HomePR Newsธนาคารกรุงเทพ ติดทำเนียบ ESG100 ปี 2567 ตอกย้ำการเป็น ‘เพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน’ มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจ-สนับสนุนลูกค้า ชุมชน และสังคมเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

ธนาคารกรุงเทพ ติดทำเนียบ ESG100 ปี 2567 ตอกย้ำการเป็น ‘เพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน’ มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจ-สนับสนุนลูกค้า ชุมชน และสังคมเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

แชร์ :

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL) ได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในบริษัทกลุ่มหลักทรัพย์ ESG100  ที่มีผลการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) จากการประเมินหลักทรัพย์จดทะเบียน ในปี พ.ศ.2567 โดยสถาบันไทยพัฒน์ ตอกย้ำถึงการเป็น ‘เพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน’ มุ่งดำเนินธุรกิจด้วยความเข้มแข็ง พร้อมสนับสนุนลูกค้า ชุมชนและสังคมเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ และเลขานุการบริษัท ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สถาบันไทยพัฒน์ประกาศให้ ธนาคารกรุงเทพ ติดอันดับ ESG100 ประจำปี 2567 ด้วยการคัดเลือกจาก 920 หลักทรัพย์จดทะเบียน ให้เป็นบริษัทที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ซึ่งต้องผ่านการพิจารณาอย่างเข้มข้นทั้งหลักเกณฑ์ในการดำเนินงานด้าน ESG ควบคู่ไปกับผลประกอบการของธนาคาร

“การได้รับคัดเลือกเป็นหนึ่งในกลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 ประจำปี 2567 นับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จที่น่าภาคภูมิใจของธนาคารกรุงเทพซึ่งมุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งมิติสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล โดยส่งผ่านจากนโยบายมาสู่การดำเนินงานทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และในปีนี้ธนาคารได้เปิดตัว “สินเชื่อบัวหลวงกรีนเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม” ซึ่งสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ต้องการผลักดันให้ธุรกิจปรับตัวสู่ธุรกิจสีเขียว ธนาคารกรุงเทพมั่นใจว่าจะสามารถเป็น ‘เพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน’ ที่สนับสนุนลูกค้าให้เปลี่ยนผ่านไปสู่ธุรกิจสีเขียวที่สามารถปรับตัวได้ดีและพร้อมแข่งขันท่ามกลางความท้าทายในอนาคต” นายกอบศักดิ์ กล่าว

สำหรับธนาคารกรุงเทพ ในฐานะ ‘ธนาคารชั้นนำระดับภูมิภาค’ ที่ดำเนินธุรกิจโดยให้ความสำคัญกับความยั่งยืน ภายใต้แนวคิด ‘Creating Value for a Sustainable Future – สรรค์สร้างคุณค่าเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน’ โดยสนับสนุนให้เกิดความยั่งยืนในกระบวนการธุรกิจทั้ง 5 มิติ ประกอบด้วย

  • Be Responsible – การดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ โดยสนับสนุนการลงทุนในโครงการ
    ที่คำนึงถึงความยั่งยืนของสังคมและสิ่งแวดล้อม พร้อมกับส่งเสริมการให้ความรู้ทางการเงินและ
    การเข้าถึงบริการอย่างทั่วถึง เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
  • Be Resilient – การรับมือกับภาวะวิกฤต โดยการบริหารจัดการป้องกันความเสี่ยง เพื่อสร้าง
    ความมั่นใจว่าธนาคารสามารถตอบสนองต่อภาวะวิกฤตและความท้าทายต่าง ๆ รวมถึงสนับสนุนลูกค้า ชุมชนและสังคมสามารถฟื้นตัวสู่ภาวะปกติได้อย่างยั่งยืน
  • Be Caring – การใส่ใจดูแลพนักงาน โดยสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงาน ปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม พร้อมส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงานสามารถพัฒนาทักษะได้อย่างต่อเนื่องและเติมเต็มความใฝ่ฝันทั้งในด้านส่วนตัวและหน้าที่การงาน
  • Be Customer Centric – การดำเนินธุรกิจโดยยึดถือลูกค้าเป็นศูนย์กลาง เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการรูปแบบใหม่ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าในทุกย่างก้าว ตลอดจนสร้างเสริมและรักษาความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า
  • Be Ethical – การดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรมปลูกฝังธรรมาภิบาลที่ดีในองค์กร พร้อมสนับสนุนให้คู่ค้าปฏิบัติตามหลักจริยธรรมทางธุรกิจ ควบคู่ไปกับการเคารพสิทธิมนุษยชนและไม่ยอมรับการทุจริตคอร์รัปชันในทุกรูปแบบ

