อิเกีย ประเทศไทย ปรับแผนธุรกิจครั้งสำคัญ รับมือพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป พร้อมขยายการเข้าถึงลูกค้าไทยให้มากขึ้น ด้วยการเปิดตัวสาขาขนาดเล็กในทำเลศักยภาพทั่วประเทศ ล่าสุดเตรียมเปิด “IKEA เชียงใหม่” ที่แม็คโคร หางดง ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2568 ซึ่งเป็นโมเดล Cashless Store หรือสโตร์ไร้เงินสดแห่งแรกของอิเกียในไทย ตอกย้ำแนวคิดค้าปลีกยุคใหม่ที่รองรับการเติบโตของสังคมไร้เงินสด
คุณลีโอนี่ ฮอสกิ้น ผู้จัดการฝ่ายธุรกิจค้าปลีก อิเกีย ประเทศไทย และเวียดนาม เปิดเผยว่า อิเกียมองเห็นการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคไทยที่ต้องการความสะดวกสบาย และชื่นชอบการช้อปปิ้งจากร้านค้าปลีกที่อยู่ใกล้บ้าน สังเกตได้จากความสำเร็จของร้านสะดวกซื้อ เช่น 7-Eleven ที่มีสาขามากกว่าหมื่นแห่งทั่วประเทศ
ปรับโมเดลสโตร์ให้เล็กลง ขยายการเข้าถึงลูกค้า เจาะชุมชน
จากแนวโน้ม IKEA จึงปรับแนวทางจากการเปิด สโตร์ขนาดใหญ่เพียงอย่างเดียว มาสู่การพัฒนาโมเดลที่หลากให้สอดรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคมากหลายขึ้น ได้แก่
- IKEA Store ขนาดใหญ่
- IKEA Store XS (สาขาขนาดเล็กสำหรับการเข้าถึงชุมชน)
- IKEA Pop-up (สโตร์ชั่วคราวในพื้นที่สำคัญ)
- Order Point (จุดสั่งซื้อสินค้า)
- แพลตฟอร์มออนไลน์ ผ่าน www.ikea.com
โดยในปีที่ผ่านมา IKEA ได้ทดลองเปิด “IKEA City Store” สาขาแรกในไทยที่ ศูนย์การค้า เอ็มสเฟียร์ และได้รับการตอบรับที่ดี ส่งผลให้บริษัทเดินหน้าขยายสาขาขนาดเล็กในทำเลศักยภาพทั่วประเทศ
คุณลีโอนี่ ฮอสกิ้น
“ด้วยโลกที่เปลี่ยนแปลงไป เราอยากเข้าถึงคนไทยมากขึ้นเลยมีการปรับฟอร์แมทให้เล็กลง และปรับให้เข้ากับพฤติกรรมลูกค้าชาวเอเชียที่ชื่นชอบซื้อสินค้าใกล้บ้าน สังเกตได้จากพฤติกรรมของคนไทยและเอเชียขอบซื้อของจากร้านค้าปลีกจำนวนมาก โดยเฉพาะจาก 7-11 ที่มีมากกว่าหมื่นสาขาในไทย ซึ่งการปรับไซซ์เล็กลงจะสามารถขยายสาขาและเข้าถึงชุมชนได้มากขึ้น” คุณลีโอนี่ กล่าว
นอกจากนี้อิเกียมีแนวคิดปรับราคาลง 25-30% เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึง มากกว่า 1,000 รายการ ในแคมเปญ IKEA New Lower Price Campaign ตอบโจทย์สถานการณ์เศรษฐกิจกำลังซื้อที่ชะลอตัว เป็นการช่วยเหลือและเข้าถึงผู้บริโภค และยังมีสินค้าราคาต่ำกว่าร้อยบาทรองรับลูกค้า พร้อมปรับลดค่าจัดส่งสินค้า โดยสินค้า ชิ้นเล็กราคาค่าจัดส่งเริ่มต้นเพียง 90 บาท เพื่อเพิ่มความสะดวกให้ลูกค้าสามารถซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น
ผนึก CP เปิด “อิเกีย เชียงใหม่” Low-Cost Store เน้นความคุ้มค่า คุ้มราคา
อีกหนึ่งไฮไลต์สำคัญของปีนี้คือ การเปิด “IKEA เชียงใหม่” ที่แม็คโคร หางดง ที่จะเปิดและเปิด 27 ก.พ.68 เปิด 11.00-20.00 น. ซึ่งเป็น สโตร์ไร้เงินสดแห่งแรก ของอิเกียในไทย ครอบคลุมพื้นที่ 708 ตารางเมตร โดยใช้งบลงทุนเพียง 15 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าสาขาใหญ่ เนื่องจากเน้นแนวคิด Low-Cost Store เพื่อให้การลงทุนคุ้มค่าที่สุด และสามารถนำเสนอสินค้าที่มีราคาถูกลงให้กับลูกค้า
สำหรับจุดเด่นของ IKEA เชียงใหม่ ประกอบด้วย
- มีสินค้าพร้อมซื้อกลับบ้านได้ทันที (Cash & Carry) กว่า 300 รายการ
- เน้นกลุ่มสินค้าโซลูชันการจัดเก็บ เฟอร์นิเจอร์ห้องนั่งเล่นและห้องครัว
- มีโซน “Swedish Bites” จำหน่ายเมนูอาหารสไตล์สวีเดน เช่น ไอศกรีม ฮอตดอก เป็นต้น
