ธุรกิจ SMEs ปี 2567 มีมูลค่าเศรษฐกิจราว 6.7 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 35.8% ของจีดีพีประเทศไทย ปัจจุบันมีผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 3.2 ล้านราย โดย 84% เป็นธุรกิจไซซ์เล็ก (Micro)
เห็นได้ว่า SMEs มีบทบาทสำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทย แต่การสำรวจผู้ประกอบการ SMEs พบว่ามี 8 อุปสรรคสำคัญในการทำธุรกิจ สรุปได้ดังนี้
1. ต้นทุนการผลิต/การดำเนินงานสูงและผันผวน 95%
2. พฤติกรรม/ความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนไป 93%
3. กลยุทธ์การตลาดเข้าถึงลูกค้าใหม่ๆ มีจำกัด 89%
4. กระบวนการผลิต/การทำงานล้าสมัย ขาดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหรือเครื่องจักร 88%
5. ห่วงโซ่อุปทาน/แหล่งวัตถุดิบมีความไม่แน่นอนสูง 80%
6. ผลกระทบจากกระแส ESG เช่น นโยบายสิ่งแวดล้อม 80%
7. ขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานทักษะ 78%
8. ขาดอำนาจต่อรองกับคู่ค้า เช่น ด้านราคาและระยะเวลาชำระหนี้ 76%
5 หมวดความต้องการที่ SMEs ไทย ให้ความสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ในปี 2024-2025
1. จัดหาแหล่งเงินทุน – เงินทุนดอกเบี้ยต่ำ
2. เพิ่ม/ ขยายช่องทางการตลาดให้มากขึ้น
3. เพิ่มช่องทางการขายออฟไลน์ / ออกบูธ / งานแสดงสินค้า
4. ต้องการให้ผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่ให้คำปรึกษาแนะนำโดยตรง
5. เพิ่การมอบรม / การขายออนไลน์ / การขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์
การพัฒนาธุรกิจที่ SMEs มีแนวโน้มลงทุนเพิ่มในช่วงครึ่งปีแรก 2025
– ลงทุนพัฒนาทักษะ/ฝีมือแรงงาน 77%
– ลงทุนระบบสารสนเทศ (IT) 70%
– ลงทุนพัฒนาคุณภาพสินค้า / บริการ 68%
– ลงทุนตามแนวทาง ESG เพื่อความยั่งยืน 64%
– ลงทุนด้านการตลาดและโฆษณา 58%
หากดูจากแนวโน้มความต้องการพัฒนาธุรกิจของ SMEs เห็นได้ว่ามีความสนใจด้านเทคโนโลยีที่นำมาใช้พัฒนาธุรกิจในยุค AI เข้ามามีบทบาทมากขึ้น
แต่การสำรวจ SMEs ไทย เกี่ยวกับ AI & MarTech พบว่าเคยได้ยินคำว่า MarTech 68% แต่นำมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ 29% โดยปัญหาของ SMEs ที่ใช้ MarTech 1. การใช้งานยากซับซ้อน และ 2. ไม่มีความรู้ที่จะเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมกับธุรกิจตัวเอง
ส่วนกลุ่มที่ไม่เคยทดลองใช้ MarTech 71% บอกว่า 1. ไม่มีความรู้เรื่องเครื่องมือ MarTech 2. มองว่าเครื่องมือต้องใช้เงินทุนเพิ่ม และ 3. กังวลถึงความคุ้มค่าที่จะลงทุน
5 คำแนะนำเสริมแกร่ง SMEs ก้าวสู่ปี 2025
ในภาวะที่เศรษฐกิจไทยชะลอตัวและเทคโนโลยีเข้ามามีผลต่อการดำเนินธุรกิจมากขึ้น ทำให้ SMES “อยู่ยาก – โตตัน” ในสถานการณ์ปัจจุบัน MEDIA INTELLIGENCE GROUP หรือ MI GROUP ในฐานะผู้เชี่ยวชาญและให้คำปรึกษาด้านการตลาดและสื่อสารการตลาด สรุป 5 คำแนะนำเสริมแกร่ง SMEs ก้าวสู่ปี 2025 ดังนี้
1. Business Data Management : ช่วยให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนง่ายขึ้นและลดต้นทุนด้วยการจัดอบรมความรู้ มาตรการทางภาษี และโครงการค้ำประกันสินเชื่อพิเศษ
2. Encouraging Technology Adoption : สนับสนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการพัฒนาสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ตลาด
3. Product and Service Development For Market Fit : สร้างเอกลักษณ์ คุณภาพสูง พร้อมมองหาช่องทางจัดจำหน่ายที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงการแข่งขันด้านราคา
4. Partnerships and Networking : ส่งเสริมการเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจ SMEs ภาครัฐ และเอกชน เพื่อเปิดโอกาสในการขยายตลาดและเพิ่มความเข้มแข็งในการดำเนินธุรกิจ
5. Digital Marketing Adoption : สนับสนุนให้ SMEs ใช้ช่องทางออนไลน์ในการทำตลาด เช่น การขายผ่านโซเชียลมีเดีย อีคอมเมิร์ซ และการใช้เครื่องมือดิจิทัล เพื่อเข้าถึงลูกค้าใหม่และสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน
เปิดตัว “มี-อาย” (MiAi) หนุนใช้ AI ทำตลาดยุคใหม่
ปีที่ผ่านมา MI LEARN LAB ของ MI GROUP ได้ศึกษาและรวมรวบข้อมูลในเรื่องการใช้เครื่องมือ AI ในการทำการตลาดยุคใหม่ของผู้ประกอบการรายย่อยในไทย พบว่าส่วนใหญ่มีความเข้าใจและยอมรับว่าการใช้เครื่องมือ AI และ เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับธุรกิจ แต่ก็มีอุปสรรคและความท้าทายที่ทำให้ยังไม่พร้อมเปิดรับเท่าที่ควร
จากข้อมูล SMEs ในไทยเคยได้ยินคำว่า MarTech อยู่ที่ 68% แต่มีเพียง 29% ของกลุ่มนี้เท่านั้นที่เคยนำมาใช้งาน ส่วนอีก 71% ที่ไม่เคยใช้งาน ปัจจัยหลักมาจากไม่มีความรู้มากพอและกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจะกระทบต้นทุน
MI GROUP จึงได้ประกาศเปิดตัว “มี-อาย” (MiAi) ซึ่งเป็น AI แรกในวงการมีเดียเอเจนซี่ ที่ออกแบบมาช่วยผู้ประกอบการ SMEs ไทย ก้าวข้ามข้อจำกัดในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการทำธุรกิจ เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยพร้อมลุยทำตลาดยุค AI
คุณวรินทร์ ทินประภา Chief Growth Officer ของ MI GROUP กล่าวว่า “MiAi เป็น AI ที่ทำงานร่วมกับ ChatGPT โดยใช้ Framework เฉพาะจาก MI GROUP เพื่อเสริมความแม่นยำและเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้งาน ChatGPT ในเรื่องการวางแผนการตลาดและสื่อสารการตลาด เน้นตอบโจทย์สำหรับผู้ประกอบการรายย่อยที่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลและเทคโนโลยี เพื่อให้ใช้งานง่าย เสริมประสิทธิภาพทั้งผู้ที่มีประสบการณ์และไม่มีประสบการณ์ในการใช้ AI มาก่อน
คุณวิชิต คุณคงคาพันธ์ Head of International Business Development – BRIDGE ในเครือ MI GROUP กล่าวว่าการเปิดตัว MiAi ช่วยสนับสนุน SMEs ไทย ให้สามารถใช้ AI เพื่อเพิ่มศักยภาพของธุรกิจตนเอง ทีม MI LEARN LAB ศึกษาและวิเคราะห์ Pain Points และค้นหาโซลูชันที่ตรงจุด โดยได้พัฒนารูปแบบการใช้งาน MiAi ให้มี Framework ชัดเจน ช่วยกำหนดกรอบคำถามที่เป็นประโยชน์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ส่งผลให้คำตอบจาก MiAi มีความแม่นยำและครอบคลุมมากขึ้น
MiAi ได้ผ่านการพัฒนาอย่างต่อเนื่องหลังจากเปิดตัวเวอร์ชัน BETA ไปเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ล่าสุดได้เปิดตัวพร้อมใช้งานต่อสาธารณชนแล้ว รูปแบบการทำงานของ MiAi โดยมี 3 Framework หลักจาก MI GROUP ประกอบด้วย
1. แนะนำการป้อนข้อมูลจำเป็นของธุรกิจ เพื่อให้ระบบเข้าใจและตอบคำถามได้เฉพาะเจาะจงมากขึ้น
2. ระบบมาพร้อม 11 หมวดต้องรู้สำหรับการทำกลยุทธ์การตลาด และสื่อสารการตลาด ที่มาพร้อมชุดคำถามรวมทุกหมวดมากถึง 400 คำถาม มีการทำงานร่วมกับ ChatGPT API ช่วยให้ตอบคำถามได้ครอบคลุมและทันที
3. สร้างความรู้เฉพาะทาง ด้วยการเพิ่มเนื้อหาด้านกลยุทธ์ในรูปแบบคำแนะนำเพิ่มเติมมากขึ้น 200 คำแนะนำ โดยได้รับการออกแบบบนพื้นฐานความรู้จาก 7 โซลูชันของ MI GROUP และ AI-Partner Creative ในหมวด AI
ผู้ใช้ระบบสามารถรับรายงานสรุปการสนทนา ผ่านการ Share to Email ง่ายๆ เพื่อรับ MiAi Strategy Blueprint: From Ideas to Action – แผนกลยุทธ์จาก มี-อาย: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ สำหรับนำไปใช้ในการพัฒนาธุรกิจต่อไป
โดยหลังจากเปิดตัว ทีมงานมีแผนพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อปรับปรุงให้ตรงความต้องการและทันต่อสถานการณ์ของตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผ่านการรวบรวมหมวดและคำถามที่เป็นที่นิยมในระบบของ MiAi เพื่อเสริมความรู้เฉพาะทางผ่านคำแนะนำพิเศษเพิ่มเติม และพัฒนาแพลตฟอร์มให้มีความสมบูรณ์และครอบคลุมความต้องการยิ่งขึ้น
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถปรึกษา MiAi ได้ฟรี ที่ http://miai.migroup.agency/
ติดตามพวกเราได้ที่ LINE