HomePR Newsจากเอเชียแปซิฟิกสู่ระดับโลก: เดอะ ลักชัวรี่ กรุ๊ป บาย แมริออท อินเตอร์เนชั่นแนล เผยเทรนด์ด้านอาหารและเครื่องดื่มในรายงาน The Future of Food 2025 [PR]

จากเอเชียแปซิฟิกสู่ระดับโลก: เดอะ ลักชัวรี่ กรุ๊ป บาย แมริออท อินเตอร์เนชั่นแนล เผยเทรนด์ด้านอาหารและเครื่องดื่มในรายงาน The Future of Food 2025 [PR]

แชร์ :

เดอะ ลักชัวรี่ กรุ๊ป บาย แมริออท อินเตอร์เนชั่นแนลเผยรายงานล่าสุด The Future of Food 2025 มีเนื้อหาครอบคลุมและตอกย้ำให้เห็นถึงพลังการเปลี่ยนแปลงของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในการกำหนดเทรนด์ด้านอาหารทั่วโลก รายงานฉบับนี้ให้ข้อมูลเชิงลึกจากเชฟชั้นนำ มิกโซโลจิสต์ และผู้เชี่ยวชาญในวงการนี้กว่า 30 คนจากทั่วภูมิภาค พร้อมระบุแนวโน้มหลัก 10 ประการที่มีอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมด้านอาหาร ที่มีบทบาทในภูมิภาคนี้ต่อวงการอาหารทั่วโลก

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

เอเชียแปซิฟิกที่เป็นศูนย์กลางของการท่องเที่ยวเชิงอาหาร โดยมีส่วนแบ่งตลาดทั่วโลกถึง 37.8% ในปี 2566 และคาดการณ์มูลค่าตลาดว่าจะเติบโตไปถึง 6.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2576* ภูมิทัศน์ด้านอาหารที่มีความคึกคักนี้ขับเคลื่อนด้วยทั้งประเพณีและประสบการณ์การรับประทานอาหารในรูปแบบที่แปลกใหม่ ที่เป็นสิ่งดึงดูดผู้ที่ชื่นชอบอาหารและเครื่องดื่มจากทั่วโลก

ออริออล มอนทอล กรรมการผู้จัดการฝ่ายลักชัวรี่ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมประเทศจีน) ของแมริออท อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า “รายงาน The Future of Food 2025 เน้นย้ำถึงบทบาทอันสำคัญของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในการกำหนดภูมิทัศน์ด้านอาหารระดับโลก ด้วยอิทธิพลของอาหารที่มีต่อการตัดสินใจในการเดินทาง รายงานฉบับนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเราในการสร้างความเป็นเลิศด้านอาหารในทุกแบรนด์ที่อยู่ใน ลักชัวรี่ กรุ๊ป”

ปีเตอร์ ราบา รองประธานกรรมการฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมประเทศจีน) ของ แมริออท อินเตอร์เนชั่นแนล เสริมว่า “เราไม่ได้เพียงแค่สังเกตแนวโน้มเหล่านี้ แต่เรากำลังมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการสร้างและมีอิทธิพลต่อแนวโน้มเหล่านี้ เราลงทุนพัฒนาประสบการณ์ด้านอาหาร แนวปฏิบัติที่ยั่งยืน และเทคโนโลยีเชิงนวัตกรรมเพื่อยกระดับบริการต่างๆ ในร้านอาหารและบาร์ของเราในภูมิภาค การเปิดรับและปรับใช้เทรนด์ใหม่ๆ เหล่านี้ไม่เพียงแต่ยกระดับประสบการณ์การรับประทานอาหารของแขกเท่านั้น แต่ยังมีส่วนร่วมในการพัฒนาวงการอาหารระดับโลกอีกด้วย”

เทรนด์หลักๆ ที่กำหนดอนาคตของอาหาร

1. จากเอเชียแปซิฟิกสู่ระดับโลก
จากการผสมผสานสุนทรียศาสตร์ของญี่ปุ่นเข้ากับอาหารฝรั่งเศส อาหารเกาหลีที่มีอิทธิพลเพิ่มขึ้น ไปจนถึงการใช้เครื่องเทศและเทคนิคดั้งเดิมจากอินเดียและจีนแผ่นดินใหญ่อย่างสร้างสรรค์ที่เปลี่ยนบรรทัดฐานตะวันตก เอเชียแปซิฟิกกำลังกลายเป็นมหาอำนาจในการส่งออกด้านอาหาร การกลับมาของเชฟพลัดถิ่นสู่ประเทศบ้านเกิดได้ผสมผสานความเป็นนานาชาติเข้ากับบรรยากาศท้องถิ่น โดยการเลือกใช้วัตถุดิบพื้นเมืองและฟื้นฟูสูตรอาหารดั้งเดิม เทรนด์นี้ได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากการเพิ่มขึ้นของกระแสนิยมการต้อนรับและนวัตกรรมแบบเอเชียในระดับโลก ซึ่งเป็นการปูทางให้อาหารเอเชียครอบครองพื้นที่ในวงการอาหารทั่วโลกในอนาคต

2. การกลับมาของวัตถุดิบและประเพณีที่ถูกลืม
ท่ามกลางความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้น เชฟตระหนักมากขึ้นถึงคุณค่าของกรรมวิธีแบบดั้งเดิมที่ต้องใช้แรงคนและวัตถุดิบที่ถูกลืม ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรมทั่วเอเชียแปซิฟิก ทั้งภูมิภาค เชฟไม่เพียงแต่อนุรักษ์ แต่ยังสร้างนวัตกรรมภายในประเพณีการทำอาหารของตน ตั้งแต่การทำอาหารแบบใช้

ทุกส่วนของสัตว์ (nose-to-tail cooking) ไปจนถึงการผลิตจาง (jang) เครื่องปรุงสไตล์เกาหลีแบบดั้งเดิม ซึ่งมีส่วนสำคัญทั้งต่อมรดกทางวัฒนธรรมและการก้าวสู่ความยั่งยืนในระดับโลก

3. การปรับเปลี่ยนนิยามของ Fine Dining: กระแส Hyperlocal และ Superfine Dining
ร้านอาหารกำลังให้ความสนใจอาหารท้องถิ่นที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก โดยนำเสนอการผจญภัยด้านอาหารที่เพิ่มคุณค่าวัฒนธรรมและสร้างความพึงพอใจทางรสชาติ ร้านอาหารระดับไฟน์ไดนิ่งกำลังปรับเปลี่ยนตัวเองไปสู่ความพิเศษเฉพาะ (exclusivity) ด้วยการยกระดับราคา จำกัดจำนวนที่นั่ง และการให้บริการเฉพาะสมาชิก เพื่อสร้างคุณค่าที่ไม่ซ้ำแบบใครแก่แขกโดยผ่านประสบการณ์ที่พิเศษ นอกจากนี้ การเน้นที่คุณภาพอาหารมากกว่าปริมาณและประสบการณ์การรับประทานอาหารที่สั้นกว่า เร็วกว่า และผ่อนคลายมากขึ้นในบรรยากาศที่เป็นส่วนตัวกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้น

4. จัดเสิร์ฟสุขภาพดีเริ่มจากจานอาหาร
การเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพมีอิทธิพลต่อการเลือกอาหาร ในขณะที่อาหารต้านความชราที่ช่วยสร้างสมดุลฮอร์โมนกำลังได้รับความนิยม การมีอายุยืนยาวกลายเป็นความหรูหราในนิยามใหม่ อาหารถูกมองว่าเป็นยา โดยร้านอาหารหันมานำเสนอเมนูที่มีคุณค่าทางโภชนาการ คัดสรรโดยเชฟ ซึ่งให้ความสำคัญกับวัตถุดิบที่สดและเป็นธรรมชาติ (ไม่ผ่านการดัดแปลงหรือกรรมวิธี) รวมถึงการจัดหาวัตถุดิบที่โปร่งใส สามารถตรวจสอบที่มาที่ไปได้ นอกจากนี้ AI ยังมีบทบาทในการแนะนำเมนูอาหารที่ปรับแต่งตามความต้องการเฉพาะบุคคล

