบรนด์ก็มีมาร์เก็ตแชร์รวมกันกว่า 98% ในตลาดเบียร์แล้ว อีก 1-2% คือแบรนด์จากยุโรป และแบรนด์จากฟิลิปปินส์อีก 1 ราย”

ด้านคุณไมเคิล ไชน์ ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มธุรกิจเบียร์ กล่าวว่า นอกจากการเดินหน้าขยายตลาดใน “กัมพูชา” กับการขยายโรงงานแห่งใหม่ ส่วนใน “เวียดนาม” ยังคงเดินหน้าเสริมความแข็งแกร่งของตำแหน่งผู้นำผ่านการขยายเครือข่ายการกระจายสินค้า โดยเฉพาะในพื้นที่นอกเมืองสำคัญต่าง ๆ โดยในเดือนสิงหาคม 2567 ซาเบโก้เปิดตัวเบียร์ 333 Pilsner ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของกลุ่มตราสินค้าเบียร์ 333 โดย 333 Pilsner ตลอดจนการเสริมแกร่งของธุรกิจใน “เมียนมา” จากการรวมธุรกิจ F&N เข้ามาเป็นบริษัทย่อย ในส่วนของประเทศไทยได้มีการเปิดกลยุทธ์หลัก 6 ประการ ประกอบด้วย ในการรุกตลาด

  • เสริมแกร่งความเป็นผู้นำ (Strengthen Leadership) ด้วยการเพิ่มสัดส่วนพื้นที่บนชั้นวางสินค้าในร้านค้าอย่างยั่งยืนเพิ่มการมีส่วนร่วมกับผู้บริโภคและสร้างความตื่นเต้นผ่านแพลตฟอร์มและช่องทางที่หลากหลาย
  • ยกระดับกลุ่มผลิตภัณฑ์ (Portfolio Premiumization) ผ่านการพัฒนาตราสินค้าแมสพรีเมียมอย่างต่อเนื่องทั้งช้างโคลด์บรูว์เฟเดอร์บรอยและช้างอันพาสเจอไรซ์ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพของแผนการขายการตลาด
  • พัฒนาความเป็นเลิศด้านการดำเนินงาน (Operational Excellence) จากการบริหารจัดการต้นทุนที่ดีขึ้นมีเป้าหมายเพื่อที่จะให้เกิดผลลัพธ์ในเชิงบวก
  • ใช้เทคโนโลยีเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Technological Transformation) โดยนำเทคโนโลยีมาใช้ในทุกด้านของการดำเนินงานและกระบวนการทำงานซึ่งจะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่รวดเร็วและดียิ่งขึ้น
  • การลงทุนด้านทรัพยากรบุคคล (People Investment) โดยมุ่งเน้นสามสิ่งสำคัญได้แก่การสร้างโอกาสให้แก่พนักงานมากยิ่งขึ้นการพัฒนาทักษะใหม่และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพนักงาน
  • ส่งเสริมความยั่งยืน (Sustainability) โดยมุ่งเน้นการใช้พลังงานสะอาดซึ่งได้จากพลังงานแสงอาทิตย์และไอน้ำเชื้อเพลิงชีวมวลอีกทั้งยังยึดมั่นในการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

กลุ่มผลิตภัณฑ์สุรา กับการขยายตลาดโลก

หนึ่งในเป้าหมายสำคัญของไทยเบฟคือการทำให้สุราพรีเมียมของไทยเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ผ่านตราสินค้าหลักอย่าง แสงโสม แม่โขง พระยา รัม และรวงข้าว สยาม แซฟไฟร์  โดยไทยเบฟได้ขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์สุราระดับพรีเมียมผ่านการเปิดตัว PRAKAAN (ปราการ) ซิงเกิลมอลต์วิสกี้พรีเมียมแบรนด์แรกของประเทศไทยในเดือนกันยายน 2567 ซึ่งจะเข้ามาเสริมทัพกลุ่มตราสินค้าหลักในการขับเคลื่อนสุราระดับพรีเมียมของไทยสู่เวทีระดับโลก

สำหรับตลาดต่างประเทศ ไทยเบฟเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันด้วยกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ทั้งวิสกี้จากสกอตแลนด์ คอนญักจากฝรั่งเศส วิสกี้จากนิวซีแลนด์ ซิงเกิล มอลต์ วิสกี้และรัมระดับพรีเมียมจากไทย พร้อมกันนี้ยังมีแผนที่จะลงทุนเพิ่มเติมเพื่อขยายกำลังการผลิตในนิวซีแลนด์ ส่วนในประเทศเมียนมา แกรนด์ รอยัล วิสกี้ ยังคงมีผลการดำเนินงานแข็งแกร่งและยังครองตำแหน่งวิสกี้อันดับหนึ่งในประเทศไว้ได้แม้จะมีความท้าทายในตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยช่วง 9 เดือนที่ผ่านมากลุ่มธุรกิจสุรามีรายได้จากการขาย 92,788 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อย 0.9% และมี EBITDA ลดลง 1.3%

ติดตามพวกเราได้ที่ LINE


แชร์ :

You may also like