ความมุ่งมั่นเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนดังกล่าว นำมาสู่การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่างๆ อย่างต่อเนื่อง นำโดยการสนับสนุนการระดมทุนแก่กิจกรรมที่ส่งเสริมความยั่งยืนของภาครัฐและเอกชนชั้นนำของประเทศไทย ผ่านการเป็นผู้จัดจำหน่ายตราสารหนี้ด้าน ESG (Environmental, Social and Governance) โดยในปี 2566 ตลาดทุนไทยมีมูลค่าการออกตราสารหนี้ด้าน ESG รวม 37,366 ล้านบาท ในจำนวนดังกล่าวเป็นมูลค่าธุรกรรมที่ธนาคารกรุงเทพ เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่าย 28,366 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 76 ของมูลค่าตราสารหนี้ด้าน ESG ทั้งหมดในตลาดทุนไทย รวมถึงร่วมกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนในเครือ คัดเลือกและเสนอขายกองทุนเพื่อความยั่งยืนทั้งสิ้น 9 กองทุน คิดเป็นมูลค่า 14,732.15 ล้านบาท

นอกจากนี้ ธนาคารยังได้พัฒนาโครงการสินเชื่อพิเศษเพื่อส่งเสริมให้เอสเอ็มอีพัฒนาโครงการลงทุนต่างๆ ที่จะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน ผ่านสินเชื่อบัวหลวงกรีน (Bualuang Green Loan) วงเงินรวมกว่า 720 ล้านบาท สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการลงทุนในโครงการพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ลม และน้ำ รวมถึงในปี 2566 ธนาคารได้สนับสนุนบัวหลวงกรีน Solar Energy (Bualuang Green Solar Energy) วงเงินรวมกว่า 2,000 ล้านบาท สำหรับธุรกิจที่ต้องการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป และสินเชื่อเพื่อการปรับตัว ภายใต้ พ.ร.ก. สินเชื่อฟื้นฟูของธนาคารแห่งประเทศไทย (Transformation Loan) ด้านการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green) หรือ ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Innovation) เพื่อเสริมศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ และล่าสุดได้พัฒนา “สินเชื่อบัวหลวงกรีนเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม” (Bualuang Green Financing for Transition to Environmental Sustainability)  เพื่อสนับสนุนธุรกิจที่ต้องการเงินทุนสำหรับปรับตัวเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ใน 3 ด้าน คือ 1) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 2) ปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ 3) ลดการสร้างมลพิษ โดยจัดเตรียมวงเงินสินเชื่อไว้ถึง 10,000 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยพิเศษ ผ่อนชำระได้นานสูงสุดถึง 8 ปี

สำหรับสถาบันไทยพัฒน์ เป็นผู้ริเริ่มพัฒนาข้อมูลด้านความยั่งยืนของธุรกิจ ได้เปิดเผยรายชื่อหลักทรัพย์จดทะเบียนที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้าน ESG จำนวน 100 บริษัท หรือที่เรียกว่ากลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 เป็นครั้งแรกในปี 2558 และได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนและดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นปีที่สิบ ขณะเดียวกัน การจัดอันดับบริษัทจดทะเบียนด้านการพัฒนาความยั่งยืนของธุรกิจนี้ ถือเป็นแหล่งข้อมูลด้านความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียน เพื่อรองรับความต้องการของผู้ลงทุนที่ให้น้ำหนักการลงทุนในบริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ และเพื่อเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวแก่ผู้ลงทุน


แชร์ :

You may also like