ศิลปะ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และแฟชั่นจากประเทศไทย มีบทบาทสำคัญในเวทีโลกมากแค่ไหน นี่อาจเป็นประเด็นที่หลายคนอาจสงสัย…และเป็นคำถาม? ในใจใครหลายคน
กลายมาเป็นโจทย์ที่ทาง “คุณเจมส์ ฟอลลอน” ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายคอนเทนต์ของ WWD และแฟร์ไชลด์ มีเดีย กรุ๊ป สื่อทางด้านแฟชั่นยักษ์ใหญ่ของโลก จับตาทิศทางอุตสาหกรรมแฟชั่นและลักชัวรีไทยในตลาดโลก ว่าจะมีบทบาทสำคัญอย่างไร
หลังจบงาน “มิลาน แฟชั่น วีค” ที่อิตาลี “คุณเจมส์” ค้นพบว่า แบรนด์แอมบาสเดอร์แบรนด์หรูระดับโลก ที่เป็นคนไทย ได้รับการต้อนรับจากเหล่าแฟนคลับมายืนต่อคิว ส่งเสียงเชียร์จำนวนมาก นั่นสะท้อนว่าประเทศไทยเองก็เป็นตลาดสำคัญ ที่แบรนด์หรูระดับโลกกำลังเติบโต และทุกวันนี้หากลองเดินเข้าไปในศูนย์การค้าในเครือของกลุ่มสยามพิวรรธน์ อย่างสยามพารากอน และไอคอนสยาม จะเห็นแบรนด์หรูแบรนด์ใหญ่ ๆ ครบแทบทุกแบรนด์เหมือนเช่นเมืองใหญ่ๆทั่วโลก
ล่าสุดยกระดับอุตสาหกรรมแฟชั่นและลักชัวรีไทยให้ก้าวไปอีกขึ้น สยามพิวรรธน์ได้จัดงาน WWD x SIAM PIWAT GLOBAL FASHION SPOTLIGHT งานเสวนาสุดยอดด้านแฟชั่นครั้งใหญ่แห่งปีที่รวบรวมผู้นำในอุตสาหกรรม โดยร่วมกับ WWD (Women’s Wear Daily) สื่อด้านแฟชั่นรายใหญ่ของโลก ภายใต้ธีม SOUTH EAST ASIA – LUXURY’S NEW FUTURE เป็นครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อตอกย้ำถึงความสำคัญของบทบาททางด้านแฟชั่นจากประเทศไทย ที่มีต่อเวทีโลก
ชฎาทิพ จูตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทสยามพิวรรธน์ กล่าวว่า “ตลอดเวลา40 ปีที่ผ่านมา สยามพิวรรธน์เป็นผู้
สร้างแบรนด์ให้ทะยานในตลาดโลก กับ “BOYY”, LIE SANGBONG และ “SHANGHAI TANG”
หากมองย้อนกลับมาที่การเติบโตในแวดวงอุตสาหกรรมแฟชั่นระดับโลก หัวใจสำคัญก็คือการสร้างแบรนด์ให้ทะยานไปในตลาดโลก เพราะในวงการแฟชั่นในวันนี้ ลูกค้าคือคนทั่วโลก ไม่ใช่คนในประเทศใดประเทศหนึ่งอีกต่อไป
“คุณบอย-วรรณศิริ คงมั่น” ผู้ก่อตั้งแบรนด์ BOYY เล่าว่า BOYY เป็นแบรนด์ที่มีต้นกำเนิดในปี 2006 ที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยเป็นเหมือนโปรเจ็คเล็ก ๆ ในวันที่โลกยังไม่ได้มีโซเชียลมีเดีย และอินฟลูเอนเซอร์เหมือนอย่างทุกวันนี้ ทำให้การสร้างแบรนด์ BOYY ต้องเจอกับความท้าทายเป็นอย่างมาก ตั้งแต่การออกแบบสินค้า เพื่อนำไปวางขายในช็อปต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ช็อปของตัวเอง ซึ่งทำให้คุณบอยไม่ได้มีอิสระในการสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างเต็มที่ แต่คุณบอยก็เดินหน้าสร้างแบรนด์ BOYY ต่อไป ก่อนที่จะย้ายไปมิลาน อิตาลี แม้จะเริ่มต้นจากศูนย์ แต่ยังมุ่งมั่นใช้ทั้งความรู้สึก ความคิดสร้างสรรค์ และเน้นความเป็นธรรมชาติ จนเป็นแบรนด์ BOYY ในทุกวันนี้
