HomeInsightSiteMinder พบห้องพักไทย’67 ราคาพุ่ง 15% รับ นทท.ต่างชาติ

SiteMinder พบห้องพักไทย’67 ราคาพุ่ง 15% รับ นทท.ต่างชาติ

พบเทรนด์ คนกลับมาจองตรง "เว็บไซต์โรงแรม"

แชร์ :

เปิดรายงาน SiteMinder’s Hotel Booking Trends พบอัตราค่าห้องพักของประเทศไทยปรับตัวสูงขึ้นมากกว่า 15% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า (จากการเดินทางเข้ามาของนักท่องเที่ยวจำนวนมาก) ส่งผลให้ราคาห้องพักเฉลี่ยต่อวันที่เคยอยู่ที่ 4,648 บาทในปี 2566 ปรับตัวขึ้นเป็น 5,377 บาท ในปี 2567 และในเดือนธันวาคม 2567 ทำได้สูงสุดที่ 6,460 บาทต่อห้องพัก ถือเป็นประเทศเดียวที่ประสบความสำเร็จในการเติบโตในระดับสองหลัก

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

รายงานของ SiteMinder ชิ้นนี้ยังแสดงให้เห็นว่าโรงแรมของประเทศไทยนำหน้าประเทศอื่น ๆ ในเอเชียด้านจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยมีแขกผู้เข้าพักชาวต่างชาติ คิดเป็น 77% ของการเช็คอินทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 48% ตัวเลขนี้ทำให้ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่สองของโลก โดยเป็นรองเพียงประเทศออสเตรียเท่านั้น โดยข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรงแรมในประเทศไทยในปี 2567 เผยให้เห็นความเปลี่ยนแปลงดังต่อไปนี้

● นักท่องเที่ยวที่เข้าพักในโรงแรมของไทยจองห้องพักล่วงหน้านานขึ้น โดยระยะเวลาการจองล่วงหน้าเฉลี่ยอยู่ที่ 27 วัน ซึ่งยาวนานที่สุดในเอเชีย และใกล้เคียงกับช่วงเวลาการจอง 29 วันล่วงหน้าในปี 2562

● ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นจุดหมายปลายทางเพื่อการพักผ่อนชั้นนำ โดยโรงแรมท้องถิ่นถูกจัดอยู่ในอันดับที่ห้าของโลก ด้านระยะเวลาการเข้าพักที่ยาวนานที่สุด (มากกว่า 15% ของการจองมีระยะเวลาสามคืนขึ้นไป ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 11% รองจากโรงแรมในโปรตุเกส (21%) และโคลอมเบีย เม็กซิโก และสเปน (18% เท่ากัน)

● แม้ว่าเดือนธันวาคมยังคงเป็นเดือนที่คึกคักที่สุดของประเทศไทย แต่โรงแรมต่าง ๆ ก็มีการพึ่งพาเดือนสุดท้ายน้อยลงสำหรับจำนวนผู้เข้าพักประจำปี จำนวนแขกในช่วงเดือนที่อากาศเย็นของปี 2567 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการกระจายตัวของนักท่องเที่ยวที่สมดุลมากขึ้นในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวของประเทศ

คุณสุภกฤษฎิ์ แผนสมบูรณ์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย SiteMinder กล่าวว่า “ระยะเวลาการจองที่ยาวนานขึ้น การเข้าพักในโรงแรมที่ยาวนานขึ้น และปริมาณนักท่องเที่ยวที่ค่อนข้างคงที่ตลอดทั้งปี ทำให้โรงแรมในประเทศไทยมีโอกาสในการตอบสนองต่อโอกาสใหม่ ๆ ที่สามารถเพิ่มรายได้ที่น่าพอใจ ตัวอย่างเช่น งานวิจัยของเราบอกเราว่าความต้องการที่จะเดินทางเพื่องานอีเวนท์อยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และนักเดินทางก็เต็มใจที่จะใช้จ่ายกับประสบการณ์ที่มีความหมายผู้ประกอบการโรงแรมไทยสามารถใช้ประโยชน์จากทิศทาง เหล่านี้ในการสร้างความสำเร็จอย่างมั่นคงในขณะที่อุตสาหกรรมกำลังอยู่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ”

12 อันดับช่องทางการจองโรงแรมในประเทศไทย

รายงานจาก SiteMinder เผย 12 อันดับของช่องทางการจองโรงแรมที่สร้างรายได้รวมสูงสุดให้กับโรงแรมไทยในปี 2567 โดยพิจารณาจากข้อมูลการใช้บริการจองผ่านแพลตฟอร์มของ SiteMinder ดังนี้

  • 1.Booking.com
  • 2.Agoda
  • 3.เว็บไซต์โรงแรม (การจองโดยตรง)
  • 4.Expedia Group
  • 5.Trip.com
  • 6.Hotelbeds
  • 7.Tiket.com
  • 8.Goibibo & MakeMyTrip
  • 9.Traveloka
  • 10.WebBeds
  • 11.Klook
  • 12.TBOHolidays

คนกลับมาจองตรง “เว็บไซต์โรงแรม”

การเติบโตของการเช็คอินจากต่างประเทศ ซึ่งนำโดยประเทศจากเอเชียเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ Klook ซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่นักเดินทางจากตลาดต่างๆ เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน และฟิลิปปินส์ ได้เปิดตัวในฐานะช่องทางสร้างรายได้อันดับต้นๆ ในประเทศไทย ในขณะเดียวกัน ผลการดำเนินงานที่สม่ำเสมอของ Trip.com ตอกย้ำสถานะของจีนในฐานะตลาดต้นทางที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ซึ่งได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากการยกเว้นวีซ่าสำหรับนักท่องเที่ยวชาวจีนในช่วงต้นปี 2567

สิ่งที่น่าสังเกตคือ เว็บไซต์ของโรงแรมกลับคืนสู่ตำแหน่งสามอันดับแรก แซงหน้า Expedia Group หลังจากที่ถูกแซงไปเมื่อปีก่อน สิ่งนี้สอดคล้องกับการค้นพบทั่วโลกในรายงานของ SiteMinder ซึ่งพบว่าเว็บไซต์ของโรงแรมมีผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งเมื่อปีที่แล้ว สร้างรายได้เฉลี่ย 519 เหรียญสหรัฐต่อการจองสำหรับโรงแรม ซึ่งสูงกว่าปีก่อน 8.5% และสูงกว่ามูลค่าการจองเฉลี่ยที่สร้างโดย OTA มากกว่า 60% ที่ 320 เหรียญสหรัฐ

คุณสุภกฤษฎิ์ กล่าวเสริมว่า “นักเดินทางที่จองโดยตรงมักจะเลือกห้องพักที่มีราคาสูงกว่า พักนานขึ้น และเพิ่มบริการเสริม ปัจจัยเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงโอกาสที่สำคัญสำหรับโรงแรมในการนำเสนอข้อเสนอพิเศษที่นักเดินทางกำลังมองหา และผลการวิจัยของเราแสดงให้เห็นว่าโรงแรมหลายแห่งกำลังทำเช่นนี้อย่างมีประสิทธิภาพ”

Source


แชร์ :

You may also like