5. จุดหมายปลายทางด้านอาหารใหม่ๆ กำลังได้รับความนิยม
เมื่อโครงสร้างพื้นฐานและการเชื่อมต่อในโลกดิจิทัลพัฒนาขึ้น จุดหมายปลายทางยอดนิยมใหม่สำหรับการท่องเที่ยวเชิงอาหารกำลังเกิดขึ้น ซึ่งเสริมสร้างสถานะของภูมิภาคในฐานะศูนย์กลางระดับโลกด้านความเป็นเลิศทางวัฒนธรรมและอาหาร รายงานระบุถึงวัฒนธรรมอาหารที่หลากหลายและมีชีวิตชีวาในบาหลี ปูซาน โฮจิมินห์ซิตี้ เชจู กัวลาลัมเปอร์ มะนิลา มุมไบ นิเซโกะ เซี่ยงไฮ้ และแทสเมเนีย สถานที่เหล่านี้กำลังเปลี่ยนนิยามของการรับประทานอาหารในแต่ละท้องถิ่นและกำหนดมาตรฐานใหม่ในวงการอาหารระดับโลกด้วยประสบการณ์การรับประทานอาหารที่เป็นเอกลักษณ์และเจาะจงพื้นที่ในท้องถิ่น ซึ่งเน้นการเลือกใช้วัตถุดิบพื้นเมืองและเทคนิคการทำอาหารแบบดั้งเดิม

เทรนด์อื่นๆ ที่ระบุในรายงาน :
– การปรุงอาหารที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (Conscious Cuisine): เห็นได้ว่าความพยายามส่งเสริมความยั่งยืน รวมถึงการทำฟาร์มเชิงฟื้นฟู การจัดการวิกฤตน้ำ และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลจัดการระบบห่วงโซ่อุปทาน ช่วยเพิ่มความมั่นคงทางอาหารและลดขยะอาหาร
– จากฟาร์มสู่อนาคต (Farm-to-Future): การบูรณาการแนวปฏิบัติที่ยั่งยืนตั้งแต่การทำฟาร์มแบบไบโอไดนามิก การรับประทานอาหารที่เน้นพืชเป็นหลัก ไปจนถึงการใช้วัตถุดิบอัพไซเคิล กำลังขับเคลื่อนการปรับปรุงแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้มั่นใจว่าคนรุ่นต่อไปจะยังคงสามารถเพลิดเพลินกับอาหารที่หลากหลายได้
– เครื่องดื่มในยุคใหม่ (Pour it Forward): นวัตกรรมในเครื่องดื่ม รวมถึงค็อกเทลแบบคราฟต์และตัวเลือกเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ควบคู่ไปกับบรรยากาศกำลังเปลี่ยนนิยามใหม่ให้กับประสบการณ์ในบาร์
– เทคโนโลยีสุดล้ำ แต่สัมผัสใกล้ชิด (High-Tech, High-Touch): เทคโนโลยีช่วยเพิ่มประสบการณ์การรับประทานอาหารโดยไม่ลดทอนปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของงานบริการ
– อาหารกระตุ้นประสาทสัมผัสและพื้นที่ที่ยั่งยืน (Sensory Dining and Sustainable Spaces): ร้านอาหารกำลังกลายเป็นสนามแห่งประสบการณ์ที่กระตุ้นหลากหลายประสาทสัมผัสที่ผสานรวมกับเทคโนโลยี ซึ่งทั้งสนุกสนานและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม


แชร์ :