ที่น่าสนใจคือ ในวันนี้ BOYY ยังเป็นแบรนด์ที่มีอิสระ 100% โดยไม่ได้ถูกซื้อกิจการไปโดยเครือแบรนด์หรูอื่น ๆ ทำให้มีอิสระในการสร้างสรรค์ผลงานต่าง ๆ อย่างเต็มที่ ไม่เหมือนแบรนด์แฟชั่นอื่นๆ ที่เมื่อเติบโตไปได้สักพัก ก็จะมีทุนใหญ่เข้ามาลงทุน เพราะจำเป็นที่จะ Scale ธุรกิจให้ใหญ่ขึ้น จวบจนปัจจุบัน BOYY เป็นแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จ และได้รับการยอมรับในระดับโลกในฐานะ Young Luxury Brand
จนเมื่อไม่นานมานี้ ลิซ่า (LISA) ก็เคยถือกระเป๋า BOYY Helmet Bag ไปชมการแข่งขัน F1 Miami Grand Prix 2024 ที่ไมอามี่ สหรัฐอเมริกา เมื่อช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา จนเป็นกระแสไปทั่วโลก จนสร้าง Awareness ได้อย่างมหาศาล รวมถึงทำให้กระเป๋า BOYY Helmet Bag ขายหมดสต็อกอย่างรวดเร็ว
อย่างไรก็ตามเส้นทางของแบรนด์ BOYY นั้น ดูจะแตกต่างจากแบรนด์แฟชั่นสัญชาติเอเชียแบรนด์อื่น ๆ ที่มักเริ่มต้นสร้างแบรนด์ภายในประเทศของตัวเองก่อน แล้วค่อยขยายฐานไปยังลูกค้าในต่างประเทศ เช่น แบรนด์ LIE SANGBONG แบรนด์แฟชั่นของดีไซเนอร์ชาวเกาหลีใต้ ที่ผู้ก่อตั้งแบรนด์อย่าง Lie Sang Bong ปั้นแบรนด์ของตัวเองขึ้นในปี 1999 ซึ่งในเวลานั้น คุณ Lie Sang Bong ยอมรับว่าไม่ค่อยมีดีไซเนอร์จากเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นประเทศจีน ญี่ปุ่น หรือเกาหลีใต้ มีชื่อเสียง และผลงานได้รับการยอมรับในระดับโลกมากสักเท่าไหร่นัก
ทำให้คุณ Lie Sang Bong เลือกที่จะสร้างแบรนด์ของตัวเองให้แข็งแกร่ง ในเกาหลีใต้เสียก่อน จนกระทั่งสามารถนำคอลเล็กชันเสื้อผ้าที่ตัวเองออกแบบ ไปโชว์บนเวทีแฟชั่นวีค ทั้งในนิวยอร์ค และปารีสได้ เป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว
เช่นเดียวกับ SHANGHAI TANG แบรนด์ดีไซเนอร์ชื่อดังจากฮ่องกง ที่มีจุดเริ่มต้นเมื่อราว ๆ 30 ปีก่อน โดยคุณ Octo Cheung Yan Yu, Vice President ของ Shanghai Tang กล่าวถึงจุดเด่นของแบรนด์ นั่นคือ การยึดเอามรดกวัฒนธรรมแบบจีน และเอเชีย ภายใต้กลิ่นอายของความร่วมสมัยของยุคปัจจุบัน และการใช้ศิลปะ และความคิดสร้างสรรค์ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้แบรนด์ประสบความสำเร็จในตลาดโลก
พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน แบรนด์หรูต้องปรับตัว
อย่างไรก็ตามท่ามกลางการแข่งขันของอุตสาหกรรมในแวดวงแฟชั่นแบรนด์หรูระดับโลกที่มีการปรับเปลี่ยนของพฤติกรรมผู้บริโภคอยู่ตลอดเวลา ทำให้แบรนด์ต้องมีการปรับตัวให้สอดคล้องกับยุคสมัยและเทรนด์นั้นๆ
“คุณ Emmanuelle Kouakou” Managing Director ของ Piaget Southeast Asia & Oceania เล่าว่า ปัจจุบันกลุ่มลูกค้าของแบรนด์หรู ต่างมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ไม่ได้มองสินค้าจากแบรนด์หรูในด้านคุณภาพ ความหรูหรา และสถานะทางสังคม เพียงอย่างเดียวอีกต่อไปแล้ว แต่สิ่งที่กลุ่มลูกค้าของแบรนด์หรูคาดหวังเพิ่มเติม ก็คือ “ประสบการณ์” และ “ความแตกต่าง” ที่จะได้รับจากแบรนด์ในระยะยาว
ขณะที่ “คุณสุวดี พึ่งบุญพระ” Chief Executive Officer และผู้ร่วมก่อตั้ง พีพี กรุ๊ป ซึ่งเป็นผู้นำเข้าแบรนด์หรูต่าง ๆ เข้ามาในประเทศไทย มองว่า ในปัจจุบันกลุ่มลูกค้าที่ซื้อสินค้าแบรนด์หรู ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงผู้มีรายได้สูงอีกต่อไปแล้ว แต่ยังมีคนกลุ่มอื่น ๆ ที่หลากหลาย หันมาซื้อสินค้าแบรนด์หรูกันมากขึ้น และที่สำคัญคือ ความหมายของ Luxury ได้เปลี่ยนแปลงได้แล้ว และ กลุ่มลูกค้าที่จะซื้อแบรนด์หรูกลายเป็นคนที่มีอายุน้อยลงเรื่อย ๆ และมีความรู้มากขึ้น แถมยังให้ความสำคัญกับประสบการณ์ คุณภาพ และคุณค่าที่แท้จริงของตัวสินค้า มากกว่าเทรนด์ ที่ถูกกระตุ้นโดยการตลาดในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
อีกหนึ่งการปรับตัวของ “แบรนด์หรู” ที่คนทั่วโลกกำลังให้ความสนใจคือการใช้ “แบรนด์แอมบาสเดอร์” ในการสื่อสารแบรนด์ของกลุ่มลักชัวรีแบรนด์ทั่วโลก โดย “คุณโอฬาร ปุ้ยพันธวงศ์” Chief Operating Officer, Chief Business Officer และผู้ร่วมก่อตั้ง พีพี กรุ๊ป มองว่า แบรนด์แอมบาสเดอร์มีความสำคัญกับแบรนด์หรูมาก ๆ เพราะการเลือกแบรนด์แอมบาสเดอร์ที่ถูกต้องและเหมาะสมนอกจากจะเป็นการทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้นแล้ว ยังเป็นการช่วยถ่ายถอดภาพลักษณ์ของแบรนด์ไปสู่กลุ่มลูกค้าได้ดีอีกด้วย
นอกจากจากแบรนด์แอมบาสเดอร์ที่มีความสำคัญแล้ว สิ่งหนึ่งที่ถูกตั้งคำถามคือ “หน้าร้าน” หรือ “ช็อป” ต่าง ๆ ของแบรนด์หรูยังมีความจำเป็นหรือไม่ ในวันที่ทุกแบรนด์ต่างมี E-Commerce เป็นของตัวเอง “คุณสุวดี” อธิบายว่า กลุ่มลูกค้าของแบรนด์หรู ต่างให้ความสำคัญกับประสบการณ์ที่จะได้รับจากตัวสินค้า โดยเฉพาะการลองจับ ลองสัมผัส ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการขายสินค้าในระดับพรีเมียม และช็อป ยังทำหน้าที่บอกเล่าเรื่องราว ถ่ายทอดประสบการณ์ที่แบรนด์อยากจะให้กลุ่มลูกค้าได้รับรู้ ส่งผลให้กลุ่มลูกค้ามี Brand Loyalty และกลับมาซื้อสินค้ากับแบรนด์อีกเรื่อย ๆ ในอนาคต
ส่วนในด้านของคุณ Emmanuelle ซึ่งเป็นผู้บริหารของแบรนด์ Piaget นั้นมองว่า ความสำคัญของช็อปนั้น ต้องมีการวิเคราะห์ให้ได้ว่ากลุ่มลูกค้านั้นมองแบรนด์อย่างไร และต้องการมีส่วนร่วมกับแบรนด์อย่างไร ช็อป จึงต้องสามารถอธิบายความเป็นแบรนด์ได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ประวัติศาสตร์ หรือเรื่องราวของแบรนด์
ในขณะที่คุณ Roberta Pellacci ซึ่งเป็น Vice President Marketing and Communications ของ Bvlgari Japan แบรนด์เครื่องประดับหรูในเครือ LVMH มองเห็นความสำคัญของช็อปคล้าย ๆ กับคุณสุวดี กล่าวคือ ช็อปของ Bulgari มี Touch Point ที่ทำให้ลูกค้าสามารถจับและสัมผัสสินค้าต่าง ๆ ของแบรนด์ ได้ด้วยตัวเอง ถึงแม้ว่าลูกค้าจะมีการดูสินค้าจากเว็บไซต์มาก่อน แต่สุดท้ายแล้วลูกค้าก็ยังมีแนวโน้มมาซื้อสินค้าที่หน้าช็อปอยู่ดี เพราะประสบการณ์ที่ลูกค้าจะได้จากหน้าช็อป คือสิ่งที่เว็บไซต์ออนไลน์ให้ไม่ได้
พลัง “อินฟลูเอนเซอร์แห่งเอเชีย” กับการสร้าง Impact ของแฟชั่นแบรนด์ในตลาดโลก
เมื่อสูตรสำเร็จของการสร้างแบรนด์ จำเป็นต้องมีการสื่อสารออกไปยังกลุ่มเป้าหมายให้ถูกต้อง เพื่อสร้างพลังแห่งแบรนด์ให้มากที่สุด ดังนั้นการใช้ “อินฟลูเอนเซอร์” ในการสร้าง Impact ให้แก่แบรนด์จึงเป็นสิ่งจำเป็นในยุคที่ “โซเชียลมีเดีย” เข้ามามีบทบาทและสร้างการบอกต่อได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
ในอดีตหลายคนอาจจะเคยชินกับเหล่าบรรดาเซเลบริตี้คนดังจากฝั่งตะวันตกที่มักจะเป็นตัวแทนในการสื่อสารสร้างแบรนด์ตลอดจนการสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า ทว่าเมื่อเทคโนโลยี โซเชียลมีเดียมีบทบาทมากขึ้นอินฟลูเอนเซอร์จากฝั่งเอเชียก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน
คุณใหม่ ดาวิกา โฮร์เน่ นักแสดงชาวไทย คุณอาโป ณัฐวิญญ์ วัฒนกิติพัฒน์ นายแบบและนักแสดงชาวไทย และคุณ Heart Evangelista เซเลบริตี้ และนักแสดงชื่อดังจากประเทศฟิลิปปินส์ ที่มีผู้ติดตามบน Instagram มากกว่า 16 ล้านคน คือ 3 อินฟลูเอนเซอร์ เซเลบริตี้ ชื่อดังจากฝั่งเอเชียที่มีบทบาทต่อโลกแฟชั่นเป็นอย่างมากในปัจจุบัน
ทั้ง 3 ได้มาถ่ายทอดหัวใจหลักของการเป็นอินฟลูเอนเซอร์ และ Impact ที่เกิดขึ้นต่อสังคม ในมุมมองของแต่ละคน
โดย “คุณ Heart” มองว่าการที่จะ Influence ผู้คนได้นั้น ไม่ได้หมายถึงการสวมใส่เสื้อผ้าสวย ๆ เพียงอย่างเดียว แต่ยังหมายถึงการสื่อสาร และการสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ อีกด้วย โดยพยายามใช้ความเป็น Artist ของเธอ ในการนำเสนอตัวตน เพื่อสะท้อนความเป็นตัวเองให้ได้มากที่สุดในทุกคอนเทนต์ เพราะจริง ๆ แล้ว การทำงานที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ ล้วนเกี่ยวข้องกับการสื่อสารของเธอแทบทั้งสิ้น