- เป็น Cashless Store 100% รองรับการชำระเงินแบบดิจิทัลเต็มรูปแบบ
“มองว่าเชียงใหม่มีศักยภาพในการเติบโต ทั้งอีคอมเมิร์ซและออฟไลน์ การร่วมมือกับ CP คืออีกหนึ่งความตื่นเต้นในการทำตลาด เกิดเป็นการเข้าไปอยู่ในที่เดียวกัน จึงเกิดเป็นการอยู่ร่วมกันระหว่าง 7-11 และ IKEA ส่วนเหตุผลที่ลงทุนน้อยต้องการเป็นร้านค้าปลีกที่คุ้มค่า ทำให้สามารถนำเสนอสินค้าที่มีราคาลดลงได้”
การพัฒนาโครงการนี้สอดคล้องกับแนวคิดของ IKEA ที่ต้องการพัฒนาความยั่งยืน ในการใช้พื้นที่ให้เป็นประโยชน์ที่สุด เป็นการเติมเต็มพื้นที่แม็คโครให้มีชีวิตชีวามากขึ้น มีสินค้า Cash & Carry (ซื้อและกลับบ้านได้ทันที) 300 รายการ ต่างจากที่สุขุมวิทมีถึง 4,000 ไอเทม โดยไฮไลท์ที่เชียงใหม่เน้นโซลูชั่นด้านการจัดเก็บ ทั้งห้องนั่งเล่นและห้องครัวร้านอาหารเรียก Swedish Bites ขายไอศรีม ฮฮทดอก ฯลฯ เล็กๆน้อยๆ
คุณลีโอนี่ ยังบอกอีกว่า การเปลี่ยนแปลงไปสู่ “Cashless Store” อาจต้องอาศัยการปรับตัวของกลุ่มลูกค้าบางกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการใช้เงินสดลดลงเป็นทิศทางที่ทั่วโลกกำลังมุ่งไป ซึ่ง IKEA เชียงใหม่ จะเป็นต้นแบบ ก่อนขยายไปยัง อิเกีย บางนา, อิเกีย บางใหญ่ และอิเกียสุขุมวิท ภายในปี 2568
“เทรนด์การจับจ่ายของคนไทยเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จะเห็นได้ช่วยหลายปีที่ผ่านมา มีแคชเชียร์คิดเงินเอง และล่าสุดสโตร์ทีไม่ใช้เงินสด โดย IKEA เชียงใหม่จะเป็นสโตร์ไร้เงินสด Cashless แห่งแรกของอิเกีย ”
ควง CP ลุยต่อ เตรียมขยายสาขาทุกภูมิภาคทั่วไทย
ขณะที่ก้าวต่อไปหลังจากเชียงใหม่แล้ว IKEA ยังมีแผน ขยายสาขาร่วมกับพาร์ทเนอร์อย่าง CP เช่น แม็คโคร, โลตัส และดิแคทลอน เพื่อกระจายการเข้าถึงลูกค้าให้ครอบคลุมทุกภูมิภาค ซึ่งลำดับถัดไปอาจจะเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจังหวัดต่อไปที่อยู่ในแผนขยายอาจเป็น โคราช ซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูง
แนวทางการขยายสาขาจะมีทั้ง สโตร์ขนาดเล็ก 800-1,000 ตารางเมตร ในพื้นที่ชุมชน และการพิจารณาขยายสโตร์ขนาดใหญ่ขึ้นในอนาคต หากได้รับผลตอบรับที่ดี
“เวลาจะไปเปิดสาขาที่ไหน ต้องดูศักยภาพของที่นั่นด้วย ซึ่งหลังจากจัดโรดโชว์มี จังหวัดโคราช ที่กระแสตอบรับดีจากกลุ่มเป้าหมาย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นดูตลาดแต่ละที่อยู่ และเจรจา ซีพี ,7-11 และ Decathlon ในการเปิดตลาดอยู่ แน่นอนถ้าสาขาแรก ผลตอบรับไปได้ดี IKEA อาจจะมีสาขาใหม่ทุก 6 เดือนก็เป็นได้
ทั้งนี้ IKEA ตั้งเป้าว่า ภายใน 3-5 ปี ข้างหน้า จะมีสาขาเพิ่มขึ้นทั่วประเทศ แต่จะต้องพิจารณาปัจจัยทางเศรษฐกิจ และความมั่นใจของลูกค้าเป็นหลัก โดยเฉพาะในภาวะที่กำลังซื้อลดลง ทำให้อิเกียเลือกมุ่งเน้นการลงทุนใน Low-Cost Store ที่ช่วยควบคุมต้นทุน และทำให้สินค้าสามารถวางขายในราคาที่คุ้มค่าที่สุด
“แม้เศรษฐกิจอาจไม่เอื้อให้รายได้เติบโตมากนักในช่วงนี้ แต่เราจะโฟกัสที่การสร้างความคุ้มค่าให้ลูกค้า เพื่อให้คนไทยสามารถเข้าถึงสินค้าอิเกียได้มากขึ้น ซึ่งเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคใหม่” คุณลีโอนี่กล่าว
ท้ายที่สุด “ลีโอนี่” บอกว่า ต้องยอมรับปีที่ผ่านมารายได้ไม่โตมาก ทรงตัวจากปีที่ก่อนหน้า เพราะภาพรวมตลาดล้อกับสภาพเศรษฐกิจกำลังซื้อ ทำให้ IKEA หันมาโฟกัสสโตร์ที่เป็น Low Cost เพื่อให้คุ้มค่า คุ้มราคา และสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจแทน