เชื่อหรือไม่! วิกฤตโลกเดือดที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งมาจากการพัฒนาของเทคโนโลยีที่ไร้ขีดจำกัด ขยะอิเล็กทรอนิกส์กำลังจะล้นโลกเข้าไปทุกขณะ ข้อมูลจาก Global E-waste Monitor (GEM) โดย UN คาดว่าปีนี้จะมีขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกกว่า 62,000 ล้านกิโลกรัม และเพิ่มเป็น 82,000 ล้านกิโลกรัมอีกภายในอีก 6 ปี
หากย้อนมาดูข้อมูลสถิติในประเทศไทยจะพบว่า ขยะอิเล็กทรอนิกส์มีจำนวน 439,500 ตัน/ปี และมีแค่ 10% เท่านั้นที่ถูกนำไปรีไซเคิลและจัดการอย่างถูกวิธี นี่จึงกลายเป็นอีกหนึ่งประเด็นปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข
AIS หนึ่งผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลภาคเอกชน และให้ความสำคัญกับภารกิจ Decarbonization (การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก) เพื่อหวังลดปัญหาและอันตรายของขยะอิเล็กทรอนิกส์ในระยะยาว
หากย้อนไปตั้งแต่ปี 2562 เอไอเอสริเริ่มโครงการ“คนไทยไร้ E-Waste” โดยมีวัตถุประสงค์ให้คนไทยได้ตระหนึกถึงภัย อันตรายของขยะอิเล็กทรอนิกส์ และมีส่วนร่วมในการนำขยะอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่กระบวนการกำจัดอย่างถูกวิธีและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยิ่งไปกว่านั้น เอไอเอส ได้ผนึกกำลังร่วมกับพันธมิตรมากกว่า 220 องค์กร โดยขับเคลื่อนและมุ่งสู่การเป็น Hub of E-Waste ศูนย์กลางการบริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
อีกหนึ่งความพิเศษของการมุ่งสู่การเป็น Hub of E-Waste นี้นั้น ในวาระของวันขยะอิเล็กทรอนิกส์สากล 14 ตุลาคม 2567 นี้ ทาง AIS จึงชวนกรีนพาร์ทเนอร์มากกว่า 220 องค์กรทำแคมเปญ “อุ่นใจ ไปรฯ ทั่วไทย ตามล่าหา E-Waste” โดยเชิญชวนพันธมิตรมาร่วมตามล่าหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ในบ้าน ในออฟฟิศ เพื่อฝากให้ “อุ่นใจและพี่ไปรฯ” รวมถึงที่พาร์ทเนอร์กว่า 2,700 จุดทั่วประเทศ นำไปจัดการอย่างถูกวิธี และได้นัดรวมพลังประชาสัมพันธ์ผ่านทาง Social Media ของแต่ละองค์กรรวมพลังสร้างกระแสการตระหนักและการรับรู้ถึงภัยของ E-Waste
ทำไม “อุ่นใจ” ต้องไปทั่วไทย?
แนวคิด แคมเปญ “อุ่นใจ ไปรฯ ทั่วไทย ตามล่าหา E-Waste” นี้ เริ่มจากคำถามที่ว่า ในปีนี้ทั้งเอไอเอส และ Green Partners ของเอไอเอส จะทำอย่างไรให้สามารถเก็บขยะ E-Waste เพื่อมากำจัดได้อย่างถูกวิธี และรณรงค์ให้คนไทยตระหนักถึงภัย E-Waste ไปได้พร้อมๆกัน เอไอเอสจึงคิดว่าถ้าให้ “อุ่นใจ” มาสคอตที่ชาวไทยชื่นชอบไปทำภารกิจตามล่าหา E-Waste ไม่ว่าจะเป็น ออฟฟิศ ของหน่วยงาน องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน มหาวิทยาลัย และตามบ้านของประชาชนต่างๆ ทั่วประเทศไทย และในปีนี้ “อุ่นใจ” ได้จับมือชวน “พี่ไปร” มาเป็นคู่หูสุดเท่ ในการช่วยไปทำภารกิจนี้
เมื่อ“อุ่นใจไปรฯทั่วไทย ไปไกลในโลกออนไลน์
นอกจากนี้แคมเปญ “อุ่นใจไปรฯทั่วไทย ตามล่าหา E-Waste” ที่พา “อุ่นใจ” ไปทำภารกิจตามล่าหา E-Waste ทั่วประเทศไทยแล้ว ทำอย่างไรล่ะที่ “อุ่นใจไปรฯทั่วไทย จะไปไกลบนโลกออนไลน์ได้ด้วย?
ทีมจึงได้คิดกลยุทธ์การ Kick off แคมเปญ ด้วย Gif. VDO โดยมีการโพสต์ให้ประชาชนร่วมทายว่า คู่หูกู้โลกจากภัย E-Waste นี้จะเป็นใคร? ผ่านเพจ FB AIS Sustainability ซึ่งจากการเปิดตัวแคมเปญดังกล่าว มียอด Organic Views กว่า 3,400 ครั้งและ มีคนเข้ามาร่วมคอมเมนต์กว่า 200 Comments ภายในไม่กี่ชั่วโมง ซึ่งเรียกได้ว่าดึงให้คนมาสนใจ และเข้ามาทายกันอย่างสนุกสนาน เพิ่มความตื่นเต้นให้กับภารกิจนี้อย่างนี้ได้เป็นอย่างดี
จากนั้นในวันที่ 14 ตุลาคม เวลา 14.00 น. AIS และพันธมิตรกว่า 220 รายได้พร้อมใจกันโพสต์บนสื่อสังคมออนไลน์ในเวลาเดียวกันบน Facebook ของตนเอง โดยใช้แฮชแท็ก #อุ่นใจไปรทั่วไทย #ตามล่าหาEWaste #2024internationalewasteday #ewasteday จนทำให้แคมเปญนี้กลายเป็นไวรัลและได้รับความสนใจจากประชาชนกว่า 20,000 engagements ภายในไม่กี่นาที
ยิ่งไปกว่านั้นแคมเปญนี้ยังได้รับการแชร์และมี KOL ที่มีชื่อเสียง เช่น พี่ก้องกรีนกรีน พี่แยม ฐาปนี เพจหมอแล็บแพนด้าและสำนักข่าวอีจัน ก็ได้มาร่วมภารกิจอุ่นใจไปรฯทั่วไทย ตามล่าหาขยะ E-Waste ไปด้วยกัน ซึ่งกระจายแคมเปญไปได้กว้างไกลมากยิ่งขึ้น จนเกิดการรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้มากกว่า 1 ล้านชิ้น เรียกว่าถ้า อุ่นใจไปคนเดียวอาจจะไปได้ไกล แต่ถ้าไปด้วยกันกับ Green Partners จะสร้าง Impact ได้มากกว่า
“อุ่นใจไปรฯทั่วไทย ไปไกลระดับโลก”
ยิ่งไปกว่านั้น AIS ยังได้ก้าวสู่ระดับโลกโดยแบ่งปันความสำเร็จของแคมเปญ “อุ่นใจไปรฯ ทั่วไทย” กับ WEEE Forum (องค์กรจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ระดับโลก) ซึ่งทำให้ประเทศไทยได้รับการยอมรับในฐานะผู้นำด้านการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยการรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้มากกว่า 1 ล้านชิ้นทั่วประเทศ AIS ได้เป็นตัวอย่างของการเป็นผู้นำด้านการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ สร้างการเปลี่ยนแปลงระดับประเทศสู่ระดับโลก ซึ่งภารกิจแคมเปญ “อุ่นใจ ไปรฯ ทั่วไทย ตามล่าหา E-Waste” ครั้งนี้ไม่เพียงแค่ช่วยกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างถูกวิธี แต่ยังช่วยสนับสนุนและผลักดัน AIS และ เหล่าองค์กรพันธมิตร กรีนพาร์เนอร์ เป็นศูนย์กลางชุมชนเพื่อการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอนาคตต่อไป