ที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่งก็คือ การสร้างคอมมูนิตี้ของบรรดาเซเลบริตี้ และอินฟลูเอนเซอร์ต่าง ๆ ที่คุณ Heart มองว่าจริง ๆ แล้วคอมมูนิตี้ ก็คือการรวมตัวของกลุ่มคนแบบเดียวกัน เกิดจากการค่อย ๆ สื่อสาร และสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนโดยรอบ จนคนเหล่านี้มารวมตัวกัน และกลายเป็นฐานแฟนคลับหรือคอมมูนิตี้ไปในที่สุด
ซึ่งหากมองย้อนกลับมาที่ “คุณใหม่-ดาวิกา” และ “คุณอาโป” เราจะพบว่า การสร้างคอมมูนิตี้ของทั้งสองคนนั้น ก็ไม่ได้ต่างจากการสร้างคอมมูนิตี้ของคุณ Heart เลย เพราะบทบาทการแสดง ความพยายาม รวมถึงการสร้างปฏิสัมพันธ์ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาของทั้งสองคน ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดคอมมูนิตี้ หรือฐานแฟนคลับ ที่คอยสนับสนุนทั้งสองคน
อีกคำถามที่น่าสนใจก็คือ ในเมื่อเซเลบริตี้ และอินฟลูเอนเซอร์ ต่างสร้างคอมมูนิตี้ รวมถึงฐานแฟนคลับเป็นของตัวเองได้ แต่ละคนจะมีวิธีในการสร้าง Impact ในเชิงบวกให้กับคอมมูนิตี้ของตัวเอง แต่ละคนมีมุมมองต่อการสร้าง Impact ต่อสังคมที่แตกต่างกัน
“คุณใหม่-ดาวิกา” มองว่า การเป็นเซเลบริตี้ที่มีผู้ติดตามมากกว่า 18 ล้านคนใน Instagram ทำให้เธอให้ความสำคัญกับการใช้ผู้ติดตามที่เธอมี ในสิ่งที่ถูกต้อง และสร้างพลังดี ๆ ส่งต่อให้คนอื่น ๆ ด้วยแพลตฟอร์มของเธอ
ด้าน “คุณ Heart” มองว่า การเป็นเซเลบริตี้ที่มีผู้ติดตามจำนวนมากเป็นเหมือนพรจากพระเจ้า ทำให้เธอต้องการใช้พรจากพระเจ้านี้ ไปกับการทำเรื่องที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคม
ขณะที่ “อาโป” มองว่า การได้ร่วมงานกับแบรนด์ระดับโลกได้ทำลายข้อจำกัด (Break the boundary) ทำให้เกิด Impact โดยมองว่าตัวเองเป็นฟันเฟืองเล็กๆ ที่จะทำให้แฟชั่นทั่วโลกเชื่อมถึงกัน และความ “ช่างเลือก” ทำให้อาโปเลือกทำในสิ่งต่างๆ อย่างตั้งใจและจริงใจ ทำให้ดึงดูดแฟนคลับที่คิดแบบเดียวกันเข้ามาอยู่ในคอมมูนิตี้เดียวกัน และการที่ WWD ร่วมมือกับสยามพิวรรธน์ จัดงานในประเทศไทยครั้งนี้ จะทำให้คนทั่วโลกรู้จักแฟชั่นไทยมากขึ้นกว่าเดิม
นับเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของวงการแฟชั่นลักชัวรีของไทย กับแนวทางการสร้างการเติบโตในอนาคตต ที่ไม่ใช่แค่ในไทย หากแต่คือการสร้างการเติบโตร่วมกันในภูมิภาคจนก่าวสู่ตลาดโลกในอนาคต